DSpace About DSpace Software
 

Information Retrieval Systems of Research Institute at Saun Sunandha Rajabhat University >
งานวิจัยปีงบประมาณ 2559 >
ภาษาไทย >
แหล่งทุนภายนอก ปีงบประมาณ 2559 >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/852

Title: ความหลากชนิดของนก ในเสนทางศึกษาธรรมชาติ พื้นที่อุทยานธรรมชาติวิทยา ตามพระราชดําริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อําเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี
Authors: เจริญโภคราช, ผู้ช่วยศาสตราจารย์นิธินาถ
จิตมั่น, เพชรพนม
Keywords: ความหลากชนิดของนก / เส้นทางศึกษาธรรมชาติ/ อุทยานธรรมชาติวิทยาฯ
Issue Date: 4-Oct-2018
Series/Report no.: งานวิจัยปี 2559;
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสํารวจ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนิดนก อุปนิสัยการหากิน สถานภาพของนก ปริมาณความชุกชุม ความคล้ายคลึงของนกและลักษณะกิจกรรมของนกที่เข้ามาใช้ ประโยชน์ในเส้นทางศึกษาธรรมชาติ และใช้เป็นฐานข้อมูลชนิดนก ในการจัดทําสื่อการเรียนรู้ที่นํามาใช้ ประโยชน์ด้านแหล่งเรียนรู้และส่งเสริมกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ในเส้นทางศึกษาธรรมชาติ การวิจัยครั้งนี้ ใช้การเก็บรวบรวมด้วยการสํารวจภาคสนามเกี่ยวกับชนิดนก และลักษณะกิจกรรมที่นกเข้าไปใช้ประโยชน์ใน เส้นทางศึกษาธรรมชาติจํานวน 3 เส้นทาง คือ เส้นทางที่ 1 ศาลาข้อมูลธรรมชาติวิทยา - สวนสมุนไพร เส้นทางที่ 2 สวนสมุนไพร - น้ําตกเก้าชั้น และเส้นทางที่ 3 บริเวณโดยรอบสํานักงานโครงการอุทยาน ธรรมชาติวิทยาฯ โดยทําการสํารวจตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2558 - เดือนกรกฎาคม 2559 เดือนละ ๒ ครั้ง และ วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาปริมาณความชุกชุม และความคล้ายคลึงของนก ผลการศึกษาจากการสํารวจชนิดนกทั้ง 3 เส้นทาง พบนกจํานวน 14 อันดับ 45 วงศ์ 110 ชนิด โดยโดยในเส้นทางที่ 1 พบนกจํานวน 92 ชนิด เส้นทางที่ 2 พบนกจํานวน 50 ชนิด และเส้นทางที่ 3 พบนกจํานวน 88 ชนิด ด้านอุปนิสัยการหากิน พบนกใน กลุ่มนกกินผลไม้เป็นหลัก 11 ชนิด กลุ่มนกกินเมล็ดพืชเป็นหลัก 8 ชนิด กลุ่มนกกินน้ําหวานจากดอกไม่เป็น หลัก 7 ชนิด กลุ่มนกกินแมลงเป็นหลัก 66 ชนิด กลุ่มนกกินลูกปลา กุ้งตัวเล็กเป็นหลัก 12 ชนิด กลุ่มนกกิน สัตว์บกขนาดเล็กเป็นหลัก 4 ชนิด และกลุ่มนกกินทั้งพืชและสัตว์เป็นหลัก 2 ชนิด ด้านสถานภาพของนก พบ นกประจําถิ่น 80ชนิด นกประจําถิ่นและนกอพยพ 17ชนิด และนกอพยพ 13ชนิด ส่วนด้านปริมาณความชุกชุม นกที่ถูกจัดอยู่ในระดับความชุกชุมระดับ 5 มี 12 ชนิด คิดเป็นร้อยละ 10.91 ของชนิดนกที่พบทั้งหมด ด้าน ลักษณะกิจกรรมของนกที่เข้ามาใช้ประโยชน์ในพื้นที่ศึกษา ได้แก่ การหาอาหาร การทํารังวางไข่และการเลี้ยง ลูก ดังนั้น จึงประชาชนในพื้นที่จึงควรร่วมมือกันรักษาฐานข้อมูลความหลากชนิดของนกในพื้นที่ศึกษา เพื่อใช้ เป็นแหล่งเรียนรู้และส่งเสริมกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เนื่องจากนกเป็นตัวชี้วัดความสมดุลธรรมชาติและ ความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งอาหารในระบบนิเวศ
Description: งานวิจัยงบประมาณแผ่นดิน ปีงบประมาณ 2559 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
URI: http://hdl.handle.net/123456789/852
Appears in Collections:แหล่งทุนภายนอก ปีงบประมาณ 2559

Files in This Item:

File Description SizeFormat
ird_057_59.pdfปก94.9 kBAdobe PDFView/Open
ird_057_59 (1).pdfบทคัดย่อ61.04 kBAdobe PDFView/Open
ird_057_59 (2).pdfAbstract46.61 kBAdobe PDFView/Open
ird_057_59 (3).pdfกิตติกรรมประกาศ58.06 kBAdobe PDFView/Open
ird_057_59 (4).pdfบทที่1117.1 kBAdobe PDFView/Open
ird_057_59 (5).pdfบทที่2199.08 kBAdobe PDFView/Open
ird_057_59 (6).pdfบทที่3102.62 kBAdobe PDFView/Open
ird_057_59 (7).pdfบทที่412.98 MBAdobe PDFView/Open
ird_057_59 (8).pdfบทที่5136.04 kBAdobe PDFView/Open
ird_057_59 (9).pdfบรรณานุกรม94.19 kBAdobe PDFView/Open
ird_057_59 (10).pdfภาคผนวก469.75 kBAdobe PDFView/Open
ird_057_59 (11).pdfประวัตินักวิจัย111.42 kBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

Valid XHTML 1.0! DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback