dc.contributor.author |
ชูโตศรี, ทัศนันท์ |
|
dc.date.accessioned |
2018-11-20T08:36:41Z |
|
dc.date.available |
2018-11-20T08:36:41Z |
|
dc.date.issued |
2018-11-20 |
|
dc.identifier.uri |
http://hdl.handle.net/123456789/969 |
|
dc.description |
งานวิจัยงบระมาณรายได้มหาวิทยาลัย ปีงบประมาณ 2560
มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา |
th_TH |
dc.description.abstract |
การศึกษาการจัดการความรู้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงระดับอาเภอพุทธมณฑล บ้านผู้ใหญ่โดม จังหวัดนครปฐม มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการความรู้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ระดับอาเภอพุทธมณฑล บ้านผู้ใหญ่โดม จังหวัดนครปฐม 2) เพื่อรวบรวมองค์ความรู้หลักเศรษฐกิจพอเพียงศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ระดับอาเภอพุทธมณฑล บ้านผู้ใหญ่โดม จังหวัดนครปฐม กลุ่มประชากรที่ใช้ศึกษาครั้งนี้ คือ สมาชิกของศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ระดับอาเภอพุทธมณฑล บ้านผู้ใหญ่โดม จังหวัดนครปฐม จานวน 13 คน งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมด้วย แบบสัมภาษณ์ที่มีแนวทางการสัมภาษณ์ (Interview guideline) และการสังเคราะห์จากเอกสารที่เกี่ยวข้อง
ผลการศึกษาพบว่า
1. สภาพและปัญหาการจัดการความรู้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ระดับอาเภอพุทธมณฑล บ้านผู้ใหญ่โดม จังหวัดนครปฐม พบว่า ด้านคน มีการให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันเป็นอย่างดี ส่วนการทางานภายในศูนย์การเรียนรู้ฯ เป็นรูปแบบจิตอาสา แต่มีปัญหาเรื่องการรวมกลุ่มของชาวบ้าน เพราะเป็นหมู่บ้านแบบกระจายอยู่ห่างกัน และเริ่มเป็นกึ่งเมืองมากขึ้น ด้านกระบวนการ สภาพการจัดหาความรู้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของศูนย์การเรียนรู้ฯ หน่วยงานภาครัฐ ได้ให้การสนับสนุนในการศึกษาดูงานสถานที่ต่างๆ แต่บางครั้งการศึกษาดูงานก็ไม่สามารถนามาใช้ได้กับพื้นที่ของศูนย์การเรียนรู้ฯ สภาพการสร้างความรู้ในขั้นที่หนึ่ง: ฐานการผลิตความพอเพียง ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของศูนย์การเรียนรู้ฯ พื้นที่ในศูนย์การเรียนรู้ มี 3 ไร่ แต่พื้นที่ทั้งหมดมี 20 ไร่ ปลูกพืชหลากหลายในพื้นที่ว่าง แต่มีข้าวเป็นหลัก ปัญหาขาดงบประมาณสนับสนุนในช่วงแรก ชาวบ้านไม่มีพื้นที่ทากิน สภาพการสร้างความรู้ในขั้นที่สอง: รวมพลังเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ความร่วมมือก็จะเป็นกลุ่มเพื่อนด้วยกัน เมื่อสามารถเก็บผลผลิตได้ก็จะแจกจ่ายเฉพาะในกลุ่ม เหลือก็จะขาย ทาแค่พอมีพอกิน ปัญหาคือชาวบ้านไม่อยากลงมือทา สภาพการสร้างความรู้ในขั้นที่สาม: ร่วมค้าขายสร้าง
เครือข่ายเศรษฐกิจชุมชน ไม่มีการร่วมกลุ่มในรูปแบบสหกรณ์ เนื่องจากสมาชิกมองว่าถ้ามีเรื่องเงินเข้ามาเกี่ยวข้อง อาจจะเกิดปัญหา กับทางศูนย์ฯ ในอนาคต ด้านการจัดเก็บ และการค้นคืนความรู้ ศูนย์มีการจัดทาแฟ้มผลงานต่างๆ จัดทาสื่อ Powerpoint, Facebook, Youtube, โปสเตอร์ และสัมภาษณ์ผ่านสื่อต่างๆ แต่ไม่มีการรวบรวมและจัดเก็บองค์ความรู้อย่างเป็นระบบ ด้านการถ่ายทอดความรู้ และการใช้ประโยชน์ ศูนย์ฯ เปิดให้คนเข้ามาศึกษาดูงานภายในศูนย์ฯ อย่างต่อเนื่อง แต่บางครั้งคนที่มาศึกษาดูงานก็ไม่สามารถนาความรู้ไปต่อยอดได้ และมีส่วนน้อยที่นาความรู้ไปปฏิบัติจริง ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ศูนย์ฯ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการค้นหาข้อมูลผ่านระบบอินเทอร์เน็ต แต่ศูนย์ยังขาดแคลนในเรื่องอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ
2. องค์ความรู้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ระดับอาเภอพุทธมณฑล บ้านผู้ใหญ่โดม จังหวัดนครปฐม ประกอบด้วยองค์ความรู้ เรื่องการประกอบอาชีพแบบเศรษกิจพอเพียง แนวทางการปฏิบัติตนตามเศรษกิจพอเพียง การน้อมนาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทางสายกลางตามแนวพระราชดาริมาปฏิบัติ ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยฐานการเรียนรู้ต่างๆ ภายในศูนย์การเรียนรู้ฯ ประกอบด้วย ฐานพืชผักสวนครัวรั่วริมนา ฐานเตาเผาถ่านและน้าส้มควันไม้ ฐานโรงสีข้าว ฐานนาข้าวปลอดสารพิษ ฐานพลังงานโซล่าเซล ฐานการเรียนรู้อื่นๆ เช่น เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา เป็นต้น |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.relation.ispartofseries |
งานวิจัยปี 2560; |
|
dc.subject |
Knowledge management, Economy principles, Learning Center |
th_TH |
dc.title |
การจัดการความรู้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจ พอเพียงระดับอาเภอพุทธมณฑล บ้านผู้ใหญ่โดม จังหวัดนครปฐม |
th_TH |
dc.type |
Article |
th_TH |