DSpace About DSpace Software
 

Information Retrieval Systems of Research Institute at Saun Sunandha Rajabhat University >
งานวิจัยปีงบประมาณ 2559 >
ภาษาไทย >
แหล่งทุนภายนอก ปีงบประมาณ 2559 >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/766

Title: การออกแบบระบบป้ายสัญลักษณ์ เพื่อช่วยในการหาทาง ภายใต้แผนงานวิจัย แนวคิดการออกแบบโรงพยาบาล ที่สอดคล้องกับพฤติกรรมและประสิทธิภาพการรักษา: กรณีศึกษา พื้นที่พักคอยและห้องพักผู้ป่วย สาหรับผู้รับบริการ โรงพยาบาล
Authors: ครูเกษตร, ปรีชญา
Issue Date: 2-Oct-2018
Series/Report no.: งานวิจัยปี 2559;
Abstract: การศึกษาหาแนวทางเพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการออกแบบมีความจาเป็นอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากการออกแบบสภาพแวดล้อม และองค์ประกอบภายในโรงพยาบาล มีการใช้สอยพื้นที่หลายหลาย และมีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก อีกทั้งยังขาดความละเอียดและชัดเจนในการให้ข้อมูลต่อผู้เข้ามาใช้ บริการภายในโรงพยาบาลที่มีความหลากหลายทางด้านเพศ ความรู้ และปัญหาทางด้านสายตา ดังนั้น การศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการประเภทต่างๆ และปัจจัยในสัญลักษณ์กราฟิกที่มีผลต่อการรับรู้ และเข้าใจต่อสัญลักษณ์ที่นามาใช้ในสภาพแวดล้อม ตามแผนงานวิจัยเรื่องแนวคิดการออกแบบ โรงพยาบาล ที่สอดคล้องกับพฤติกรรมและประสิทธิภาพการรักษา โดยการทดสอบระดับขีดความสามารถ ในการมองเห็นและเข้าใจ การรับรู้และความเข้าใจประโยชน์ใช้สอย ความซับซ้อนที่สามารถเข้าถึงได้ เพื่อ เสนอแนะแนวทางการออกแบบระบบป้ายสัญลักษณ์ เพื่อช่วยในการหาทางสาหรับผู้ใช้บริการภายใน โรงพยาบาล สามารถตอบสนองการใช้งานได้อย่างสมบูรณ์แบบ และเพื่อเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง ในการวิจัยครั้งนี้ได้กลุ่มตัวอย่างเป็นประเภทกลุ่มบุคคล โดยมุ่งเน้นศึกษาความต้องการที่แท้จริง ของผู้ใช้บริการโรงพยาบาล การกาหนดกลุ่มตัวอย่างประเภทกลุ่มบุคคลในการวิจัย จึงเป็นกลุ่มผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย หรือผู้ที่มาติดต่อกับโรงพยาบาล และในส่วนนี้เนื่องจากข้อสมมุติฐานของผู้วิจัยที่ว่าทุกคนย่อม มีโอกาสที่จะเจ็บป่วยและเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล จึงทาการเก็บข้อมูลจากผู้ใช้บริการโรงพยาบาล พระนครศรีอยุธยา จานวน 100 คน เนื่องจากโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยาเป็นโรงพยาบาลที่ยินดีให้ ความร่วมมือในการสนับสนุนต่อการวิจัยเป็นอย่างดี และยังเป็นกรณีศึกษาในการวิจัยครั้งนี้ โดยการเลือก กลุ่มตัวอย่างแบบไม่เป็นไปตามโอกาสทางสถิติ (Non probability sample) ตัวอย่างประชากรแบบ เจาะจง (Purposive sampling) จากสถานที่ข้างต้น และทาการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) เพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่างที่กระจายอยู่ในพื้นที่ที่ทาการศึกษา โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างที่เป็น ผู้รับบริการของโรงพยาบาลต่อไปให้ครบตามจานวนที่ต้องการ ณ จุดที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการศึกษาพบว่าการออกแบบระบบป้ายภายในสภาพแวดล้อมทางกายภาพของโรงพยาบาล ที่ สามารถช่วยในการหาทาง ควรจะต้องคานึงถึงปัจจัยที่สาคัญเกี่ยวกับปัจจัยด้านความแตกต่างของผู้ใช้งาน ในทุกประเด็น เนื่องจากโรงพยาบาลมีจานวนผู้มาใช้บริการเป็นจานวนมาก และมีความหลายหลาย ทั้ง เพศ อายุ และระดับการศึกษา อีกทั้งยังมีหน่วยงานภายในโรงพยาบาลที่แยกออกเป็นแต่ละแผนกเป็น จานวนมาก อาจทาให้ยากต่อการหาทางภายในโรงพยาบาล ซึ่งสิ่งสาคัญในการออกแบบระบบป้ายภายใน สภาพแวดล้อมทางกายภาพของโรงพยาบาลนั้นควรตอบสนองต่อการกาหนดทิศทางของผู้ใช้บริการ ที่มา ใช้บริการเป็นครั้งแรกที่เป็นรูปแบบแบบบูรณาการ ที่ไม่พึ่งพาเครื่องมือในการบอกทิศทางเพียงอย่างเดียว II แต่ควรเน้นให้เกิดการใช้งานร่วมกัน เช่น จุดสังเกตทั้งภายในและภายนอกอาคาร ป้ายต่างๆ สัญลักษณ์ สี การบอกทิศทางด้วยคาพูด หรือรูปภาพ แผนที่ เป็นต้น สัญลักษณ์และภาพควรเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้งานง่าย ที่สุด ใช้สัญลักษณ์ที่ชัดเจน สื่อความหมาย ตีความได้เข้าใจตรงกัน ภาพที่ใช้ช่วยสนับสนุนข้อความ หรือ ช่วยในการสื่อสารด้วยคาพูด ขนาดต้องเห็นได้ชัดเจน สามารถให้ข้อมูลเมื่อหยุดอ่าน เดินผ่าน หรือเมื่อขับ รถผ่าน ได้อย่างเหมาะสม และต้องคานึงถึงผู้พิการทางสายตาด้วย
Description: งานวิจัยงบประมาณแผ่นดิน ปีงบประมาณ 2559 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
URI: http://hdl.handle.net/123456789/766
Appears in Collections:แหล่งทุนภายนอก ปีงบประมาณ 2559

Files in This Item:

File Description SizeFormat
0.ปก.PDFปก117.75 kBAdobe PDFView/Open
1.บทคัดย่อ.PDFบทคัดย่อ88.59 kBAdobe PDFView/Open
3.กิตติกรรมประกาศ.PDFกิติกรรมประกาศ106.93 kBAdobe PDFView/Open
4.บทนำ.pdfบทนำ82.51 kBAdobe PDFView/Open
5.บทที่2.pdfบทที่2527.47 kBAdobe PDFView/Open
6.บทที่3.pdfบทที่3166.33 kBAdobe PDFView/Open
7.บทที่4.pdfบทที่41.7 MBAdobe PDFView/Open
8.บทที่5.pdfบทที่5246.52 kBAdobe PDFView/Open
9.บรรณานุกรม.pdfบรรณานุกรม88.73 kBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

Valid XHTML 1.0! DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback