Information Retrieval Systems of Research Institute at Saun Sunandha Rajabhat University >
ประชุมวิชาการระดับชาติ >
การประชุมวิชาการระดับชาติ "การเรียนรู้ด้านมนุษยศาสตร์และด้านสังคมศาสตร์" ครั้งที่ 3 >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://hdl.handle.net/123456789/1786
|
Title: | การคุ้มครองลิขสิทธิ์สำหรับงานวรรณกรรมตามกฎหมายไทย |
Authors: | เวสสุวรรณ, จันจิรา ยิ้มเฟือง, ชื่นชีวิน |
Keywords: | กฎหมายลิขสิทธิ์ งานวรรณกรรม เปรียบเทียบกฎหมาย |
Issue Date: | 12-Dec-2019 |
Series/Report no.: | -;NACHSL-2019_O_24 |
Abstract: | งานวรรณกรรมคืองานประพันธ์ทางอักษรทุกชนิดไม่ว่าด้วยภาษาใด หรืออาจจะทำให้ปรากฎโดยการแสดงออกด้วยวิธีการ หรือลักษณะใด ในปัจจุบันถือว่ามีงานวรรณกรรมมีความสำคัญเนื่องจากเป็นแหล่งความรู้ แหล่งข้อมูลข่าวสารที่เปิดให้ประชาชนโดยทั่วไปได้มีการศึกษาค้นคว้า และนำไปต่อยอดในด้านต่าง ๆ ทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงความตื้นลึกหนาบางทางภูมิปัญญาของผู้เขียน และลึกลงไปในภูมิปัญญานั้นก็คือความจริงใจที่ผู้เขียนสะท้อนต่อตัวเอง ต่อผู้อ่านวรรณกรรมจึงเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์ ซึ่งกฎหมายไทยนั้นให้ความคุ้มครองงานวรรณกรรมดังกล่าวโดยคุ้มครองในเรื่องการห้ามทำซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร่ต่อสาธารณชน เว้นแต่การทำซ้ำนั้นทำเพื่อประโยชน์ในการวิจัยเพื่อการศึกษางาน ใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง แต่อย่างไรก็ตามการทำซ้ำนั้นไม่ได้กำหนดขอบเขตไว้ชัดเจนว่าทำได้เท่าไรและการเช่าวรรณกรรมในกฎหมายไทยนั้นสามารถกระทำได้ ในขณะที่กฎหมายอังกฤษนั้นให้ความคุ้มครองงานวรรณกรรมดังกล่าวโดย ห้ามคัดลอกงาน ทำซ้ำ ให้เช่ายืมหรือออกสำเนางานให้สาธารณชนทั่วไป เว้นแต่การทำซ้ำนั้นทำเพื่อประโยชน์ในการวิจัยหรือศึกษาส่วนบุคคล ซึ่งไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการกระทำเพื่อแสวงหากำไร กฎหมายอังกฤษกำหนดขอบเขตในการทำซ้ำหรือสำเนาไว้ว่าสามารถทำได้ไม่เกินร้อยละสิบ กรณีเป็นงานวรรณกรรมประเภทหนังสือสั้นไม่เกินสองร้อยหน้าหรือไม่เกินร้อยละห้าหรือไม่เกินหนึ่งบทจากงานวรรณกรรมประเภทหนังสือที่มีจำนวนหน้าเกินกว่าสองร้อยหน้า รายงานการดำเนินกระบวนการพิจารณาคดี และไม่เกินร้อยละห้าของเรื่องสั้นหรือบทกลอนที่มีจำนวนหน้ามากกว่าสิบหน้า นอกจากนั้นกฎหมายลิขสิทธิ์ของอังกฤษยังจำกัดการให้ยืมสำเนางานวรรณกรรม นาฏกรรม ดนตรีกรรม และศิลปกรรมอีกด้วย งานวิจัยฉบับนี้ผู้วิจัยมุ่งเน้นที่จะทำการศึกษาถึงหลักเกณฑ์ในการให้ความคุ้มครองงานลิขสิทธิ์ประเภทงานวรรณกรรมของกฎหมายไทยเปรียบเทียบกับกฎหมายประเทศอังกฤษว่า สามารถทำซ้ำหรือสำเนาได้หรือไม่มีการกำหนดขอบเขตการทำซ้ำหรือสำเนาหรือไม่ รวมถึงสามารถเช่าวรรณกรรมได้หรือไม่ และเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงการละเมิดละเมิดลิขสิทธิ์ของกฎหมายไทยต่อไป |
Description: | - |
URI: | http://hdl.handle.net/123456789/1786 |
ISSN: | - |
Appears in Collections: | การประชุมวิชาการระดับชาติ "การเรียนรู้ด้านมนุษยศาสตร์และด้านสังคมศาสตร์" ครั้งที่ 3
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|