Information Retrieval Systems of Research Institute at Saun Sunandha Rajabhat University >
งานวิจัยปีงบประมาณ 2560 >
งานวิจัยภาษาไทย >
แหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2560 >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://hdl.handle.net/123456789/996
|
Title: | Development of Lime Powder in use for Spray-Drying Technology การพัฒนามะนาวผงโดยใช้เทคโนโลยีการทาแห้งแบบพ่นกระจาย |
Authors: | Chuacharoen, Thanida Wongwiwat, Piyada |
Issue Date: | 22-Nov-2018 |
Series/Report no.: | งานวิจัยปี 2560; |
Abstract: | งานวิจัยนี้ได้พัฒนากระบวนการผลิตมะนาวผงโดยการเติมสารมอลโทเดกตริน และกรัมอาราบิค อัตราส่วน 4 ต่อ 1 ในปริมาณ 20% ของของแข็งทั้งหมด การปั่นด้วยความเร็วสูงถูกนามาใช้เพื่อการห่อหุ้มสารสาคัญของมะนาว เพื่อป้องกันสารเหล่านี้ถูกทาลายจากความร้อน ก่อนการทาแห้งโดยวิธีการพ่นฝอย งานวิจัยนี้ศึกษาอิทธิพลของการปั่นด้วยความเร็วสูงต่อการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ ขนาดอนุภาคผง, รูปร่าง, ปริมาณความชื้น, สี, ค่าการละลาย, ค่าการดูดน้ากลับ,ปริมาณสารสาคัญที่คงเหลืออยู่ และฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระของมะนาวผง โดยเปรียบเทียบกับมะนาวผงที่ไม่ผ่านการปั่น ผลการศึกษาพบว่าปริมาณมะนาวผงที่ผ่านการปั่นและนาไปทาแห้งแบบพ่นฝอยให้ปริมาณผงหลังการทาแห้ง (85%) มากกว่าผงมะนาวที่ไม่ปั่น (76%) ขนาดอนุภาคของมะนาวผงแบบปั่นและไม่ปั่น มีขนาด 0.1-4 ไมโครเมตร และ 18-26 ไมโครเมตร ตามลาดับ รูปร่างของผงมะนาวแบบไม่ผ่านการปั่นมีขนาดอนุภาคใหญ่และเกาะกันเป็นร่างแหเมื่อเทียบกับมะนาวผงที่นาไปปั่นด้วยความเร็วสูงก่อนทาแห้ง ค่าความชื้นอยู่ในระหว่าง 3.91% และ 5.42%. ค่าการละลาย การดูดน้ากลับ และการเปลี่ยนแปลงสีของมะนาวผง พบว่าในมะนาวผงที่ผ่านการปั่นจะให้ค่าเหล่านี้ดีกว่าตัวอย่างที่ไม่ผ่านการปั่น การวิเคราะห์ค่าปริมาณสารโพลิฟีนอลและสารฟลาโวนอยด์ใช้วิธี Folin-Ciocalteu และ aluminum trichloride (AlCl3) และฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระใช้วิธี 2,2-diphenyl picryl hydrazile (DPPH) พบว่าปริมาณวิตามินซี สารโพลิฟีนอลทั้งหมด สารฟลาโวนอยด์ และฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระของมะนาวผงที่ผ่านการปั่นมีค่ามากกว่าแบบที่ไม่ผ่านการปั่นอย่างมีนัยสาคัญ ยกเว้นค่าสารฟลาโวนอยด์ ซึ่งการเอนแคปซูเรตสารเหล่านี้ด้วยการปั่นความเร็วสูงก่อนการนาไปทาแห้งแบบพ่นฝอยสามารถป้องกันการถูกทาลายด้วยความร้อน ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงสรุปได้ว่าการเติมสารห่อหุ้มและนาไปปั่นด้วยความเร็วสูง สามารถป้องกันสารสาคัญต่างๆ ของมะนาวจากการเสื่อมเสียด้วยความร้อนเมื่อนาไปผ่านกระบวนการทาแห้งแบบพ่นฝอย |
Description: | งานวิจัยงบประมาณรายได้มหาวิทยาลัย ปีงบประมาณ 2560 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
URI: | http://hdl.handle.net/123456789/996 |
Appears in Collections: | แหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2560
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|