DSpace About DSpace Software
 

Information Retrieval Systems of Research Institute at Saun Sunandha Rajabhat University >
งานวิจัยปีงบประมาณ 2561 >
งานวิจัยภาษาไทย >
แหล่งทุนภายนอก ปีงบประมาณ 2561 >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1234

Title: การสร้างสื่อเสมือนจริงเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนเรื่องหัวใจ
Authors: แช่มช้อย, นภดล
นวลมีศรี, สุมิตรา
สังวาระนที, ณรงค์
สังวาระนที, นิศากร
เดชกล้า, มนัสวี
เกษเมธีการุณ, ปรีดาวรรณ
พุ่มหิรัญ, ลาภ
Keywords: สื่อเสมือนจริง, หัวใจ, สื่อการเรียนการสอน
Issue Date: 14-Dec-2018
Series/Report no.: งานวิจัยปี 2561;
Abstract: งานวิจัยนี้ได้พัฒนาสื่อเสมือนจริงเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนเรื่องหัวใจ โดยทาการการศึกษา วิเคราะห์ ออกแบบและพัฒนาสื่อเสมือนจริงสาหรับการเรียนการสอนเรื่องหัวใจ และประเมินสื่อเสมือนจริงที่พัฒนาขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญจานวน 5 ท่าน ด้วยการประเมินความสอดคล้องของเนื้อหา (IOC) ผลการหาค่า IOC มีค่า 0.8 ในแต่ละเนื้อหา และประเมินการเผยแพร่นวัตกรรม (DOI) ผลการประเมินการเผยแพร่นวัตกรรมมีค่าเฉลี่ยเลขคณิตเท่ากับ 4.04 แสดงให้เห็นว่าสื่อเสมือนจริงที่พัฒนาขึ้นควรแก่การนาไปเผยแพร่นวัตกรรมในระดับมาก และทาการเผยแพร่สื่อเสมือนจริงเรื่องหัวใจแก่กลุ่มตัวอย่าง จานวน 30 คน และประเมินผลการเรียนรู้ก่อนและหลังของผู้เข้าอบรมที่เรียนรู้ด้วยสื่อเสมือนจริงด้วยแบบทดสอบ ซึ่งแบบทดสอบได้ผ่านการหาค่าดัชนีความเที่ยงตรง (CVI) พบว่าค่า CVI เท่ากับ 0.83 และทาการประเมินผลการเรียนรู้ของกลุ่มตัวอย่างหลังอบรม พบว่ามีการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการใช้งานสื่อเสมือนจริง การประเมินประสิทธิภาพการยอมรับสื่อเสมือนจริงของผู้ใช้งานมีค่าเฉลี่ยเลขคณิตเท่ากับ 4.38 แสดงให้เห็นว่าผู้ใช้มีการยอมรับสื่อเสมือนจริงเรื่องหัวใจอยู่ในระดับมาก และพบว่าคะแนนของกลุ่มตัวอย่างหลังเรียนรู้ผ่านสื่อเสมือนจริงมีค่าสูงกว่ากลุ่มตัวอย่างที่เรียนรู้เรื่องหัวใจผ่านสื่อในรูปกระดาษและวิดีโอ ซึ่งสื่อเสมือนจริงที่พัฒนาขึ้นช่วยให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพดีขึ้นและเป็นสื่อที่ได้รับยอมรับจากผู้เรียน การประเมินประสิทธิภาพของสื่อการสอนมัลติมีเดียด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริงและประเมินทัศนคติต่อการใช้สื่อการสอนมัลติมีเดียด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง เรื่องส่วนประกอบของหัวใจและการไหลเวียนโลหิตของมนุษย์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จานวนทั้งสิ้น 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยสื่อการสอนมัลติมีเดียด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง (augmented reality) และแบบประเมินประสิทธิภาพการใช้สื่อการสอนมัลติมีเดียเพื่อสอบถามทัศนคติต่อการใช้สื่อการสอน ทาการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับทัศนคติต่อการใช้สื่อการสอนมัลติมีเดีย โดยแสดงอยู่ในรูปค่าเฉลี่ยแบบประเมินประสิทธิภาพและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน พบว่า 1) นักเรียนส่วนใหญ่ใช้มากกว่า 5 ชั่วโมงต่อวันในการใช้โทรศัพท์มือถือ และนักเรียนไม่เคยรู้จักเทคโนโลยีเสมือนจริง (augmented reality; AR) คิดเป็นร้อยละ 89 2) ผลสารวจทัศนคติต่อการใช้สื่อการสอนด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง (augmented reality) ด้านเนื้อหาและความสวยงามมีค่าการประเมินประสิทธิภาพโดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดและการประเมินด้านประสิทธิภาพในการใช้สื่อการสอนมีค่าเฉลี่ยของแบบประเมินต่อการใช้สื่อการสอนอยู่ในระดับมากที่สุด โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยของแบบประเมิน คือ 4.64 คะแนน ซึ่งจัดอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ทัศนคติหลังการใช้สื่อการสอนด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง (augmented reality) ของนักเรียน พบว่านักเรียนมีความตื่นเต้นและสนุกสนาน และสามารถจินตนาการภาพได้ดียิ่งขึ้น มากกว่าการจัดการเรียนรู้แบบดั้งเดิม และพบว่านักเรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ผ่านการใช้สื่อการสอนด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริงได้ดี
Description: งานวิจัยงบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัย ปีงบประมาณ2561 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
URI: http://hdl.handle.net/123456789/1234
Appears in Collections:แหล่งทุนภายนอก ปีงบประมาณ 2561

Files in This Item:

File Description SizeFormat
1.Tปกและส่วนนำ.pdfปก บทคัดย่อ สารบัญ171 kBAdobe PDFView/Open
2.Tบทที่ 1.pdfบทที่1100.28 kBAdobe PDFView/Open
3.Tบทที่ 2.pdfบทที่21.02 MBAdobe PDFView/Open
4.Tบทที่ 3.pdfบทที่31.45 MBAdobe PDFView/Open
5.Tบทที่ 4.pdfบทที่4443.99 kBAdobe PDFView/Open
6.Tบทที่ 5.pdfบทที่5128.53 kBAdobe PDFView/Open
7.Tบรรณานุกรม.pdfบรรณานุกรม109.76 kBAdobe PDFView/Open
8.Tภาคผนวก.pdfภาคผนวก698.63 kBAdobe PDFView/Open
9.Tประวัติผู้วิจัย.pdfประวัตินักวิจัย79.79 kBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

Valid XHTML 1.0! DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback