dc.contributor.author |
ศิริโชติบัณฑิต, พัฒนา |
|
dc.creator |
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
TH |
dc.date.accessioned |
2015-06-20T07:09:31Z |
|
dc.date.available |
2015-06-20T07:09:31Z |
|
dc.date.issued |
2015-06-20 |
|
dc.identifier.issn |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
|
dc.identifier.uri |
http://hdl.handle.net/123456789/235 |
|
dc.description |
งานวิจัยงบประมาณรายได้มหาวิทยาลัย ปีงบประมาณ 2554 มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา |
th_TH |
dc.description.abstract |
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบท สถานภาพ และประสิทธิภาพการใช้กลยุทธ์การตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อมในการวางแผนการตลาดขององค์กรธุรกิจไทย การวิจัยใช้วิธีการสารวจด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบจากประชากรที่เป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและองค์กรธุรกิจขนาดกลางจานวน 57 บริษัทจากทั้งหมด 540 บริษัท หรือมีสัดส่วน 10.56% โดยมีอัตราการตอบกลับมา 38.26% จากกลุ่มตัวอย่างเป้าหมายจานวน 149 บริษัทที่มีหน่วยผลิตภายในองค์กรด้วยการใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิจัยพบว่าบริบทและสถานภาพการเลือกใช้กลยุทธ์การตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อมในองค์กรธุรกิจไทยจะเน้นกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมมากกว่าการตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อม จากการทดสอบด้วย t-test ณ ระดับนัยสาคัญที่ .01 (p<.01) บริษัทมีผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมจานวน 30 บริษัท (53%) หรือเฉลี่ย 2.33 รายการ และมีกิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมจานวน 34 บริษัท (60%) หรือเฉลี่ย 2.68 กิจกรรม บริษัทที่ใช้กลยุทธ์การตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อมจะทาให้มีผลกาไรมากกว่าบริษัทที่ไม่ใช้ จากการทดสอบด้วยการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ ณ ระดับนัยสาคัญที่ .01 (p<.01) มีขนาดของผลกระทบ (R2) เท่ากับ .175 (17.5%) แต่สิ่งนี้ไม่ส่งผลต่อยอดขายบริษัท ประสิทธิภาพการใช้กลยุทธ์การตลาดในแผนการตลาดประจาปีของบริษัทจะเน้นการตลาดเพื่อสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า การวิเคราะห์โอกาสทางการตลาด และกลยุทธ์ส่วนประสมการตลาดเป็นสาคัญ แต่ถ้าเป็นการใช้กลยุทธ์การตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อมจะเน้นที่การวิจัยและพัฒนา การผลิต และการตลาด สุดท้ายการใช้กลยุทธ์การตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อมขององค์กรธุรกิจไทยเป็นเพียงการตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อมเชิงเทคนิคมากกว่าการตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อมเชิงกลยุทธ์และการตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อมกึ่งเชิงกลยุทธ์
ข้อเสนอแนะคือ องค์กรธุรกิจไทยควรพัฒนากลยุทธ์การตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อมโดยเน้นที่การตลาด การวิจัยและพัฒนา และการผลิต มากกว่าการเน้นที่การวิจัยและพัฒนา การผลิต และการตลาดซึ่งเป็นสิ่งตรงกันข้ามกับหลักการพัฒนาการตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อมโดยทั่วไป การใช้แบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูลควร
ใช้วิธีการเข้าพบและยื่นให้ตอบจะดีกว่าการส่งแบบสอบถามออนไลน์เนื่องจากผู้บริหารไม่ให้ความร่วมมือเท่าที่ควร และการศึกษาวิจัยในเรื่องเดียวกันนี้จะต้องคานึงบริบทที่เป็นองค์ประกอบของการตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่มีความแตกต่างกันในเรื่องของผลิตภัณฑ์ บริการ บรรจุภัณฑ์ การโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ การวิจัยและพัฒนา และการผลิตของแต่ละบริษัทด้วย |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
TH |
dc.relation.ispartofseries |
งานวิจัยปี 2554; |
|
dc.source |
TH |
TH |
dc.subject |
้กลยุทธ์การตลาด |
th_TH |
dc.subject |
สิ่งแวดล้อม |
th_TH |
dc.subject |
องค์กรธุรกิจไทย |
th_TH |
dc.title |
การศึกษาการเลือกใช้กลยุทธ์การตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่มีความเหมาะสมกับ องค์กรธุรกิจไทย |
th_TH |
dc.type |
Article |
th_TH |