Information Retrieval Systems of Research Institute at Saun Sunandha Rajabhat University >
งานวิจัยปีงบประมาณ 2561 >
งานวิจัยภาษาไทย >
แหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2561 >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://hdl.handle.net/123456789/1732
|
Title: | ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกช่องทางการจาหน่ายบัตรโดยสารเครื่องบิน |
Authors: | โกมลวณิช, นายเทพลักษณ์ โพธิ์ทอง, นายกังวาฬ |
Issue Date: | 27-Feb-2019 |
Series/Report no.: | งานวิจัยปี 2561; |
Abstract: | การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกช่องทางการจาหน่ายบัตรโดยสารเครื่องบิน มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกช่องทางในการจาหน่ายบัตรโดยสาร เพื่อใช้บริการสายการบิน และศึกษาถึงแนวโน้มความอยู่รอดของบริษัทตัวแทนจาหน่ายบัตรโดยสาร
กลุ่มประชาการที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ บุคคลทั่วไปทั้งที่เคยใช้บริการสายการบิน และไม่เคยใช้บริการสายการบิน ในเขตกรุงเทพมหานคร แบ่งออกเป็น 4 มุมเมืองๆ ละ 100 ตัวอย่าง รวม 400 ตัวอย่าง ในการเก็บแบบสอบถามและสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า
1. ภาพรวมค่าเฉลี่ยอัตราการมีประสบการณ์การใช้บริการ / เดินทางด้วยเครื่องบินนั้น พบว่า เคยมีประสบการณ์ในการใช้บริการสายการบิน จานวนร้อยละ 90.3 และไม่เคยมีประสบการณ์ในการใช้บริการสายการบิน จานวนร้อยละ 9.7
2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการในช่องทางการจัดจาหน่ายบัตรโดยสารของสายการบินต่างๆ นั้น กลุ่มตัวอย่างจะคานึงถึงเป็นลาดับนั้น แบ่งออกเป็นลาดับแรก คือ ราคาบัตรโดยสาร เส้นทางและเวลาที่จะ
(3)
เดินทาง ความปลอดภัย ชื่อเสียงของสายการบิน วิธีการซื้อบัตรโดยสาร และชนิดของเครื่องบินโดยสาร สาหรับคุณสมบัติด้านช่องทางการเลือกช่องทางการจาหน่ายบัตรโดยสารก่อนเลือกใช้บริการนั้น พบว่า กลุ่มตัวอย่างคานึงถึงเรื่อง แอพพลิเคชั่นเปรียบเทียบราคา เว็ปไซต์สายการบินโดยตรง ตัวแทนจาหน่ายบัตรโดยสาร และเคาน์เตอร์สายการบินในสนามบิน
3. ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจาหน่ายบัตรโดยสารโดยสถานที่ หรือบุคคล ปัจจัยด้านสื่อออนไลน์ของสายการบินโดยตรง ปัจจัยด้านการจัดจาหน่ายโดยแอพพลิเคชั่น กลุ่มตัวอย่างคานึงเรื่อง ปัจจัยทั้งสามด้านมีความสะดวกรวดเร็วในการเข้าถึง และปัจจัยด้านการจัดจาหน่ายโดยเคาน์เตอร์สายการบินที่สนามบิน กลุ่มตัวอย่างคานึงเรื่อง สายการบินมีชื่อเสียง มีความปลอดภัยด้านการเงิน และมีบุคคลากรที่สามารถตอบคาถามได้ทันที
4. แนวโน้มของการให้บริการช่องทางการจัดจาหน่ายบัตรโดยสารโดยตัวแทนจาหน่ายนั้นมีความเป็นไปได้ที่จะลดบทบาทลง แต่ไม่หายไป
ข้อเสนอแนะ
ควรมีการศึกษาถึงปัจจัยต่างๆ เหล่านี้อยู่อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างจะมีความหลากหลายมากขึ้น ความชื่นชอบและแนวคิดที่แตกต่างกัน และควรศึกษาถึงเฉพาะด้านในแต่ละปัจจัยของส่วนประสมทางการตลาดมากยิ่งขึ้น |
Description: | งานวิจัยงบประมาณรายได้มหาวิทยาลัย ปีงบประมาณ2561 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
URI: | http://hdl.handle.net/123456789/1732 |
Appears in Collections: | แหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2561
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|