Information Retrieval Systems of Research Institute at Saun Sunandha Rajabhat University >
งานวิจัยปีงบประมาณ 2560 >
งานวิจัยภาษาไทย >
แหล่งทุนภายนอก ปีงบประมาณ 2560 >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://hdl.handle.net/123456789/1011
|
Title: | การทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดจากมะม่วงหาวมะนาวโห่ |
Authors: | กาญจน์กมล, จันทนา |
Keywords: | มะม่วงหาวมะนาวโห่ สารประกอบฟีนอลิกรวม การต้านอนุมูลอิสระ การต้านเชื้อแบคทีเรีย ค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย |
Issue Date: | 26-Nov-2018 |
Series/Report no.: | งานวิจัยปี 2560; |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวม และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากเมล็ดและเนื้อของมะม่วงหาวมะนาวโห่โดยใช้ตัวทำละลายเมทานอล เอทานอล เอทิลอะซิเทต และเฮกเซน นำสารสกัดที่ได้มาวิเคราะห์ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวม โดยวิธี Folin-Ciocalteu colorimetric และทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธีต่างกัน 3 วิธี คือวิธี DPPH ความสามารถในการรีดิวซ์ และ ความสามารถต้านอนุมูลอิสระรวม ผลของการวิจัย พบว่า สารสกัดหยาบจากเมล็ดที่สกัดด้วยเมทานอลจากผลสุกมีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวมสูงที่สุด มีค่าเท่ากับ 332.2810.63 มิลลิกรัมสมมูลย์ของกรดแกลลิกต่อกรัมของสารสกัดแห้ง (mg GAE/g dry extract) จากการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระโดยวิธี DPPH เทียบกับสารมาตรฐาน BHT พบว่า สารสกัดเมทานอลจากเมล็ดของผลสุกมีประสิทธิภาพในการกำจัดอนุมูล DPPH (SC50) สูงสุดรองลงมาเป็นสารสกัดเมทานอลจากเมล็ดผลกึ่งสุก มีค่า SC50 เป็น 0.014±0.004 และ 0.018±0.001 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร (มก./มล.) ตามลำดับ โดยสามารถต้านอนุมูลอิสระได้ดีกว่าสารละลายมาตรฐาน BHT ซึ่งมีค่า SC50 เท่ากับ 0.046±0.001 มก./มล. การประเมินความสามารถในการรีดิวซ์ และ ความสามารถต้านอนุมูลอิสระรวม พบว่า สารสกัดเมทานอลจากเมล็ดของผลสุก มีค่าความสามารถในการรีดิวซ์ และความสามารถต้านอนุมูลอิสระรวมระดับสูง มีค่าเท่ากับ 340.57±11.31 mg GAE/g dry extract และ 492.80±7.18 mg ascorcic acid/g dry extract ตามลำดับ เมื่อนำสารสกัดมาทดสอบกับเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในมนุษย์ 4 ชนิด คือ Staphylococcus aureus, Escherichia coli, Salmonella typhimurium และ Listeria monocytogenes โดยวิธี Agar well diffusion พบว่า สารสกัดเมทานอล และเอทิลอะซิเทตจากเนื้อผลกึ่งสุก มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียทั้ง 4 ชนิด ได้ดีที่สุด มีค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย S. aureus (Minimum inhibition concentration, MIC) เท่ากับ 5 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร แต่พบว่าสารสกัดจากเฮกเซนไม่มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียทุกชนิด |
Description: | งานวิจัยงบประมาณแผ่นดิน ปีงบประมาณ2560 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
URI: | http://hdl.handle.net/123456789/1011 |
Appears in Collections: | แหล่งทุนภายนอก ปีงบประมาณ 2560
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|