dc.contributor.author |
นิยมรัตน์, ฤดี |
|
dc.creator |
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
TH |
dc.date.accessioned |
2015-06-17T07:47:27Z |
|
dc.date.available |
2015-06-17T07:47:27Z |
|
dc.date.issued |
2015-06-17 |
|
dc.identifier.issn |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
|
dc.identifier.uri |
http://hdl.handle.net/123456789/81 |
|
dc.description |
งานวิจัยงบประมาณรายได้มหาวิทยาลัย ปีงบประมาณ 2553 มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา |
th_TH |
dc.description.abstract |
การศึกษาเรื่องการจัดการโลจิสติกส์ของอุตสาหกรรมผลิตเครื่องเบญจรงค์จังหวัดสมุทรสงคราม มีวัตถุประสงค์เพื่อสืบค้นการจัดการโลจิสติกส์ของอุตสาหกรรมผลิตเครื่อง เบญจรงค์จังหวัดสมุทรสงคราม รวมทั้งเพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพและประเมินศักยภาพการจัดการโลจิสติกส์ของอุตสาหกรรมผลิตเครื่องเบญจรงค์จังหวัดสมุทรสงคราม ในการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามข้อมูลการประกอบการ และแบบประเมินศักยภาพการจัดการโลจิสติกส์ของอุตสาหกรรมผลิตเครื่องเบญจรงค์ จังหวัดสมัครสงคราม
ผลการศึกษาพบว่า
1. การจัดการโลจิสติกส์ของอุตสาหกรรมผลิตเครื่องเบญจรงค์จังหวัดสมุทรสงคราม พบว่าสถานประกอบการมีกิจกรรมการบริการลูกค้า การวางแผนเกี่ยวกับตาแหน่งที่ตั้งของอาคารโรงงาน มีกิจกรรมการจัดซื้อจัดหาวัตถุดิบ การเคลื่อนย้ายวัตถุดิบ การบรรจุหีบห่อ การขนของและการจัดส่ง โลจิสติกส์ย้อนกลับ การกระจายสินค้า การจัดการช่องทางจัดจาหน่าย และกิจกรรมการแปรรูปเพื่อนากลับมาใช้ใหม่ ส่วนกิจกรรมโลจิสติกส์ที่สถานประกอบการมีการดาเนินการน้อยได้แก่ กิจกรรมคลังสินค้าและการเก็บสินค้าเข้าคลัง และการพยากรณ์และวางแผนอุปสงค์
2. ประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์ของอุตสาหกรรมผลิตเครื่องเบญจรงค์จังหวัดสมุทรสงคราม พบว่าสถานประกอบการผลิตเครื่องเบญจรงค์จังหวัดสมุทรสงครามมีประสิทธิภาพด้านคุณภาพอยู่ในระดับที่ได้เปรียบคู่แข่งขัน สาหรับประสิทธิภาพด้านเวลาพบว่าอยู่ในระดับได้เปรียบคู่แข่งขันยกเว้นประเด็นที่อยู่ในระดับมีปัญหาได้แก่ระยะเวลาในการส่งคาสั่งซื้อภายในองค์การ ระยะเวลาในการถือครองและการบรรจุภัณฑ์สินค้า รวมทั้งระยะเวลาในการเก็บสินค้าสาเร็จรูปเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ส่วนประสิทธิภาพด้านต้นทุน พบว่ามีอยู่ในระดับได้เปรียบคู่แข่งขัน และอยู่ในระดับปกติเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่ง
3. ศักยภาพการจัดการโลจิสติกส์ของอุตสาหกรรมผลิตเครื่องเบญจรงค์จังหวัดสมุทรสงคราม พบว่าสถานประกอบการมีศักยภาพในระดับน้อยทั้ง 5 ด้านเรียงจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผลด้านโลจิสติกส์ ด้านระบบบริหารข้อมูลสารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านความร่วมมือกันระหว่างองค์การ ด้านการกาหนดกลยุทธ์องค์การ และด้านการวางแผนและความสามารถในการปฏิบัติงาน
ข้อเสนอแนะ
1. การนาผลการวิจัยไปใช้งานได้โดย สถานประกอบการควรวางระบบการจัดเก็บข้อมูลทั้งหมดเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพิจารณาวางแผนและปรับปรุงการประกอบการในอนาคต รวมทั้งนักวิจัย นักวิชาการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการให้ความรู้เรื่องการจัดการ โลจิสติกส์ให้กับสถานประกอบการเพิ่มมากขึ้น
2. การวิจัยที่ต่อเนื่องจากผลการวิจัยได้แก่การพัฒนาการจัดการโลจิสติกส์ในกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การลดต้นทุนการผลิต การจัดการขนส่งและการกระจายสินค้า การจัดการคลังสินค้า เป็นต้น โดยใช้กระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วมจากสถานประกอบการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการวิจัยตามข้อเสนอแนะและความต้องการของสถานประกอบการ ได้แก่การศึกษาเอกลักษณ์ของเครื่องเบญจรงค์ และวัฒนธรรมพื้นถิ่นที่เกี่ยวกับเครื่องเบญจรงค์ จังหวัดสมุทรสงคราม เพื่อจัดทารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรม |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา |
th_TH |
dc.language |
TH |
TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
TH |
dc.relation.ispartofseries |
งานวิจัยปี 2553; |
|
dc.source |
งานวิจัยแหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2553 |
TH |
dc.subject |
การจัดการโลจิสติกส์ |
th_TH |
dc.subject |
เครื่องเบญจรงค์ |
th_TH |
dc.subject |
จังหวัดสมุทรสงคราม |
th_TH |
dc.title |
การจัดการโลจิสติกส์ของอุตสาหกรรมผลิตเครื่องเบญจรงค์ จังหวัดสมุทรสงคราม |
th_TH |
dc.type |
Article |
th_TH |