Information Retrieval Systems of Research Institute at Saun Sunandha Rajabhat University >
งานวิจัยปีงบประมาณ 2561 >
งานวิจัยภาษาไทย >
แหล่งทุนภายนอก ปีงบประมาณ 2561 >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://hdl.handle.net/123456789/1236
|
Title: | การสร้างและยกระดับเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ผ่าน อาหารพื้นถิ่น ในภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทย |
Authors: | วรสีหะ, เอกณรงค์ พิมลรัตนกานต์, สุดารัตน์ นามภิญโญ, อนุช ภู่ทอง, บุณยาพร |
Keywords: | เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์, อาหารพื้นถิ่น |
Issue Date: | 14-Dec-2018 |
Series/Report no.: | งานวิจัยปี 2561; |
Abstract: | การสร้างและยกระดับเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ผ่านอาหารพื้นถิ่น ในภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทย มุ่งศึกษาศักยภาพของจุดสนใจทางการท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้อาหารในภาคตะวันตก และสารวจข้อมูลการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้อาหารด้านอาหารไทยในพื้นที่ภูมิภาคตะวันตก 8 จังหวัด ได้แก่ นครปฐม ราชบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร เพื่อกาหนดเส้นทางการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้อาหารที่มีศักยภาพ โดยระเบียบวิธีวิจัยประกอบด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การการศึกษาข้อมูลทุติยภูมิด้านอาหารพื้นถิ่นและสัมภาษณ์ผู้รู้ในท้องถิ่นเกี่ยวกับอาหารและวิถีชีวิต และการสารวจพื้นที่และจุดสนใจทางการท่องเที่ยวที่นาสามารถนาเสนอเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมด้านอาหาร ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับอาหาร โดยใช้แนวคิดพื้นฐานของการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอนุรักษ์ การท่องเที่ยวโดยชุมชน และการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิและการสารวจภาคสนาม พบอัตลักษณ์และความโดดเด่นของแต่ละพื้นที่แล้วจึงจะนามากาหนดเป็นจุดสนใจทางการท่องเที่ยว พบว่าอัตลักษณ์ด้านวัฒนธรรมอาหารในภาคตะวันตก สามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ 1.จังหวัดที่มีพื้นที่ชายฝั่งติดทะเล ได้แก่ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งจะมุ่งเน้นวัตถุดิบที่ได้จากทะเล 2. จังหวัดที่ไม่มีพื้นที่ชายฝั่งติดทะเล ได้แก่ ราชบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรีและนครปฐม มุ่งเน้นวัตถุดิบที่ได้จากลุ่มแม่น้า ภูเขาและพื้นที่ทางการเกษตร เมื่อกาหนดอัตลักษณ์และความโดดเด่นด้านอาหารได้แล้วจึงกาหนดจุดสนใจทางการท่องเที่ยวได้แล้ว นามาเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวเดิมในพื้นที่ด้วย และกาหนดเป็นเส้นทางการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ด้านอาหารตามพื้นที่แล้วดาเนินการประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว พบว่า เส้นทางการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้อาหารที่น่าสนใจและคิดว่ามีศักยภาพในเชิงพาณิชย์ 3 เส้นทาง ได้แก่
1) เส้นทาง “เกลือ” จุดประสงค์เพื่อเรียนรู้ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านและชาวประมงที่มีทะเลอ่าวไทยเข้ามาเกี่ยวข้องในชีวิตประจาวัน พร้อมการเรียนรู้การเกิดขึ้นของเกลือ การทานาเกลือและการนาเกลือไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ นอกเหนือจากการเป็นเครื่องปรุงรสชาติ เน้นกิจกรรมที่ทาให้เห็นว่าพื้นที่ชายฝั่งทะเลมีความเชื่อมโยงกับทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่มากน้อยเพียงใด ที่ก่อให้เกิดเอกลักษณ์เฉพาะตัวในพื้นที่ พบว่ามี 3 จังหวัดที่เกี่ยวข้องกับการทานาเกลือและการแปรรูปอาหารจากเกลือ คือ สมุทรสาคร สมุทรสงครามและเพชรบุรี สถานที่ท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับเส้นทางดังกล่าว ได้แก่ ศูนย์มหาลัยวิชชาลัยภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดสมุทรสงคราม ศูนย์เรียนรู้การทานาเกลือตาบลโคกขาม กลุ่มเกษตรกรทานาเกลือบ้านแหลม กลุ่มอาชีพเกลือทะเลกังหันทอง และชาวเลโฮมกระเตง
2) เส้นทาง “น้าตาลโตนด” ใช้รูปแบบการเรียนรู้ของตาลโตนดเป็นตัวสื่อสารและเชื่อมโยงการเรียนรู้ทั้งในส่วนของการเรียนรู้เชิงวิถีเกษตร ภูมิปัญญาท้องถิ่นและการเรียนรู้อาหารขนมไทยที่เกี่ยวข้องกับตาลโตนดและน้าตาล พบว่าจังหวัดเพชรบุรีมีความเกี่ยวข้องกับการปลูกและการแปรรูปอาหารจากตาลโตนดอย่างลึกซึ้งตลอดจนมีประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวเนื่องกับตาลโตนดมายาวนาน จุดประสงค์เพื่อเรียนรู้ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านที่มีตาลโตนดเข้ามาเกี่ยวข้องในชีวิตประจาวัน พร้อมเรียนรู้สาธิตการขึ้นตาล การเคี่ยวตาล การทาขนมจากตาลโตนด เน้นกิจกรรมที่ทาให้เห็นว่าเพชรบุรีเป็นเมืองแห่งขนมหวานอย่างแท้จริง ด้วยการเดินทางกินของอร่อยของดังประจาจังหวัดทั้งของคาวของหวานที่มีรสชาติเป็นเอกลักษณ์ของตัวเองทั้งในส่วนของอาเภอเมืองเพชรบุรีและอาเภอท่ายางด้วย สถานที่ท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับเส้นทางดังกล่าว ได้แก่ ชุมชนขนมไทยวัดนาพรม – ลานวัฒนธรรมวัดนาพรม – อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี (เขาวัง) – ตะลุยร้านอร่อยเมืองเพชร – ทุ่งนา-ป่าตาล – ผัดไทท่ายาง – ร้านป้อนคาหวาน
3) เส้นทาง “ปลา” จุดประสงค์เพื่อเรียนรู้วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านที่มี “ปลา” ทั้งน้าจืดและน้าเค็ม หรือแม่น้าและทะเลเข้ามาเกี่ยวข้อง ทาให้เกิดการรับประทานปลาอย่างแพร่หลาย กิจกรรมของเส้นทางจึงให้ความสาคัญกับปลาที่เป็นวัตถุดิบหลักของชาวไทยในสมัยก่อน ที่ก่อให้เกิดเอกลักษณ์เฉพาะตัวในพื้นที่ดังกล่าว สถานที่ท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับเส้นทางดังกล่าว ได้แก่ เขื่อนแก่งกระจาน – หมึกแดดเดียว อาเภอปราณบุรี – ร้านเพชรในรู – ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ – กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปปลานวลจันทร์ทะเล
เมื่อกาหนดเส้นทางแล้วได้จัดทาแผนการท่องเที่ยวเพื่อใช้เป็นตัวอย่างของการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้อาหารของทั้ง 3 เส้นทางไว้ เพื่อใช้ในการแนะนานักท่องเที่ยวแบบอิสระ ในรูปแบบ 2 วัน 1 คืน (Two days trip) คาดว่ามีศักยภาพในเชิงพาณิชย์ที่สามารถนาไปประยุกต์เป็นการท่องเที่ยวในรูปแบบใหม่ของการท่องเที่ยวในภูมิภาคตะวันตก ซึ่งเหมาะสาหรับนักท่องเที่ยวอิสระแบบ FIT และนักท่องเที่ยวที่ต้องการเรียนรู้ด้านอาหารในรูปแบบ “เที่ยวไป ชิมไป เรียนรู้ไป” ซึ่งจะต้องนาข้อมูลต่างๆที่กล่าวมาข้างต้นมาพัฒนาปรับปรุงในด้านต่างๆ และสามารถใช้เป็นข้อมูลส่งเสริมการทางานให้กับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยหรือ ททท. ในแต่ละพื้นที่นามาพัฒนาการท่องเที่ยวในรูปแบบการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ด้านอาหารต่อไป |
Description: | งานวิจัยงบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัย ปีงบประมาณ2561 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
URI: | http://hdl.handle.net/123456789/1236 |
Appears in Collections: | แหล่งทุนภายนอก ปีงบประมาณ 2561
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|