dc.contributor.author |
เกียรติกานนท์, กาญจนา |
|
dc.date.accessioned |
2018-12-03T07:54:04Z |
|
dc.date.available |
2018-12-03T07:54:04Z |
|
dc.date.issued |
2018-12-03 |
|
dc.identifier.uri |
http://hdl.handle.net/123456789/1104 |
|
dc.description |
งานวิจัยงบประมาณรายได้มหาวิทยาลัย ปีงบประมาณ 2561
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
th_TH |
dc.description.abstract |
การวิจัยในครั้งนี้ได้ศึกษาเกี่ยวกับ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ : กรณีศึกษา ชุมชนเขตบางแค เก็บรวบรวมข้อมูลกับมารดาตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์น้อยกว่า 28 สัปดาห์ โดยมีเกณฑ์การคัดเลือก คือ มารดาตั้งครรภ์ที่มีภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะความด้นโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูงขณะตั้งครรภ์ ภาวะโลหิตจาง ภาวะติดเชื้อซิฟิลิส ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี พาหะธาลัสซีเมีย โดยใช้วิธีสัมภาษณ์เชิงลึก ( In – depth Interviews ) จำนวน 10 คน เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตในขณะตั้งครรภ์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการดูแลตนเอง ปัจจัยที่มีผลในการส่งเสริมการดูแลตนเองในขณะตั้งครรภ์
ผลการวิจัยพบว่ามารดามีความสนใจและพร้อมจะปฏิบัติตนให้สมบูรณ์เพื่อให้ลูกที่เกิดมามีความแข็งแรง แต่อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยหลักที่มีส่วนส่งเสริมการดูแลตนเอง ซึ่งในด้านอาชีพและรายได้มีผลอย่างมากในการดูแลตนเอง มารดายังต้องประกอบอาชีพเพื่อดำรงชีพ แม้นว่าจะมีภาวะแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์ ในด้านพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ตามแนวคิดของเพนเดอร์ พบว่าปัจจัยด้านความสัมพันธ์ของครอบครัวส่งผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ในระดับสูง โดยเฉพาะด้านโภชนาการและในด้านความรับผิดชอบต่อร่างกาย บุคลากรทางการแพทย์เป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพ การให้ความรู้ในโรงเรียนพ่อแม่ จำเป็นต้องมีสถานที่ที่ส่งเสริมการเรียนรู้และมารดาควรจะรู้ข้อมูลของตนเองเช่นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นก่อนการเข้าโครงการเพื่อเป็นการส่งเสริมให้ตระหนักถึงการเรียนรู้ในการปฏิบัติตัวในเรื่องที่ตนเป็นอยู่ |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.relation.ispartofseries |
งานวิจัยปี 2561; |
|
dc.title |
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ : กรณีศึกษา ชุมชนเขตบางแค |
th_TH |
dc.type |
Article |
th_TH |