dc.contributor.author |
สุวรรณนิพนธ์, วนิดา |
|
dc.date.accessioned |
2020-05-29T03:24:56Z |
|
dc.date.available |
2020-05-29T03:24:56Z |
|
dc.date.issued |
2020-05-29 |
|
dc.identifier.uri |
http://hdl.handle.net/123456789/1933 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้บริการธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภค และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรจากงานวิจัยที่นามาสังเคราะห์ การวิจัยครั้งนี้ใช้ทั้งแนวทางการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ในการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริโภคที่มาใช้บริการธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ ในเขตกรุงเทพมหานคร จานวน 350 ราย โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากผู้บริโภคที่เคยใช้บริการธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพล ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพได้ดาเนินการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างให้ความสาคัญกับการรับรู้ว่าบริการธนาคารอิเล็กทรอนิกส์มีประโยชน์มีระดับความสาคัญมากที่สุด และตัวแปรที่มีความสาคัญในรองลงมาตามลาดับ คือ ทัศนคติต่อบริการธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ การรับรู้ว่าการบริการธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ใช้งานง่าย คุณภาพของการบริการธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ ความตั้งใจในการใช้บริการธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ และความไว้วางใจต่อบริการธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ ตามลาดับ ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าการรับรู้ว่าบริการธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ใช้งานง่าย ได้รับอิทธิพลทางตรงเชิงบวกจากคุณภาพของเว็บไซต์ การรับรู้ว่าบริการธนาคารอิเล็กทรอนิกส์มีประโยชน์ ได้รับอิทธิพลทางตรงเชิงบวกจากคุณภาพของเว็บไซต์ และได้รับอิทธิพลทางตรงเชิงบวกจากการรับรู้ว่าเว็บไซต์ใช้งานง่าย ความไว้วางใจต่อการบริการธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ได้รับอิทธิพลทางตรงเชิงบวกจากการรับรู้ว่าบริการธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ใช้งานง่าย และได้รับอิทธิพลทางตรงเชิงบวกจากการรับรู้ว่าบริการธนาคารอิเล็กทรอนิกส์มีประโยชน์ ทัศนคติต่อการบริการธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ได้รับอิทธิพลทางตรงเชิงบวกจากการรับรู้ว่าบริการธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ใช้งานง่าย รวมทั้ง ได้รับอิทธิพลทางตรงเชิงบวกจากการรับรู้ว่าบริการธนาคารอิเล็กทรอนิกส์มีประโยชน์ และได้รับอิทธิพลทางตรงเชิงบวกจากความไว้วางใจต่อการบริการธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ และความตั้งใจในบริการธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ได้รับอิทธิพล ทางตรงเชิงบวกจากความไว้วางใจต่อบริการธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ และได้รับอิทธิพลทางตรงเชิงบวกจากทัศนคติต่อการบริการธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ จากผลการศึกษา มีข้อเสนอแนะ คือ ผู้ประกอบการธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ควรคานึงถึงการพัฒนาคุณภาพของเว็บไซต์ โดยเน้นให้มีคุณภาพในด้านเนื้อหา การออกแบบ ความง่ายในการใช้งาน การได้รับประโยชน์ และความไว้วางใจได้ ซึ่งจะส่งผลต่อทัศนคติที่ดีของลูกค้า และความตั้งใจในการใช้บริการธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.subject |
ปัจจัยที่มีผลต่อ |
th_TH |
dc.subject |
ความตั้งใจซื้อ |
th_TH |
dc.subject |
ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ |
th_TH |
dc.subject |
การวิเคราะห์อภิมาน |
th_TH |
dc.title |
ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้บริการธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภค : การวิเคราะห์อภิมาน |
th_TH |
dc.type |
Article |
th_TH |