dc.contributor.author |
เมฆขำ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิทยา |
|
dc.date.accessioned |
2018-09-20T06:40:03Z |
|
dc.date.available |
2018-09-20T06:40:03Z |
|
dc.date.issued |
2018-09-20 |
|
dc.identifier.uri |
http://hdl.handle.net/123456789/562 |
|
dc.description |
งานวิจัยงบประมาณรายได้แผ่นดิน ปีงบประมาณ2558 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
th_TH |
dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ลักษณะของเทคโนโลยีนิเวศและสิ่งแวดล้อมในการทำงานของกลุ่ม OTOP บนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น และพัฒนาเครื่องต้นแบบของเทคโนโลยีนิเวศประชากร จำนวน 260 ราย สุ่มตัวอย่างได้จำนวน 155 รายเครื่องมือที่ใช้แบ่งเป็น 3 ตอน ประกอบด้วย
ตอนที่ 1 สถานภาพส่วนบุคคล ตอนที่ 2 ลักษณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมในการทำงาน ตอนที่ 3 พัฒนาและสร้างเครื่องต้นแบบ สถิติที่ใช้หาค่าการแจกแจงความถี่และหาค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย (X) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพจะนำข้อมูลมาวิเคราะห์เนื้อหาและสถิติที่ใช้แล้วนำมาเขียนเป็นความเรียง ผลการวิจัยพบว่า
ด้านเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมในการทำงาน พบว่า 1)ด้านเทคโนโลยีการจัดการ พบว่า กลุ่มผู้ผลิตสินค้า OTOP ต้องการพัฒนาและปรับปรุง เทคโนโลยีการจัดการของกลุ่มผู้ผลิตสินค้า OTOP โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 3.31 อยู่ในระดับปานกลาง 2)ด้านเทคโนโลยีคุณภาพและมาตรฐานของกลุ่มผู้ผลิตสินค้า OTOP พบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 2.43 อยู่ในระดับน้อย 3)ด้านเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยในการทำงาน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ย 2.43 อยู่ในระดับน้อย
ด้านการพัฒนาและสร้างเครื่องต้นแบบเครื่องกรองอากาศ พบว่า ปัญหาฝุ่นละอองและสารเคมีในการทำงานมีมากทำให้เกิดโรคจากการทำงาน รวมไปถึงในการปฏิบัติงานมีกลิ่นรบกวนในการทำงาน และเห็นว่าควรมีการควบคุมพื้นที่ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายในการทำงาน ผู้วิจัยจึงได้สรุปผลที่ศึกษา พบว่า 1)พัฒนาทางด้านสุขภาพทางกาย คือ มีการรับรู้จากสภาพแวดล้อมโดยรอบและรักษาสุขภาพร่างกายให้มีความเข้มแข็งและแข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บและสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข 2) พัฒนาทางด้านอารมณ์ คือ มีอารมณ์ความรู้สึกของตนเองและผู้อื่นได้ดี และสามารถบริหารจัดการอารมณ์ของตนเองและผู้อื่นได้อย่างเหมาะสมและสร้างสรรค์ เช่นการพูดจา การโต้ตอบกับลูกค้า หรืการสัมพันธ์ที่ดีกับลูกน้อง 3) พัฒนาทางด้านสังคม คือ การรับรู้เรื่องการมีสัมพันธภาพของตนเองกับบุคคลอื่นทั้งในกลุ่มเพื่อนร่วมงานสินค้า OTOP และต่อสาธารณะชน รวมถึงการเจรจากับภาครัฐ หรือหน่วยงานที่เข้ามาสนับสนุนอย่างเป็นมิตรไมตรี 4) พัฒนาทางด้านจิตวิญญาณ/ปัญญา คือ มีการรับรู้เรื่องของความรู้สึกสุขสงบ มีความพึงพอใจในการดำรงชีวิตอย่างมีเป้าหมาย เข้าใจธรรมชาติและความเป็นจริงของชีวิต
ประเมินและเปรียบเทียบประสิทธิภาพของเครื่องกรองอากาศ (ก่อนและหลัง) พบว่า
1) เปรียบเทียบสภาพแวดล้อม ก่อน และหลังจากติดตั้งเครื่องกรองอากาศด้านการเปรียบเทียบจำนวน พบว่า ปริมาณฝุ่นละอองที่เกิดขึ้นในขณะปฏิบัติงาน มีจำนวนมากแต่เมื่อได้ติดตั้งเครื่องกรองอากาศแล้วพบว่าปริมาณฝุ่นละอองที่เกิดในขณะปฏิบัติงาน ลดลงอย่างเห็นได้ชัด 2) เปรียบเทียบสุขภาพของผู้ที่อยู่ในสายการผลิตก่อน และ หลังจากติดตั้งเครื่องกรองอากาศ พบว่า อาการป่วยที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจก่อนติดตั้งเครื่องกรองอากาศพบว่า มีการป่วยเกิดขึ้นกับบางรายที่อยู่ในขั้นตอนการผลิตบางขั้นตอน แต่หลังติดตั้งเครื่องกรองอากาศพบว่า ผู้ป่วยและอาการป่วยที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจลดลง |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.relation.ispartofseries |
งานวิจียปี 2560; |
|
dc.subject |
- |
th_TH |
dc.title |
การพัฒนาศักยภาพของกลุ่ม OTOP บนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่เทคโนโลยีนิเวศเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน |
th_TH |
dc.type |
Article |
th_TH |