Title:
|
ความต้องการแรงงานด้านขนส่งและโลจิสติกส์ กรณีศึกษาบริษัทในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร |
Author:
|
พุฒิวร, นางสาวสุนทรี
|
Abstract:
|
งานวิจัยเรื่องการศึกษาสมรรถนะของบุคคลากรสายงานการนาเข้า-ส่งออกสินค้า (Shipping) กรณีศึกษาบริษัทธุรกิจระหว่างประเทศเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคคลากรสายงานการนาเข้า-ส่งออกสินค้า (Shipping) ของบริษัทธุรกิจระหว่างประเทศ โดยได้ทาการกาหนดตัวแปรในงานวิจัยประกอบด้วย 1) ตัวแปรต้น ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล (เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ แผนกการปฏิบัติงาน 2) ตัวแปรตาม ได้แก่ ปัจจัยด้านสมรรถนะ ปัจจัยด้านความสามารถ ปัจจัยด้านความรู้ และปัจจัยด้านการปฏิบัติงานของบุคลากรสายงานการนาเข้า-ส่งออกสินค้า (Shipping) ผลการศึกษาพบว่า พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศ หญิงมากกว่าเพศชาย ร้อยละ 56ส่วนเพศชาย ร้อยละ44 มีอายุอยู่ในช่วง 21-30ปีคิดเป็นร้อยละ 52 มีระดับการศึกษาในระดับ ต่ากว่าปริญญาตรี ร้อยละ 52 และมีตาแหน่งงานoperation officer & messenger คิดเป็นร้อย 60 ด้านสมรรถนะและความสามารถ ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า มีประกาศนียบัตรแสดงการอบรมหลักสูตร “ตัวแทนออกของ”มากที่สุดคิดเฉลี่ยเป็น 4.92 รองลงมาอันดับที่2 มีไหวพริบและปฏิภาณดีในการแก้ไขปัญหา คิดเฉลี่ยเป็น 4.84 อันดับสุดท้ายคือเรื่องมีความสามารถด้านภาษาต่างประเทศ และมีมนุษย์สัมพันธ์ มีความรับผิดชอบทั้งต่อองค์กร และลูกค้า มีค่าเฉลี่ยเท่ากันคิดเป็น 4.76 ตามลาดับ ด้านประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เห็นด้วยว่ามีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและข้อบังคับทางกรมศุลกากรมากที่สุด คิดเฉลี่ยเป็น 4.96 รองลงมาอันดับ2 ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากันคือ มีความรู้ด้านการนาเข้า-ส่งออก มีความรู้ด้านการปฏิบัติกับเอกสารการค้าระหว่างประเทศ และมีความรู้ความเข้าใจในระเบียบและ ข้อบังคับ คิดเฉลี่ยเป็น 4.92 ตามลาดับ 4 ด้านการปฏิบัติงานของชิปปิ้ง ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เห็นด้วยว่ามีความสามารถในการเจรจาต่อรอง มากที่สุดคิดเฉลี่ยเป็น 4.96 ลองลงมาคือมีประสบการณ์การทางานที่เกี่ยวข้องกับการนาเข้า-ส่งออก มาเป็นอันดับ2 คิดเฉลี่ยเป็น 4.92 อันดับ3มีความเชี่ยวชาญในการอ่านและการเตรียมเอกสารสาหรับออกสินค้าคิดเฉลี่ยเป็น 4.88 อันดับสุดท้ายคือมีความสามารถหลากหลายในการทางานคิดเฉลี่ยเป็น 4.76 ตามลาดับ |
Description:
|
งานวิจัยงบประมาณมหาวิทยาลัย ปีงบประมาณ 2559 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
URI:
|
http://hdl.handle.net/123456789/668
|
Date:
|
2018-09-25 |