DSpace About DSpace Software
 

Information Retrieval Systems of Research Institute at Saun Sunandha Rajabhat University >
งานวิจัยปีงบประมาณ 2560 >
งานวิจัยภาษาไทย >
แหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2560 >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1023

Title: แนวทางการจัดการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม : กรณีศึกษาวัฒนธรรมไทยพวน ชุมชนบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี
Authors: สีทามา, เอกชัย
กุลชาติธีรธรรม, กันต์กนิษฐ์
ต้นทับทิมทอง, นชวัล
ติยะพิพัฒน์, อิสรีย์
Issue Date: 26-Nov-2018
Series/Report no.: งานวิจัยปี 2560;
Abstract: แนวทางการจัดการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม : กรณีศึกษาวัฒนธรรมไทยพวน ชุมชนบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี เป็นงานวิจัยเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงคุณภาพที่เกี่ยวข้องกับการจัดการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการศึกษาวิถีชีวิต วัฒนธรรม และการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมไทยพวน ชุมชนบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี และเพื่อเป็นการศึกษาการจัดการสาหรับการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมไทยพวน ชุมชนบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี โดยมีผู้ให้ข้อมูลที่สาคัญหรือผู้นาชุมชนเป็นชาวไทยพวนชุมชนบ้านเชียง จานวน 6 คน องค์กรท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง จานวน 2 คน ชมรมการท่องเที่ยว จานวน 2 คน ชมรมโฮมสเตย์ จานวน 2 คน รวมทั้งสิน 12 คน ที่อาศัยอยู่ในชุมชนบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (Non Participant Observation) ซึ่งใช้ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล ระหว่าง เดือน มกราคม พ.ศ. 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยเลือกใช้การบันทึกข้อมูลด้วยวิธีการเขียน และการบันทึกเสียง โดยเลือกใช้เครื่องมือในการเก็บข้อมูล คือ แนวคาถาม เครื่องบันทึกเสียง สมุด ปากกา และ กล้องถ่ายภาพ ผลการวิจัยปรากฏว่า การศึกษาวิถีชีวิต วัฒนธรรม และการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมไทยพวน ชุมชนบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี จากการศึกษาพบว่า ชุมชนให้ความสาคัญและตระหนักถึงคุณค่าของแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงซึ่งเป็นเป็นมรดกโลก ที่เป็นสมบัติของชาติ มีความรักและหวงแหน รวมไปถึงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของชาวไทยพวนที่อพยบมาตั้งถิ่นฐานบริเวณบ้านเชียงนี้ การสืบสานวัฒนธรรมประเพณีของบรรพบุรุษชาวไทยพวน ไม่ว่าจะเป็นวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ภาษา การแต่งกาย ขนบธรรมเนียมประเพณี ซึ่งเป็นการใช้เสน่ห์ทางวัฒนธรรมเป็นจุดดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว การศึกษาการจัดการสาหรับการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมไทยพวน ชุมชนบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี จากการศึกษาพบว่า การจัดการท่องเที่ยวโดยใช้ทุนทางวัฒนธรรมท้องถิ่นเข้ามาช่วยในการจัดการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมไทยพวนบ้านเชียงนั้น จะต้องมีการจัดการที่เป็นรูปธรรมชัดเจน ทั้งในด้านการอนุรักษ์และให้ความสาคัญกับประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี, ด้านความยั่งยืนในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม, ด้านการคงไว้ซึ่งวิถีชีวิตของท้องถิ่น, ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของนักท่องเที่ยว รวมไปถึงการคานึงขีดความสามารคในการรองรับนักท่องเที่ยว ซึ่งการจัดการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่า จะต้องสอดคล้องกับตามความต้องการของทั้งคนในชุมชน นักท่องเที่ยว และศักยภาพของท้องถิ่น ข้อเสนอแนะ สิ่งสาคัญที่จะทาให้การพัฒนาการท่องเที่ยวให้ประสบความสาเร็จอย่างยั่งยืน คือ การสร้างกระบวนการให้ชุมชนเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในการดาเนินงานพัฒนา ร่วมคิด ตัดสินใจ แก้ไขปัญหาด้วยตนเอง เน้นการมีส่วนร่วมเกึ่ยวข้องอย่างแข็งขันของชุมชน ซึ่งชุมชนไทยพวนบ้านเชียง เป็นชุมชนมีความร่วมแรงร่วมใจ ผลักดันให้เกิดการท่องเที่ยวที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรมและมีความดึงดูดใจ ทาให้ชุมชนบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี ประเทศไทย เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางและมีศักยภาพในการพัฒนาต่อไปได้เป็นอย่างดี อีกทั้งสามารถนาไปเป็นชุมชนต้นแบบในการพัฒนาชุมชนอื่นๆ เพื่อนาไปสู่การจัดการท่องเที่ยวในรูปแบบการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมโดยชุมชนต่อไป
Description: งานวิจัยงบประมาณรายได้ ปีงบประมาณ2560 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
URI: http://hdl.handle.net/123456789/1023
Appears in Collections:แหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2560

Files in This Item:

File Description SizeFormat
ปกเล่มวิจัยสวนนัน.pdfปก108.87 kBAdobe PDFView/Open
สารบัญ.pdfสารบัญ89.14 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract36.27 kBAdobe PDFView/Open
กิตติกรรมประกาศ.pdfกิตติกรรมประกาศ60.49 kBAdobe PDFView/Open
บทคัดย่อ.pdfบทคัดย่อ210.6 kBAdobe PDFView/Open
บทที่ 1.pdfบทที่1294.48 kBAdobe PDFView/Open
บทที่ 2.pdfบทที่2381.79 kBAdobe PDFView/Open
บทที่ 3.pdfบทที่3225.19 kBAdobe PDFView/Open
บทที่ 4.pdfบทที่41.57 MBAdobe PDFView/Open
บทที่ 5.pdfบทที่5235.9 kBAdobe PDFView/Open
บรรณานุกรม.pdfบรรณานุกรม228.78 kBAdobe PDFView/Open
ประวัติผู้เขียน.pdfประวัตินักวิจัย212.21 kBAdobe PDFView/Open
ภาคผนวก.pdfภาคผนวก1.55 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

Valid XHTML 1.0! DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback