Information Retrieval Systems of Research Institute at Saun Sunandha Rajabhat University >
งานวิจัยปีงบประมาณ 2559 >
ภาษาไทย >
แหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2559 >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://hdl.handle.net/123456789/887
|
Title: | การตลาดธุรกิจบริการอาหารกับแนวทางการพัฒนาเพื่อการสื่อสาร สู่ประชาคมอาเซียน |
Authors: | วรสีหะ, เอกณรงค์ |
Keywords: | ธุรกิจบริการอาหาร พนักงานบริการ ประชาคมอาเซียน |
Issue Date: | 5-Oct-2018 |
Series/Report no.: | งานวิจัยปี2559; |
Abstract: | การวิจัยเรื่อง “พัฒนาวิธีการสื่อสารทางการตลาดของธุรกิจบริการอาหาร” เป็นการวิจัย
เชิงสารวจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับธุรกิจบริการอาหาร
ของประชาชน ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการร้านอาหาร และความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อการ
ให้บริการของพนักงานบริการ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาวิธีการสื่อสารทางการตลาดของธุรกิจ
บริการอาหาร โดยประชากรในการศึกษาครั้งนี้คือประชาชนทั่วไป ที่อาศัยอยู่ ชุมชนพื้นที่ ตาบล
มหาชัย ท้องถิ่นเทศบาลนครสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ลักษณะทางประชากรศาสตร์ของประชาชนที่ใช้เป็นตัวอย่างใน
การศึกษา ตัวอย่างประชาชนที่ใช้ในการศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 18 – 22 ปี มี
สถานภาพโสด มีระดับการศึกษาสูงสุดอยู่ในระดับ ปวช/ปวส/ปวท/อนุปริญญา โดยมีรายได้ครอบครัว
ต่อเดือนมากกว่า 20,000 บาทขึ้นไป ส่วนใหญ่มีรายได้เพียงพอ และรูปแบบของธุรกิจบริการด้าน
อาหาร ส่วนใหญ่ใช้บริการร้านอาหารฟาสฟู้ด (Fast Food) ร้านอาหารเต็มรูปแบบในบรรยากาศ
สบายๆ (Casual Dining) และบุฟเฟ่ต์ (Buffet) ตามลาดับ
การเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับธุรกิจบริการอาหารของประชาชน พบว่า สื่อที่ประชาชน
การเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับธุรกิจบริการอาหารของประชาชนมากที่สุดได้แก่ สื่อโทรทัศน์ สื่อ
บุคคลในครอบครัว/ญาติ และ สื่อสิ่งพิมพ์
ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการร้านอาหาร พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการ
ร้านอาหาร ด้านผลิตภัณฑ์ ประชาชนส่วนใหญ่ให้ความสาคัญกับรสชาติของอาหาร การมีเมนูให้เลือก
หลากหลายชนิด และ ความสะอาดของอาหาร ด้านราคา ประชาชนส่วนใหญ่ ให้ความสาคัญกับราคา
เหมาะสมกับคุณภาพและปริมาณ กับการมีป้ายราคาบอกชัดเจน ด้านช่องทางการจัดจาหน่าย
ประชาชนส่วนใหญ่ให้ความสาคัญกับช่วง เวลาเปิดปิดเหมาะสมที่จะใช้บริการ และความสะอาด
ภายในร้าน ด้านการส่งเสริมการขาย ประชาชนส่วนใหญ่ให้ความสาคัญกับการมีการทดลองให้ชิมฟรี
สาหรับเมนูใหม่ๆ และมีการจัดทาบัตรสมาชิก ด้านการบริการ ประชาชนที่ใช้ในการศึกษาส่วนใหญ่ให้
ความสาคัญกับซื้อง่าย สะดวกสบาย และการบริการรวดเร็ว ด้านสถานที่ ประชาชนส่วนใหญ่ให้
ความสาคัญกับ การตกแต่งร้านได้บรรยากาศ และบริเวณร้านสะอาด
ความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อการให้บริการของพนักงานบริการ พบว่า ประชาชน ให้ความ
สาคัยกับการให้บริการด้วยความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ พนักงานบริการมีไมตรีจิตที่ดี การยิ้มแย้ม
แจ่มใส อารมณ์ดี และ พนักงานบริการให้ความสนใจต่อลูกค้า |
Description: | งานวิจัยงบประมาณรายได้มหาวิทยาลัย ปีงบระมาณ 2559 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
URI: | http://hdl.handle.net/123456789/887 |
Appears in Collections: | แหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2559
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|