Information Retrieval Systems of Research Institute at Saun Sunandha Rajabhat University >
ประชุมวิชาการระดับชาติ >
การประชุมวิชาการระดับชาติ "การเรียนรู้ด้านมนุษยศาสตร์และด้านสังคมศาสตร์" ครั้งที่ 3 >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://hdl.handle.net/123456789/1784
|
Title: | สิทธิในการครอบครองกัญชาเพื่อใช้ทางการแพทย์ |
Authors: | สุทธิขาว, จิรายุ ยิ้มเฟือง, ชื่นชีวิน |
Keywords: | กัญชา กัญชาในทางการแพทย์ ยาเสพติดให้โทษ |
Issue Date: | 12-Dec-2019 |
Series/Report no.: | -;NACHSL-2019_O_22 |
Abstract: | กัญชาในทางการแพทย์นั้นเป็นการนำพืชสมุนไพรกัญชามาสกัดเป็นยาเพื่อรักษาผู้ป่วย เช่น ลดการคลื่นไส้อาเจียนจากการได้รับเคมีบำบัด เพิ่มความอยากอาหารในผู้ป่วยมะเร็งและเอดส์ ช่วยควบคุมอาการลมชักคลายความวิตกกังวล ประเทศไทยปัจจุบันนี้คนส่วนใหญ่เริ่มมองเห็นประโยชน์ของกัญชาที่เป็นยามากกว่าเป็นสารเสพติดเพราะเป็นพืชที่สามารถปลูกได้ง่ายเพราะสภาพอากาศในประเทศไทยนั้นเหมาะสมกับการเพาะปลูกกัญชา แต่มีข้อจำกัดในทางกฎหมายที่ครัวเรือนทั่วไปไม่สามารถปลูกเองได้หากไม่มีใบอนุญาตทำให้บุคคลธรรมดาทั่วไปเข้าถึงได้ยาก เนื่องจากกฎหมายที่เกี่ยวข้องอนุญาตให้เฉพาะบุคคลที่ครอบครองกัญชานำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ ในการรักษาผู้ป่วย และอนุญาตให้เฉพาะหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ศึกษาวิจัยหรือจัดการเรียนทางการแพทย์หรือมีหน้าที่ให้บริการทางการเกษตรกรรมเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์หรือหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ในการป้องกัน ปราบปรามและแก้ไขปัญหายาเสพติดหรือสภากาชาดไทย ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทยรวมถึงหมอพื้นบ้านตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการแพทย์แผนไทย สถาบันอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่รวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชนซึ่งจดทะเบียนตามกฎหมาย ว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการขนส่งสาธารณะระหว่างประเทศ เท่านั้นที่สามารถผลิตและนำเข้ากัญชาได้ ซึ่งถือว่าเป็นการจำกัดและควบคุมในปริมาณที่แคบทำให้ปริมาณผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ที่ผลิตจากกัญชาคลาดแคลนและมีปริมาณไม่เพียงพอต่อผู้ป่วยที่ต้องการการรักษางานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาถึงหลักเกณฑ์ทางกฎหมายในการควบคุมการครอบครองและการผลิตผลกระทบของพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่7) พ.ศ.2562 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องที่มีต่อการผลิตและการใช้กัญชาเพื่อรักษาโรคและเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาการครองครองกัญชาของบุคคลทั่วไปให้สามารถเข้าถึงยาที่สกัดจากกัญชาเพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ได้อย่างครอบคลุมต่อไป |
Description: | - |
URI: | http://hdl.handle.net/123456789/1784 |
ISSN: | - |
Appears in Collections: | การประชุมวิชาการระดับชาติ "การเรียนรู้ด้านมนุษยศาสตร์และด้านสังคมศาสตร์" ครั้งที่ 3
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|