Information Retrieval Systems of Research Institute at Saun Sunandha Rajabhat University >
งานวิจัยปีงบประมาณ 2554 >
งานวิจัยภาษาอังกฤษ >
แหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2554 >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://hdl.handle.net/123456789/278
|
Title: | ความผูกพันของครอบครัวทหารต่อชุมชนยานเกราะ เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร |
Authors: | ขันติกุล, ภูสิทธ์ โภชฌงค์, กณิกนันท์ |
Keywords: | ความผูกพันของครอบครัวทหาร เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร |
Issue Date: | 20-Jun-2015 |
Publisher: | สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
Series/Report no.: | งานวิจัยปี 2554; |
Abstract: | การวิจัยในครั้งนี้กาหนดวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชน ความพึงพอใจต่อชุมชน และความผูกพันต่อชุมชน ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันของประชาชน และลักษณะความผูกพันของครอบครัวทหารชุมชนยานเกราะ เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยใช้เทคนิคการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็น (Non-Probability sampling) ด้วยวิธีการสุ่มแบบโควต้า (Quota Sampling) ตามอายุ โดนกาหนดอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปและตามครอบครัวละ 1 กลุ่มตัวอย่างด้วยแบบสอบถาม จานวน 287 คน และวิธีการสุ่มแบบบอกต่อ (Snowball Sampling) ด้วยการสัมภาษณ์โดยเริ่มจากผู้นาชุมชนยานเกราะแล้วผู้รู้ที่ประชาชนในชุมชนเคารพนับถือ จานวน 20 คน และทาการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Independent - Samples T test (T-test), One-Way ANOVA (F-test), Chi-Square และวิเคราะห์เชิงพรรณาตามโครงสร้างเนื้อหาแบบสัมภาษณ์ พบผลการศึกษาคือ ประชาชนในชุมชนยานเกราะ มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชนโดยภาพรวมอยู่ระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยมากที่สุดในการมีส่วนร่วมกิจกรรมวันแม่ และวันพ่อ ส่วนความพึงพอใจของประชาชนต่อพื้นที่ชุมชนยานเกราะ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ทั้งนี้ประชาชนมีความพึงพอใจโดยมีค่าเฉลี่ยมากที่สุดในเรื่องการคมนาคม (เดินทาง)ภายในชุมชนหรือการติดต่อกับคนภายนอกชุมชน และการเข้าถึงชุมชนมีความสะดวกสามารถเข้าได้หลายช่องทาง ส่วนความผูกพันของประชาชนต่อชุมชนยานเกราะทั้งภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับสูง โดยประชาชนมีความรู้สึกว่าชุมชนเป็นบ้านมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันของประชาชนในชุมชนยานเกราะ ได้แก่ อายุ สถานภาพ อาชีพ รายได้ต่อเดือน ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในชุมชน การเป็นสมาชิกกลุ่มทางสังคม การมีเพื่อนบ้านที่สนิทสนมคุ้นเคยกันภายในชุมชน และผลประโยชน์ที่ได้รับจากชุมชน ทั้งนี้ยังพบว่า ประชาชนที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความผูกพันของประชาชนต่อชุมชนยานเกราะอยู่ในระดับสูง และความพึงพอใจต่อชุมชนมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความผูกพันของประชาชนต่อชุมชนยานเกราะอยู่ในระดับสูงมาก ส่วนลักษณะความผูกพันของครอบครัวทหารในชุมชนยานเกราะจะมีลักษณะเป็นบ้านหลังใหญ่ที่ทุกคนต้องดูแล ปกป้อง ทั้งหัวหน้าครอบครัวและคนในครอบครัวจะรักชุมชนที่ตนอาศัยอยู่มาก และลักษณะที่เป็นการแสดงพฤติกรรมในการมีส่วนร่วมของกิจกรรมต่าง ๆ ในชุมชนและความ
(2)
พึงพอใจต่อพื้นที่ของชุมชนสูงจะทาให้ประชาชนยิ่งผูกพันต่อชุมชนสูงโดยจะพบว่าคนในชุมชนมีความรู้สึกว่าทุกคนในชุมชนเป็นเพื่อนบ้านที่สนิทนสนมกันไป เป็นเหมือนครอบครัวเดียวกัน |
Description: | งานวิจัยงบประมาณรายได้มหาวิทยาลัย ปีงบประมาณ 2554 มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา |
URI: | http://hdl.handle.net/123456789/278 |
ISSN: | มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
Appears in Collections: | แหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2554
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|