Title:
|
การจัดการเทคโนโลยีทรัพยากรสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ของกลุ่มชุมชน OTOP บนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง |
Author:
|
เมฆขำ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิทยา
|
Abstract:
|
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาขั้นตอนและวิธีการผลิตสบู่-แชมพูผสมสมุนไพรเพื่อสร้างเครื่องต้นแบบและออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับการจัดการผลิตของกลุ่มชุมชนOTOP บนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ผู้วิจัยแบ่งเครื่องมือออกเป็น 4 ขั้นตอน การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกมีแนวคาถามในการเข้าไปสัมภาษณ์ตามที่ได้ตั้งไว้ล้วงหน้าตรงตามวัตถุประสงค์ของการศึกษาซึ่งมีประเด็นในการสัมภาษณ์เกี่ยวกับประวัติชุมชน ขั้นตอน เทคนิค และสภาพปัญหาการผลิตแชมพู รวมถึงได้ใช้การสังเกตแบบมีส่วนร่วม โดยเลือกประชากรกลุ่มแม่บ้านที่ผลิตแชมพูสมุนไพรเชื่อมของชุมชนกรณีศึกษา: การผลิตแชมพูสมุนไพร ชุมชนดอนยี่หรมตาบลหนองจอก อาเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี เป็นกลุ่มตัวอย่างที่สามารถระบุจานวนได้ จานวนได้ 1 กลุ่มที่ได้รับใบรับรองจดทะเบียนร้านแชมพูสมุนไพรเป็นสินค้า OTOP และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในแบบสอบถามเป็นผู้ผลิตที่เป็นผู้ประกอบการ OTOP, กลุ่มชุมชน, SMEs จานวน 290 รายกลุ่มตัวอย่าง 165 ราย เนื้อหาแบ่งออกเป็น 9 ตอนได้แก่ ผลกระทบในในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์และตราสัญลักษณ์วิเคราะห์ปัจจัยผู้ผลิตที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของลูกค้าหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สารสนเทศ เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยในการทางาน ประสิทธิภาพของบรรจุภัณฑ์ที่มีอยู่ การใช้ทรัพยากรชีวภาพในชุมชนหรือภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นส่วนประกอบในการผลิตพัฒนาและสร้างเครื่องต้นแบบการดาเนินงานการสร้างต้นแบบออกแบบและสร้างตัวอย่างแบบบรรจุภัณฑ์และตราสัญลักษณ์ ลักษณะการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นแบบตรวจสอบรายการ (Check List) เลือกวิธีวิเคราะห์ข้อมูลความถี่ สรุปเป็นร้อยละ ข้อมูลแบบประมาณค่า (Ratio Scale) เลือกวิธีวิเคราะห์ข้อมูลเป็นค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลแบบปลายเปิด (Opened) เลือกวิธีสรุปความเรียง กลุ่มผู้วิจัยจึงได้ทาการพัฒนาทดลองการออกแบบเครื่องผสมสบู่ – แชมพูผสมสมุนไพรเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สบู่ – แชมพูผสมสมุนไพรและได้ทาการเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเครื่องผสมสบู่ – แชมพูผสมสมุนไพร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นการประชุมกลุ่มย่อยโดยการวิเคราะห์แนวทางในการแก้ปัญหาการบริหารจัดการออกแบบและสร้างตัวอย่างแบบบรรจุภัณฑ์และตราสัญลักษณ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้า OTOP ในจังหวัดเพชรบุรี โดยใช้วิธีการประชุมกลุ่มย่อยด้วยการนาเสนอให้กับตัวแทนกลุ่มผู้ผลิตสินค้า OTOP ผู้ผลิต ผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง 9 ท่าน ซึ่งมีการประเมินความเหมาะสมของบรรจุภัณฑ์และตราสัญลักษณ์และมีการกาหนดเกณฑ์ในการแปลความหมายข้อมูลแบบประมาณค่า(Rating Scale) เป็นค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า
การมุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ พบว่า มุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์เดิมเพื่อขยายกระบวนการผลิตงาน มีค่าคะแนนเฉลี่ย 3.99 อยู่ในระดับมาก การมุ่งเน้นการตลาดของผลิตภัณฑ์
(ข )
ใหม่ พบว่า ให้ความสาคัญหรือมีการประเมินผลการใช้ช่องทางการจาหน่าย มีค่าคะแนนเฉลี่ย 3.96 อยู่ในระดับมาก ลาดับสุดท้ายการสารวจและกาหนดกลุ่มเป้าหมายของตลาดมีค่าคะแนนเฉลี่ย 2.36 ซึ่งอยู่ในระดับน้อย ระดับของนวัตกรรมและเทคโนโลยีของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ พบว่าให้ความสาคัญในการนาแนวคิดทางเทคโนโลยีไปทดสอบกับลูกค้า มีค่าคะแนนเฉลี่ย 3.50 อยู่ในระดับมาก ลาดับสุดท้ายใช้สื่อหรือช่องทางในการประชาสัมพันธ์โดยใช้เทคโนโลยี มีค่าคะแนนเฉลี่ย 1.21 ซึ่งอยู่ในระดับน้อยที่สุดวิเคราะห์ปัจจัยผู้ผลิตที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของลูกค้า ด้านผลิตภัณฑ์ พบว่า ความสวยงามของบรรจุภัณฑ์และตราสัญลักษณ์ มีค่าคะแนนเฉลี่ย 3.99 อยู่ในระดับมาก ลาดับสุดท้ายรูปร่าง รูปทรง สี ของผลิตภัณฑ์ มีค่าคะแนนเฉลี่ย 1.06 ซึ่งอยู่ในระดับน้อยที่สุด ด้านราคา พบว่า ราคาของผลิตภัณฑ์ใกล้เคียงกับคู่แข่ง มีค่าคะแนนเฉลี่ย 2.72 อยู่ในระดับปานกลางลาดับสุดท้ายการให้ข้อมูลราคาของสินค้า มีค่าคะแนนเฉลี่ย 2.19 ซึ่งอยู่ในระดับน้อย ด้านการจัดจาหน่าย พบว่า สถานที่จาหน่ายสะอาด และปลอดภัย มีค่าคะแนนเฉลี่ย 4.37 อยู่ในระดับมากลาดับสุดท้ายการใช้สารสนเทศในการจัดจาหน่ายมีค่าคะแนนเฉลี่ย 2.54 ซึ่งอยู่ในระดับน้อย ด้านช่องทางการตลาด พบว่า มีส่วนลด แจก และแถม มีค่าคะแนนเฉลี่ย 3.83 อยู่ในระดับมาก ลาดับสุดท้ายการออกบูธและนิทรรศการ มีค่าคะแนนเฉลี่ย 1.18 ซึ่งอยู่ในระดับน้อยที่สุด
หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงพบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย มีค่าคะแนนเฉลี่ย 2.01 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าชุมชนมีการปลูกต้นไม้ให้ร่มรื่น มีค่าคะแนนเฉลี่ย 4.10 อยู่ในระดับมาก รองลงมาชุมชนมีการสืบทอดใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีค่าคะแนนเฉลี่ย 3.99 อยู่ในระดับมาก ลาดับสุดท้ายความรู้ความเข้าใจด้านปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีค่าคะแนนเฉลี่ย 1.30 ซึ่งอยู่ในระดับน้อย
ด้านสารสนเทศ พบว่า การจัดนิทรรศการเกี่ยวกับสินค้า มีค่าคะแนนเฉลี่ย 2.16 และลาดับสุดท้ายการออกแบบสารวจเพื่อเก็บข้อมูลความต้องการของลูกค้า มีค่าคะแนนเฉลี่ย 1.52 ซึ่งอยู่ในระดับน้อย ด้านเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยในการทางาน พบว่า แสงสว่างเพียงพอในการทางาน มีค่าคะแนนเฉลี่ย 4.39 อยู่ในระดับมาก ลาดับสุดท้ายการปฏิบัติงานมีกลิ่นรบกวนในการทางาน มีค่าคะแนนเฉลี่ย 1.62 ซึ่งอยู่ในระดับน้อย
ประสิทธิภาพของบรรจุภัณฑ์ที่มีอยู่ ด้านการปกป้องผลิตภัณฑ์ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าคะแนนเฉลี่ย 2.63 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ป้องกันการสัมผัสกับน้า ความชื้น หรืออากาศ มีค่าคะแนนเฉลี่ย 2.78 อยู่ในระดับปานกลาง ลาดับสุดท้ายผลิตภัณฑ์ของท่านมีการปกป้องผลิตภัณฑ์ที่อยู่ภายใน ซึ่งเกิดจากแรงกระแทกภายนอกได้ มีค่าคะแนนเฉลี่ย 2.35 ซึ่งอยู่ในระดับน้อย ด้านการบรรจุ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย มีค่าคะแนนเฉลี่ย 2.46 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าบรรจุผลิตภัณฑ์ได้ตามจานวนและเหมาะสม มีค่าคะแนนเฉลี่ย 2.55 อยู่ในระดับปานกลางลาดับสุดท้ายขนาดที่พกพาได้สะดวก มีค่าคะแนนเฉลี่ย 2.32 ซึ่งอยู่ในระดับน้อยความสะดวกในการใช้ผลิตภัณฑ์ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย มีค่าคะแนนเฉลี่ย 2.32 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าการอานวยสะดวกใช้งานง่าย มีค่าคะแนนเฉลี่ย 2.47 อยู่ในระดับน้อย ลาดับสุดท้ายสามารถเปิดรับประทานผลิตภัณฑ์ได้ง่าย มีค่าคะแนนเฉลี่ย 2.19 ซึ่งอยู่ในระดับน้อยด้านการส่งเสริมการจัดจาหน่าย พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย มีค่าคะแนนเฉลี่ย 2.37 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าใช้ภาพประกอบเพื่อช่วยสร้างความน่าสนใจให้กับสินค้า มีค่าคะแนนเฉลี่ย
(ค )
2.52 อยู่ในระดับปานกลางลาดับสุดท้ายบรรจุภัณฑ์มีความสวยงามสามารถดึงดูดความน่าสนใจเมื่อผู้บริโภคพบเห็น มีค่าคะแนนเฉลี่ย 2.26 ซึ่งอยู่ในระดับน้อย
การใช้ทรัพยากรชีวภาพในชุมชนหรือภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นส่วนประกอบในการผลิต ด้านการใช้วัตถุดิบและแรงงานที่มีอยู่ในท้องถิ่น พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าคะแนนเฉลี่ย 3.02 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ใช้แรงงานและสถานที่ในท้องถิ่นในการผลิต มีค่าคะแนนเฉลี่ย 3.88 อยู่ในระดับมาก ลาดับสุดท้ายใช้ทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่น มีค่าคะแนนเฉลี่ย 1.38 ซึ่งอยู่ในระดับน้อยที่สุดใช้กระบวนการเรียนรู้ในชุมชนในการพัฒนาการผลิต พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อยที่สุด มีค่าคะแนนเฉลี่ย 1.38 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีการรับการถ่ายทอดความรู้จากสถาบันการศึกษาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาการผลิตที่ขอรับการตรวจประเมิน มีค่าคะแนนเฉลี่ย 1.53 อยู่ในระดับน้อย ลาดับสุดท้ายจานวนครั้งที่ได้การรับการถ่ายทอดความรู้จากสถาบันการศึกษาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาการผลิตที่ขอรับการตรวจประเมิน มีค่าคะแนนเฉลี่ย 1.22 อยู่ในระดับน้อยที่สุด
การผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าคะแนนเฉลี่ย 2.70 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่ากระบวนการผลิตที่คานึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มีค่าคะแนนเฉลี่ย 4.01อยู่ในระดับมาก ลาดับสุดท้ายมีรายงานหรือบันทึกที่แสดงถึงการคานึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีและวัตถุที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (Environment) มีค่าคะแนนเฉลี่ย 1.55 ซึ่งอยู่ในระดับน้อยกระบวนการบริหารจัดการที่ประหยัดทรัพยากรและพลังงานที่เหมาะสมพบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย มีค่าคะแนนเฉลี่ย 2.35 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า การลดปริมาณวัตถุดิบทางตรง วัตถุดิบทางอ้อม หรือพลังงานลงโดยไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ เช่น การใช้น้าในปริมาณที่ลดลงในการล้างพืชหรือผลิตผลทางการเกษตร เนื่องจากปรับเปลี่ยนวิธีการล้างใหม่ที่ดีขึ้น โดยพืชหรือผลิตผลทางการเกษตรนั้นมีความสะอาดหรือมีคุณภาพเหมือนเดิม มีค่าคะแนนเฉลี่ย 2.81 อยู่ในระดับปานกลาง ลาดับสุดท้ายการนากลับมาใช้ใหม่ มีการนาเอาวัตถุดิบ วัสดุหรืออุปกรณ์ที่ใช้แล้วมาแปรรูปโดยกรรมวิธีต่างๆ เพื่อนากลับมาใช้ใหม่ เช่น การนาเอาเศษของวัสดุชีวภาพไปผ่านกระบวนการทาปุ๋ยหมักชีวภาพเพื่อใช้ในพื้นที่การเกษตร หรือการนาเศษผ้าที่เหลือจากการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์มาพัฒนาจนได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ มีค่าคะแนนเฉลี่ย 1.59 ซึ่งอยู่ในระดับน้อย
กระบวนการจัดการของเสีย พบว่าโดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย มีค่าคะแนนเฉลี่ย 2.01 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่ามีกระบวนการบริหารจัดการขยะและของเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต มีค่าคะแนนเฉลี่ย 2.83 อยู่ในระดับปานกลาง รองลงมาการเก็บขยะและของเสียมาใช้ประโยชน์ เช่น ก๊าซชีวภาพ มีค่าคะแนนเฉลี่ย 1.19 อยู่ในระดับน้อยที่สุดตามลาดับกระบวนการจัดการของเสีย พบว่าโดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย มีค่าคะแนนเฉลี่ย 2.01 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า กระบวนการบริหารจัดการขยะและของเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต มีค่าคะแนนเฉลี่ย 2.83 อยู่ในระดับปานกลาง รองลงมาการเก็บขยะและของเสียมาใช้ประโยชน์ เช่น ก๊าซชีวภาพ มีค่าคะแนนเฉลี่ย 1.19 อยู่ในระดับน้อยที่สุดตามลาดับ การประชุมกลุ่มย่อย ในการตอบแบบประเมินความเหมาะสมของบรรจุภัณฑ์และตราสัญลักษณ์ รูปแบบที่ 1 พบว่า ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นอยู่ในระดับความเหมาะสมดี มีค่าคะแนนเฉลี่ย 3.97 รูปแบบที่ 2 พบว่า อยู่ในระดับความเหมาะสมดี มีค่า
(ง )
คะแนนเฉลี่ย 3.55 ผลสรุปจากการประชุมกลุ่มย่อย พบว่า รูปแบบที่ 1 มีความเหมาะสมดีที่สุดมีค่าคะแนนเฉลี่ย 3.97 |
Description:
|
งานวิจัยงบประมาณแผ่นดิน ปีงบประมาณ2560 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
URI:
|
http://hdl.handle.net/123456789/1356
|
Date:
|
2019-01-23 |