การพัฒนาแท่งเชื้อเพลิงชีวมวลจากวัสดุเหลือทิ้งของมะพร้าว

DSpace/Manakin Repository

การพัฒนาแท่งเชื้อเพลิงชีวมวลจากวัสดุเหลือทิ้งของมะพร้าว

Show full item record

Title: การพัฒนาแท่งเชื้อเพลิงชีวมวลจากวัสดุเหลือทิ้งของมะพร้าว
Author: แสนศิริพันธ์, ดร.ศันสนีย์
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเชื้อเพลิงชีวมวลอัดแท่งและอัดเม็ดจากวัสดุเหลือทิ้งจาก มะพร้าว ได้แก่ เปลือกมะพร้าว กากมะพร้าวและขุยมะพร้าว โดยการพัฒนาเชื้อเพลิงชีวมวลแบบอัด แท่งโดยใช้เครื่องอัดร้อนที่อุณหภูมิ 300C แล้ววิเคราะห์คุณสมบัติทางเชื้อเพลิง ได้แก่ ค่าความร้อน ความชื้น ปริมาณสารที่ระเหยได้ เถ้าและคาร์บอนคงตัว รวมทั้งคุณสมบัติทางกายภาพ ได้แก่ ความ หนาแน่น ผลการทดลองพบว่า เปลือกมะพร้าวสามารถนำมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด โดยให้ค่า ความร้อนสูง โดยเฉพาะแท่งเชื้อเพลิงจากเปลือกมะพร้าวน้ำหอม โดยให้ค่าความร้อนสูงถึง 4,882 cal/g และเมื่อเติมน้ำมันพืชเป็นตัวประสาน ทำให้ได้ปริมาณสารที่ระเหยได้ลดลง นอกจากนี้ เมื่อเอาเปลือก มะพร้าวแกงผสมกับกากมะพร้าวให้ค่าความร้อนสูงถึง 5,493 cal/g เปลือกมะพร้าวผสมกับขุยมะพร้าว ทำให้คาร์บอนคงตัวเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ได้เลือกใช้ขุยมะพร้าวมาเป็นวัสดุทดสอบในการทำเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด โดยใช้ เครื่องอัดเม็ดขึ้นรูปแบบ Flat die pellet mill ให้ได้ชีวมวลมะพร้าวอัดเม็ดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 มิลลิเมตรแล้วทำการศึกษาคุณสมบัติของเชื้อเพลิงขุยมะพร้าวอัดเม็ด โดยทำการทดสอบค่าความชื้น ความหนาแน่นรวม เส้นผ่านศูนย์กลาง ดัชนีความคงทน ฝุ่น ค่าความร้อน ปริมาณเถ้า ส่วนประกอบของ คลอไรด์ สารซัลเฟอร์และสารไนโตรเจนเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานชีวมวลอัดเม็ดของประเทศไทย ขุยมะพร้าวจึงมีคุณลักษณะที่เหมาะสมสำหรับนำมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด เนื่องจากมี ค่าความร้อนและความหนาแน่นสูง แต่มีค่าความชื้น ปริมาณขี้เถ้า ซัลเฟอร์และไนโตรเจนในปริมาณที่ ต่ำ ซึ่งขุยมะพร้าวอัดเม็ดที่ทดสอบมีคุณสมบัติที่ดี ผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานชีวมวลอัดเม็ดของประเทศ ไทย โดยมีค่าความหนาแน่นเท่ากับ 770 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6.06 มิลลิเมตร ปริมาณฝุ่นเพียง 0.47% และความชื้นประมาณ 4.54% ปริมาณขี้เถ้าประมาณ 6.37% มี ปริมาณไนโตรเจน 0.23% ของน้ำหนักและไม่พบส่วนประกอบของสารกำมะถัน ขุยมะพร้าวอัดเม็ดมีค่า ความร้อนประมาณ 4,320 กิโลแคลอรี่ต่อกิโลกรัม ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานชีวมวลอัดเม็ด อย่างไรก็ ตามพบว่า มีปริมาณของคลอไรด์ (0.43%) ซึ่งยังไม่ผ่านเกณฑ์
Description: งานวิจัยงบประมาณแผ่นดิน ปีงบประมาณ 2559 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
URI: http://hdl.handle.net/123456789/672
Date: 2018-09-25


Files in this item

Files Size Format View Description
ird_091_59.pdf 136.9Kb PDF View/Open ปก
ird_091_59 (1).pdf 57.80Kb PDF View/Open
ird_091_59 (2).pdf 57.37Kb PDF View/Open
ird_091_59 (3).pdf 48.26Kb PDF View/Open
ird_091_59 (4).pdf 79.04Kb PDF View/Open
ird_091_59 (5).pdf 1.714Mb PDF View/Open
ird_091_59 (6).pdf 2.289Mb PDF View/Open
ird_091_59 (7).pdf 1.318Mb PDF View/Open
ird_091_59 (8).pdf 49.99Kb PDF View/Open
ird_091_59 (9).pdf 54.91Kb PDF View/Open
ird_091_59 (10).pdf 2.500Mb PDF View/Open
ird_091_59 (11).pdf 163.3Kb PDF View/Open

This item appears in the following Collection(s)

Show full item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account