Information Retrieval Systems of Research Institute at Saun Sunandha Rajabhat University >
งานวิจัยปีงบประมาณ 2560 >
งานวิจัยภาษาไทย >
แหล่งทุนภายนอก ปีงบประมาณ 2560 >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://hdl.handle.net/123456789/497
|
Title: | การจัดการห่วงโซ่อุปทานของสินค้าเกษตรกล้วยไม้ในอาเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม |
Authors: | พิมลรัตนกานต์, สุดารัตน์ |
Keywords: | การจัดการห่วงโซ่อุปทาน / กล้วยไม้ |
Issue Date: | 18-Sep-2018 |
Series/Report no.: | งานวิจัย 2560; |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ค้นหาลักษณะการจัดการห่วงโซ่อุปทานของกล้วยไม้ ใน
อาเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 2) เพื่อสร้างรูปแบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานของกล้วยไม้ ใน
อาเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 3) เพื่อนารูปแบบการจัดการห่วงโซ่อุปทาน ถ่ายทอดไปสู่การ
ปฏิบัติในการจัดการห่วงโซ่อุปทานของกล้วยไม้ในอาเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้
ในการวิจัยคือเกษตรกรที่ปลูกกล้วยไม้ ที่อาศัยอยู่ในอาเภอพุทธมณฑลจังหวัดนครปฐม จานวน 52
ราย โดยใช้แบบสอบถาม โดยอาศัยระเบียบวิธีวิจัย 2 วิธี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและวิจัยเชิงคุณภาพ
เป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน
จากการศึกษาผลวิจัยพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุ 41-50 ปี มีประสบการณ์
ในการทาเกษตรกล้วยไม้ 11-20 ปี มีเนื้อที่ในการเพาะปลูก มากกว่า 10 ไร่ และมีรายได้เฉลี่ยต่อปี
ของเกษตรกร มากกกว่า 500,001 บาท การศึกษาการค้นหาลักษณะการจัดการห่วงโซ่อุปทานของ
กล้วยไม้ ในอาเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม พบว่า ด้านกระบวนการผลิต ชนิดของกล้วยไม้ที่ปลูก
เป็นประเภทหวาย ลักษณะโรงเรือนที่ใช้เพาะปลูกเป็นแบบมาตรฐาน วิธีการขยายพันธ์ใช้วิธีการ
เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ วัสดุที่ปลูกใช้กาบมะพร้าวเรือใบอัดแท่งหรือกระบะกาบมะพร้าว แหล่งน้าที่ใช้เป็น
น้าบ่อหรือน้าคลอง วิธีการป้องกันและกาจัดศัตรูพืชใช้แรงงานคน ลักษณะการจ้างแรงงานเป็นการจ้าง
ทั้ง 2 แบบ คือแบบแรงงานประจาและแบบแรงงานชั่วคราว ด้านการจัดเก็บผลผลิต ระยะเวลาที่เริ่ม
ตัดดอกหลังจากการปลูกใช้เวลาน้อยกว่า 7 เดือน ช่วงเวลาที่ตัดดอกเป็นช่วงบ่าย ความถี่ในการตัด
ดอกน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ วิธีปฏิบัติหลังการตัดดอกใช้วิธีการพรมน้า ปริมาณผลผลิตเฉลี่ยน้อย
กว่า 6 ช่อ/ต้น/ปี ด้านการขนส่ง ช่องทางการขายโดยใช้วิธีบริษัทส่งออก สถานที่ขายโดยการส่งออก
ต่างประเทศและร้านค้า คุณภาพของดอกที่ขายใช้ทั้ง 2 แบบ โดยการคัดเกรดและไม่คัดเกรด ลักษณะ
การขายดอกกล้วยไม้จะขายเป็นช่อ ผู้กาหนดราคาและเกณฑ์ในการกาหนดราคาเป็นการกาหนดตาม
ราคาตลาด การชาระเงินหลังการขายเป็นทั้ง 2 แบบ คือเงินสดและเงินเชื่อ วิธีการขนส่งโดยการขนส่ง
ด้วยตนเอง แหล่งความรู้ด้านการตลาดเป็นการศึกษาด้วยตนเอง ด้านวิธีการควบคุมการผลิตโดยเพิ่ม
การใส่ปุ๋ย โดยมีการลดต้นทุนการผลิตโดยขยายพันธุ์ด้วยตนเอง และการสร้างรูปแบบการจัดการห่วง
โซ่อุปทานของกล้วยไม้ ในอาเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม พบว่า ความคิดเห็นของเกษตรกรใน
ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านการวางแผน โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ
3.96 ด้านการขนส่ง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.82 ด้านการผลิต โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.72 ด้านการ
(2)
ส่งคืน โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.72 ด้านการส่งคืน โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.72 และด้านการจัดซื้อ
จัดหา โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.66
สาหรับวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์แบบเชิงลึกกับกลุ่มตัวอย่างเกษตรกรซึ่งตั้งอยู่ในเขต
อาเภอพุทธมณฑล จานวน 52 ราย ทั้งนี้รูปแบบการบริหารจัดการโซ่อุปทานสินค้าเกษตรกรโดยส่วน
ใหญ่เห็นสมควรนาเป็นข้อมูลในการกาหนดรูปแบบและนาไปใช้ประโยชน์ต่อเกษตรกร ชุมชน
ผู้ประกอบการส่งออกกล้วยไม้ตามประเด็นการบริหารจัดการโซ่อุปทานสินค้าเกษตรกล้วยไม้ พบว่า
รูปแบบการจัดการโซ่อุปทานสินค้าเกษตรกล้วยไม้ ตามความเหมาะสมของขนาดเกษตรกร ซึ่งเป็นการ
ส่งเสริมรูปแบบการบริหารโซ่อุปทานสินค้าเกษตรกล้วยไม้ โดยมีส่วนร่วมของชุมชนซึ่งจะก่อให้เกิดการ
ร่วมคิด การแก้ปัญหาและการระดมทรัพยากร ซึ่งเป็นวิธีการที่สาคัญที่ทาให้ธุรกิจในชุมชนอาเภอพุทธ
มณฑล ประสบความสาเร็จสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน อีกทั้งยังเป็นแนวทางให้เกษตรกร
สามารถพัฒนาได้ตามสถานการณ์ของสภาพแวดล้อมภายนอกของการแข่งขันทางธุรกิจ โดยมีการนา
รูปแบบการจัดการโซ่อุปทานสินค้าเกษตรกล้วยไม้ที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ใน
กระบวนการ ซึ่งส่งผลให้ต่อการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโซ่อุปทานสินค้าเกษตรกล้วยไม้ |
Description: | งานวิจัยงบประมาณรายได้แผ่นดิน ปีงบประมาณ 2560 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
URI: | http://hdl.handle.net/123456789/497 |
ISSN: | มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
Appears in Collections: | แหล่งทุนภายนอก ปีงบประมาณ 2560
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|