dc.contributor.author |
วิชิวานิเวศน์, รุจิจันทร์ |
|
dc.creator |
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
TH |
dc.date.accessioned |
2015-06-20T06:48:40Z |
|
dc.date.available |
2015-06-20T06:48:40Z |
|
dc.date.issued |
2015-06-20 |
|
dc.identifier.issn |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
|
dc.identifier.uri |
http://hdl.handle.net/123456789/225 |
|
dc.description |
งานวิจัยงบประมาณรายได้มหาวิทยาลัย ปีงบประมาณ 2554 มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา |
th_TH |
dc.description.abstract |
งานวิจัยนี้ เป็นการสร้างระบบฐานความรู้เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับการวิเคราะห์สุขภาพ
ตนเอง ด้วยหลักทฤษฎีทางการแพทย์แผนไทย โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่หนึ่ง คือ ส่วน
ของการวิเคราะห์ธาตุเจ้าเรือน เพื่อให้บุคคลรู้จักตัวตนของตนเอง รู้ว่าตนเองมีธาตุกาเนิดอะไร และ
รับทราบแนวทางในการดูแลสุขภาพตนเอง และควรเลือกรสชาติอาหารที่รับประทานอย่างไร จึงจะ
ทาให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง ส่วนที่สอง คือ ส่วนของการวิเคราะห์อาการเจ็บป่วยตามธาตุเจ้าเรือนที่
เป็นธาตุกาเนิด และธาตุเจ้าเรือนตามช่วงอายุของตนเองในปัจจุบัน พร้อมทั้งระบุถึงสมุนไพร ในส่วน
สมุนไพรที่ใช้ในงานสาธารณสุขมูลฐานที่ใช้รักษาอาการเจ็บป่วยเหล่านั้น โดยแสดงข้อมูลรายละเอียด
ของสมุนไพรไทย ทั้งในส่วนรูปภาพ รสชาติ วิธีการใช้ และข้อควรรู้ในการใช้สมุนไพรนั้น โดยพัฒนาเป็นโปรแกรมบนเว็บไซต์เครือข่ายภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
กลุ่มประชาการที่ใช้ศึกษาครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่หนึ่ง คือ กลุ่มของผู้เชี่ยวชาญด้าน
การแพทย์แผนไทยจานวน 4 ท่าน กลุ่มที่สองคือ ผู้เข้าใช้งานเว็บไซต์ จานวน 300 คน โดยแบ่งออก
เป็น 3 ช่วงอายุ คือ วันเด็ก วัยรุ่นและวัยเริ่มทางาน วัยทางานและวัยสูงอายุ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบ
รวมข้อมูล คือแบบสอบถามที่เป็นกระดาษ และแบบสอบถามหรือ Poll บนเว็บไซต์ ในส่วนสถิติที่ใช้
วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย แยกเป็น 3 ส่วน คือ
1. การพัฒนาฐานความรู้ สามารถพัฒนาเสร็จสิ้นได้ตรงตามเป้าหมายที่วางไว้
2. การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนเว็บ สามารถพัฒนาเสร็จสิ้นได้ตรงตามเป้าหมายที่วางไว้
3. การประเมินผล ผลการศึกษา พบว่า
3.1 การประเมินความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อการออกแบบเว็บไซต์ และองค์ความ
รู้ ของระบบฐานความรู้ด้านการรักษาโรคด้วยสมุนไพร อยู่ในระดับดี ด้วยค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็น 4.20
3.2 การประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบ ซึ่งเป็นสมาชิกผู้เข้าใช้งานเว็บไซต์ ทุกช่วงอายุอยู่ในระดับดี ด้วยค่าเฉลี่ยระดับความพึงพอใจ 4.24
นอกจากนี้ ยังพบว่าประชากรในวัยเด็กอายุตั้งแต่ 16 ปี ลงมา มีความใส่ใจในการดูแลสุขภาพตนเองน้อยกว่าประชากรที่เป็นวัยรุ่น วัยทางาน และวัยสูงอายุ
ข้อเสนอแนะ
1. ควรเผยแพร่เว็บไซต์นี้ ให้ประชาชนใช้เป็นเครื่องมือในการตรวจสอบธาตุเจ้าเรือน เพื่อ
ให้รู้จักตัวตนของตนเอง และใส่ใจในการดูแลสุขภาพตนเองด้วยสมุนไพรไทย และสนับสนุนให้มีผู้ทา
การวิจัยนี้ให้ขยายผลอย่างต่อเนื่อง www.ssru.ac.th
(2)
2. ทาการวิจัยเพื่อหาวิธีการให้เด็กๆ มีความใส่ใจในการดูแลสุขภาพตนเองด้วยสมุนไพรไทย แทนการเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ คุยกับเพื่อนทาง Facebook หรือรับประทานขนมขบเคี้ยวที่ไม่มีประ
โยชน์
3. ทาการวิจัยเพื่อหาวิธีการให้ประชาชนทุกช่วงอายุปรับเปลี่ยนวิถีการดารงชีวิต โดยใช้หลักการดูแลสุขภาพตนเอง
4. ทาการพัฒนาฐานความรู้ โดยเพิ่มพืชสมุนไพรที่มีประโยชน์และมีความปลอดภัย ให้ประชาชนสามารถเลือกรับประทานอย่างถูกต้อง ตามหลักทฤษฎีทางการแพทย์แผนไทย
5. ทาการเพิ่มเติมองค์ความรู้อย่างสม่าเสมอ และปรับข้อมูลให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา เพื่อ
ให้ข้อมูลภายใต้ระบบมีความสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง
6. ทาการจดโดเมนเนมให้ผู้ใช้เรียกใช้เว็บไซต์นี้ได้ง่ายยิ่งขึ้น และปรับปรุงประสิทธิภาพ
ของเครื่องแม่ข่าย (Server) ให้เรียกใช้งานเว็บไซต์ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
TH |
dc.relation.ispartofseries |
งานวิจัยปี 2554; |
|
dc.source |
TH |
TH |
dc.subject |
การพัฒนาระบบ |
th_TH |
dc.subject |
ความรู้ด้านการรักษาโรค |
th_TH |
dc.subject |
สมุนไพร |
th_TH |
dc.title |
การพัฒนาระบบฐานความรู้ด้านการรักษาโรคด้วยสมุนไพร |
th_TH |
dc.type |
Article |
th_TH |