Information Retrieval Systems of Research Institute at Saun Sunandha Rajabhat University >
ประชุมวิชาการระดับชาติ >
การประชุมวิชาการระดับชาติ "การเรียนรู้ด้านมนุษยศาสตร์และด้านสังคมศาสตร์" ครั้งที่ 3 >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://hdl.handle.net/123456789/1865
|
Title: | แรงจูงใจและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทย : แหล่งศึกษาและท่องเที่ยว เชิงประวัติศาสตร์โฮจิมินห์ จังหวัดอุดรธานี |
Authors: | มะโยธี, สุมินตรา กุลชาติธีรธรรม, กันต์กนิษฐ์ |
Keywords: | แรงจูงใจ พฤติกรรมของนักท่องเที่ยว แหล่งประวัติศาสตร์โฮจิมินห์ |
Issue Date: | 12-Dec-2019 |
Series/Report no.: | -;NACHSL-2019_O_111 |
Abstract: | การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแรงจูงใจและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวในการตัดสินใจมาท่องเที่ยวยังแหล่งศึกษาและท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์โฮจิมินห์ จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างวิจัยที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในแหล่งศึกษาและท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์โฮจิมินห์ จังหวัดอุดรธานี รวมทั้งหมด 400 คน โดยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบสุ่มแบบบังเอิญ (Accidental sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า นักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาแหล่งศึกษาและท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์โฮจิมินห์ จังหวัดอุดรธานี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง โดยมีอายุอยู่ในช่วง 20 – 30 ปี ศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี มีภูมิลำเนาอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบอาชีพเป็นนักเรียน/นักศึกษา และมีการรับรู้ข้อมูลข่าวสารผ่านทางอินเตอร์เน็ต พฤติกรรมการท่องเที่ยวที่ตัดสินใจเลือกเส้นทางท่องเที่ยว จะเดินทางมาวันธรรมดาเพื่อทัศนศึกษาและแสวงหาความรู้ ส่วนใหญ่จะเดินทางมาครั้งแรกและนิยมมาเป็นกลุ่ม มีค่าใช้จ่ายต่ำกว่า 500 บาท เมื่อศึกษาด้านแรงจูงใจภายในต่อสถานที่ท่องเที่ยวพบว่า นักท่องเที่ยวมีแรงจูงใจในระดับมาก เมื่อศึกษาแต่ละด้านพบว่า ด้านความต้องการเฉพาะเจาะจงด้านประวัติศาสตร์มากที่สุด รองลงมาคือ ด้านความคุ้มค่าในการมาท่องเที่ยว ด้านความต้องการประสบการณ์ใหม่ๆ ด้านความพร้อมในการเดินทางท่องเที่ยวตามลำดับ เมื่อศึกษาด้านแรงจูงใจภายนอกต่อสถานที่ท่องเที่ยวพบว่า นักท่องเที่ยวมีแรงจูงใจในระดับมาก เมื่อศึกษาแต่ละด้านพบว่า ด้านบุคลากรมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการประชาสัมพันธ์ ด้านความดึงดูดใจของแหล่งท่องเที่ยว ด้านความปลอดภัย ด้านความสามารถในการเข้าถึง ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ตามลำดับ |
Description: | - |
URI: | http://hdl.handle.net/123456789/1865 |
ISSN: | - |
Appears in Collections: | การประชุมวิชาการระดับชาติ "การเรียนรู้ด้านมนุษยศาสตร์และด้านสังคมศาสตร์" ครั้งที่ 3
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|