dc.contributor.author |
เยี่ยมจรรยา, ศิริเพ็ญ |
|
dc.creator |
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
|
dc.date.accessioned |
2015-06-20T06:13:07Z |
|
dc.date.available |
2015-06-20T06:13:07Z |
|
dc.date.issued |
2015-06-20 |
|
dc.identifier.issn |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
|
dc.identifier.uri |
http://hdl.handle.net/123456789/204 |
|
dc.description |
งานวิจัยงบประมาณรายได้มหาวิทยาลัย ปีงบประมาณ 2556 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
th_TH |
dc.description.abstract |
งานวิจัย เรื่อง ปัจจัยที่เอื้อต่อศักยภาพการทาการตลาดอิเล็กทรอนิกส์สาหรับผู้ประกอบการโฮมสเตย์ อาเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงครามนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการบริการวิชาการปี พ.ศ. 2556 มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ของผู้ประกอบการธุรกิจโฮมสเตย์ในอาเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ในชีวิตประจาวันของผู้ประกอบการธุรกิจโฮมสเตย์ในอาเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม 3) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ในธุรกิจโฮมสเตย์ของผู้ประกอบการธุรกิจโฮมสเตย์ในอาเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม 4) เพื่อศึกษาปัจจัยที่เอื้อต่อศักยภาพในการทาการตลาดธุรกิจโฮมสเตย์โดยใช้อินเทอร์เน็ตของผู้ประกอบการธุรกิจโฮมสเตย์ในอาเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม และ 5) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปร ด้านเพศ อายุ รุ่นของการประกอบธุรกิจโฮมสเตย์ ระดับการศึกษา ระดับรายได้ และระยะเวลาในการเปิดธุรกิจโฮมสเตย์ของผู้ประกอบการธุรกิจโฮมสเตย์ในอาเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงครามกับการให้ความสาคัญกับปัจจัยที่เอื้อต่อศักยภาพในการทาการตลาดธุรกิจโฮมสเตย์โดยใช้อินเทอร์เน็ต กลุ่มประชากรในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ผู้ประกอบการธุรกิจโฮมสเตย์ในอาเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม การสุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มตัวอย่างแบบไม่ใช้ความน่าจะเป็น โดยใช้วิธีการเลือกแบบมีจุดมุ่งหมาย จานวน 35 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามภาษาไทย ทั้งนี้ ผู้วิจัยคอยให้คาอธิบายและตอบคาถามในกรณีที่ผู้ตอบแบบสอบถามไม่เข้าใจคาถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่สถิติเชิงพรรณา ประกอบไปด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ประกอบไปด้วยการทดสอบค่าความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม (t- test) และการทดสอบการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการใช้ช่องทางอิเล็คทรอนิกส์หรืออินเทอร์เน็ตในชีวิตประจาวันและในที่ทางาน หากแต่เป็นส่วนน้อยที่ใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตในการทาการตลาดและการประชาสัมพันธ์ธุรกิจโฮมสเตย์ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อหาความรู้ทั่วไป ใช้ในการติดตามข่าวสาร การหาความรู้เกี่ยวกับโฮมสเตย์และการท่องเที่ยว แต่น้อยรายที่เข้าใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อวัตถุประสงค์ด้านการเข้าร่วมสังคมโซเชี่ยลเน็ตเวิร์ค การใช้เพื่อประหยัดเวลาในการสื่อสาร การหาข้อมูลด้านการศึกษาและการฝึกภาษาอังกฤษ การใช้อินเทอร์เน็ตในการทาตลาดและการประชาสัมพันธ์ธุรกิจโฮมสเตย์ พบว่า ส่วนใหญ่ใช้อินเทอร์เน็ตในการทาตลาดและการประชาสัมพันธ์ธุรกิจโฮมสเตย์แต่เป็นลักษณะจ้างทาเว็บไซต์แต่ไม่มีการอัพเดทข้อมูลหรือใช้เว็บไซต์ในการทากิจกรรมทางการตลาด การใช้อินเทอร์เน็ตในการสื่อสารกับลูกค้าพบว่าอยู่ในระดับปานกลาง นอกจากนี้ผลการวิจัยพบว่า ผู้ประกอบส่วนใหญ่สนใจที่จะเข้าร่วมการอบรมทักษะต่าง ๆ แต่ด้วยข้อจากัดด้านเวลา และเว็บไซต์ของภาครัฐที่เกี่ยวข้องยังขาดบทบาทในการสนับสนุนการทาการตลาดของโฮมสเตย์ในจังหวัดสมุทรสงคราม ในด้านปัจจัยที่เอื้อต่อศักยภาพการทาการตลาดอิเล็คทรอนิกส์ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ผู้ประกอบการให้ความสาคัญอันที่จะเอื้อต่อศักยภาพการทาการตลาดอิเล็คทรอนิกส์ ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านสถานที่ตั้งของโฮมสเตย์ที่ตั้งอยู่ใกล้แหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง 2) ปัจจัยด้านการที่มีโฮมสเตย์ที่มีการตกแต่ง สีสัน รูปแบบที่สวยงาม น่ารัก น่าอยู่ หรือมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง แม้ว่าจะไม่ได้ตั้งอยู่ใกล้แหล่งท่องเที่ยว 3) ปัจจัยด้านการแข่งขันในธุรกิจโฮมสเตย์ 4) ปัจจัยด้านความรู้เกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยว และ 5) ปัจจัยด้านการมีเว็บไซต์เป็นของตนเอง แต่ปัจจัยที่สาคัญอื่น ๆ ถูกละเลยไป ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาตนเองเพื่อให้เกิดศักยภาพในการทาการตลาดโฮมสเตย์ เช่นการเรียนรู้เกี่ยวกับธุรกิจโฮมสเตย์ การพัฒนาทักษะต่าง ๆ เช่น ภาษาอังกฤษ การสื่อสารเพื่อโน้มน้าวใจลูกค้า การใช้คอมพิวเตอร์ หรือการออกไปดูงานด้านโฮมสเตย์ในต่างพื้นที่ ผู้ประกอบการให้ความสาคัญในลาดับรองลงมาจากปัจจัยภายนอกที่สามารถพัฒนาได้ง่ายและรวดเร็วกว่า เช่นการสร้างโฮมสเตย์ใกล้แหล่งท่องเที่ยว การตกแต่งโฮมสเตย์ให้สวยงาม นอกจากนี้ ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า การรวมกลุ่มเป็นเครือข่ายโฮมสเตย์ของจังหวัดสมุทรสงครามและบทบาทภาครัฐยังไม่ชัดเจน เนื่องจากผู้ประกอบการเห็นว่าเป็นปัจจัยที่มีความสาคัญเป็นอันดับท้าย ๆ
งานวิจัยชิ้นนี้มีข้อเสนอแนะผู้ประกอบการธุรกิจโฮมสเตย์และหน่วยงานภาครัฐว่าควรเริ่มที่จะเล็งเห็นความสาคัญของปัจจัยที่จะเอื้อต่อการพัฒนาธุรกิจไปสู่การรองรับตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เช่นปัจจัยด้านการเข้าถึงตลาดบนอินเทอร์เน็ต ปัจจัยด้านศักยภาพและแรงจูงใจในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองของผู้ประกอบการ และปัจจัยด้านบทบาทของหน่วยงานภาครัฐ นักท่องเที่ยวจากประเทศสมาชิกอาเซียนมีความสนใจที่จะเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย จังหวัดสมุทรสงครามซึ่งตั้งอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพมหานครมากนัก ย่อมมีโอกาสที่จะดึงกลุ่มนักท่องเที่ยวเหล่านี้ไปเที่ยว จังหวัดควรพัฒนาส่วนประสมทางการตลาดการท่องเที่ยวด้านช่องทางการสื่อสารทางการตลาดโดยใช้อิเล็กทรอนิกส์ และศักยภาพของบุคลากรที่ให้บริการ สาหรับอาเภอบางคนทีนั้น มีความเหมาะสมในการพัฒนาการท่องเที่ยวโฮมสเตย์ในลักษณะบูติคที่มีตลาดเฉพาะ |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
th_TH |
dc.language |
TH |
|
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
|
dc.relation.ispartofseries |
งานวิจัยปี 2556; |
|
dc.source |
งานวิจัยแหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2556 |
|
dc.subject |
การตลาดอิเล็กทรอนิกส์ |
th_TH |
dc.subject |
โฮมสเตย์ |
th_TH |
dc.title |
ปัจจัยที่เอื้อต่อศักยภาพการทาการตลาดอิเล็กทรอนิกส์สาหรับผู้ประกอบการโฮมสเตย์ อาเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม |
th_TH |
dc.type |
Article |
th_TH |