Information Retrieval Systems of Research Institute at Saun Sunandha Rajabhat University >
ประชุมวิชาการระดับชาติ >
การประชุมวิชาการระดับชาติ "การเรียนรู้ด้านมนุษยศาสตร์และด้านสังคมศาสตร์" ครั้งที่ 3 >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://hdl.handle.net/123456789/1792
|
Title: | มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาต่อบุคคลวิกลจริต |
Authors: | พรหมพันธุ์, ปลิตา พิสิฐจินดา, ธนวัฒ |
Keywords: | บุคคลวิกลจริต อาชญากรรม การดำเนินคดี |
Issue Date: | 12-Dec-2019 |
Series/Report no.: | -;NACHSL-2019_O_32 |
Abstract: | บุคคลวิกลจริต หมายถึง บุคคลที่มีสภาพจิตใจไม่ปกติสมองพิการ หรือเสียสติพูดจาไม่รู้เรื่องซึ่งความบกพร่องทางจิตที่จะถือว่าวิกลจริตต้องเกิดขึ้นจริงอย่างถาวรโดยสภาพไม่ใช่พียงครั้งคราว เช่น เกิดเพราะ การเสพยาเสพติด พิษไข้ หรือยา เป็นต้น ปัญหาอาชญากรรม ซึ่งเกิดขึ้นจากการกระทำโดยบุคคลวิกลจริตนั้นมีอย่างต่อเนื่องและบุคคลจำนวนไม่น้อยที่ได้รับผลร้ายจากการกระทำของบุคคลดังกล่าวและไม่สามารถร้องขอให้รับผิดได้ ด้วยเหตุนี้ในทางอาญาจึงกำหนดความผิดและโทษแตกต่างจากคนธรรมดาซึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 65 เป็นการกล่าวถึงการกระทำความผิดของบุคคลวิกลจริตโดยพิจารณาจากการกระทำของผู้ที่กระทำความผิดว่าขณะกระทำนั้นสามารถรู้ผิดชอบหรือสามารถบังคับตนเองได้หรือไม่เพียงใด และในชั้นสอบสวนหากบุคคลวิกลจริตไม่สามารถต่อสู้คดีได้ ก็ต้องงดการดำเนินคดีจนกว่าบุคคลนั้นจะหายดี หรือสามารถต่อสู้คดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 14
ผลการวิจัยพบว่า การดำเนินคดีอาญาต่อบุคคลวิกลจริตมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นความผิด แต่ได้รับการยกเว้นโทษจากความผิดดังกล่าว ซึ่งผู้กระทำความผิดจะต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าในขณะที่ตนกระทำความผิดนั้นตนไม่สามารถบังคับตนเองได้ นอกจากนี้ ยังมีมาตรการที่ควบคุมหรือจับบุคคลวิกลจริตมาบำบัดรักษาเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้บุคคลดังกล่าวก่อเหตุร้ายในสังคมตามพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ.2551 |
Description: | - |
URI: | http://hdl.handle.net/123456789/1792 |
ISSN: | - |
Appears in Collections: | การประชุมวิชาการระดับชาติ "การเรียนรู้ด้านมนุษยศาสตร์และด้านสังคมศาสตร์" ครั้งที่ 3
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|