Information Retrieval Systems of Research Institute at Saun Sunandha Rajabhat University >
งานวิจัยปีงบประมาณ 2561 >
งานวิจัยภาษาไทย >
แหล่งทุนภายนอก ปีงบประมาณ 2561 >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://hdl.handle.net/123456789/1213
|
Title: | การเสริมสร้างความรู้ด้านการจัดการขยะพลาสติกในชุมชน ของอำเภออัมพวา และพัฒนาเป็นชุมชนต้นแบบที่ดี ของจังหวัดสมุทรสงคราม |
Authors: | ธาราสวัสดิ์พิพัฒน์, ชัยศรี |
Keywords: | ส่งเสริมความรู้ ต้นแบบ การจัดการขยะพลาสติกอัมพวา |
Issue Date: | 13-Dec-2018 |
Series/Report no.: | งานวิจัยปี 2561; |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาวิธีเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ ด้านการจัดการขยะพลาสติกชุมชน เพื่อทดสอบนำพลาสติกที่ผ่านการใช้แล้วมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงจากขยะ 1 รูปแบบคือ RDF (Refuse derived fuel) เพื่อเสริมสร้างความรู้ด้านการจัดการขยะพลาสติกโดยชุมชนให้สามารถพัฒนาเป็นชุมชนต้นแบบของจังหวัดสมุทรสงครามดำเนินการในพื้นที่ 2 ตำบล รวบรวม คัดแยก หาสัดส่วนของปริมาณขยะในพื้นที่ตำบลบางแค และบางนางลี่ ของอำเภออัมพวา ผลิตเป็นขยะเชื้อเพลิงแบบแท่ง ในสัดส่วนผสมระหว่างพลาสติกทั่วไปกับเปลือกมะพร้าว กิ่งส้มโอ กระดาษ และเศษโฟมในสัดส่วน 1:0.5, 1:1, 1:1.5 และ 1:2 โดยน้ำหนัก ทดสอบคุณสมบัติพื้นฐานของแท่งเชื้อเพลิงตามมาตรฐานASTM และเสริมสร้างความรู้ด้านการลดขยะพลาสติก 2 แนวทาง คือลดพลาสติกจากต้นทางด้วยกิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมการใช้วัสดุทดแทนในร้านค้าชุมขน และลดพลาสติกที่ปลายทาง โดยการรวบรวมนำส่งไปผลิตเป็นขยะเชื้อเพลิง RDF ผลพบว่า ปริมาณขยะที่เกิดขึ้นในพื้นที่ 2 ตำบล มีขยะอินทรีย์ประเภทเศษอาหารและมูลสัตว์ร้อยละ 61-64 โดยน้ำหนัก พลาสติกทั่วไป ร้อยละ 3-4 โดยน้ำหนัก เปลือกมะพร้าว และกิ่งส้มโอประมาณร้อยละ 3-8 โดยน้ำหนัก สามารถผลิตเป็นแท่งเชื้อเพลิง RDF ประเภท 5 ได้ พบส่วนผสมของถุงพลาสติกกับโฟมมีค่าความชื้นต่ำ 1.0-1.2 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก มีค่าความร้อนสูงถึง 25.8-32.5 กิโลจูลต่อกิโลกรัม ที่สัดส่วนผสมถุงพลาสติกกับเปลือกมะพร้าวในสัดส่วน 1.0 ต่อ 0.5 และพบปริมาณเถ้า 1.9-2.5 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก มีปริมาณคลอไรด์ในส่วนของขยะพลาสติกกับโฟม ปริมาณไนโตรเจนที่ส่วนผสมเปลือกมะพร้าวมีค่าสูงสุด ปริมาณคาร์บอน 18.9-49.5 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก และพบระดับความพึงพอใจแนวทางการจัดการขยะด้วยการเสริมสร้างความรู้ ความสามารถของร้านค้าชุมชน โรงเรียน และหน่วยงานองค์การบริหารส่วนตำบล 2 รูปแบบในระดับมากและระดับความพึงพอใจของชุมชนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปชุมชนสามารถยอมรับรูปแบบของการจัดการขยะที่ทำการทดลองในพื้นที่ของตำบลที่ตนเอง |
Description: | งานวิจัยงบประมาณรายได้แผนดิน ปีงบประมาณ 2560 มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา |
URI: | http://hdl.handle.net/123456789/1213 |
Appears in Collections: | แหล่งทุนภายนอก ปีงบประมาณ 2561
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|