การวิเคราะห์คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนจากโจทย์ปัญหาในหนังสือเรียนคณิตศาสตร์ระดับ ประถมศึกษา

DSpace/Manakin Repository

การวิเคราะห์คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนจากโจทย์ปัญหาในหนังสือเรียนคณิตศาสตร์ระดับ ประถมศึกษา

Show full item record

Title: การวิเคราะห์คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนจากโจทย์ปัญหาในหนังสือเรียนคณิตศาสตร์ระดับ ประถมศึกษา
Author: พรายมณี, จิราพร
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) จาแนกคา/กลุ่มคา/ข้อความที่ส่งเสริมให้เกิดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ปรากฏในหนังสือเรียนคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสานักพิมพ์เอกชน 2) ศึกษาประเภทคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่สอดแทรกในโจทย์ปัญหา จากหนังสือเรียนคณิตศาสตร์ 3) ศึกษาปริมาณโจทย์ปัญหาที่สอดแทรกคุณลักษณะอันพึงประสงค์ จาแนกตามระดับชั้นและสาระหลัก โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเอกสาร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นหนังสือเรียนคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษาที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงศึกษาธิการ ตามประกาศการกาหนดสื่อการเรียนรู้สาหรับเลือกใช้ในสถานศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 และตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขึ้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 และเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากหนังสือเรียนของสานักพิมพ์ที่โรงเรียนนิยมใช้มาก 3 อันดับแรกซึ่งได้แก่ หนังสือเรียนคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สานักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์ จากัด และสานักพิมพ์พัฒนาคุณภาพวิชาการ จากัด จานวน 18 เล่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบวิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างคา/กลุ่มคา/ข้อความสาคัญที่แสดงลักษณะจาเพาะกับคุณลักษณะแต่ละประเภท และแบบวิเคราะห์ความสอดคล้องของโจทย์ปัญหากับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่สอดแทรก ซึ่งผู้วิจัยได้หาคุณภาพของเครื่องมือ โดยหาความตรงเชิงเนื้อหาด้วยค่าดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ 0.5-1.0 และค่าความเชื่อมั่น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 ผลการวิจัยพบว่า 1) คา/กลุ่มคา/ข้อความที่ส่งเสริมให้เกิดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ สอดแทรกอยู่ในโจทย์ปัญหาจากหนังสือเรียนคณิตศาสตร์ทั้งหมดที่นามาวิเคราะห์ มีจานวนทั้งสิ้น 41 รายการ2) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่สอดแทรกอยู่ในโจทย์ปัญหาปรากฏเพียง 7 ประเภท ได้แก่ รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทางาน รักความเป็นไทย และมีจิตสาธารณะ โดยแต่ละสานักพิมพ์ ปรากฏในภาพรวมด้วยปริมาณใกล้เคียงกัน คือประมาณร้อยละ 13-14 ส่วนคุณลักษณะ ซื่อสัตย์ สุจริต นั้น ไม่ปรากฏ 3) หนังสือเรียนของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปรากฏการสอดแทรกคุณลักษณะ อยู่อย่างพอเพียงมากที่สุด และคุณลักษณะรักความเป็นไทย น้อยที่สุด คุณลักษณะเหล่านี้กระจายอยู่ในทุกระดับชั้น โดยปรากฏในชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มากที่สุด และชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 น้อยที่สุด ทั้งนี้สาระหลักที่มีการสอดแทรกคุณลักษณะไว้มากที่สุด ได้แก่ สาระจานวนและการดาเนินการ ขณะที่สาระเรขาคณิตนั้นมีการสอดแทรกไว้น้อยที่สุด สาหรับหนังสือเรียนของสานักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์ จากัด นั้น มีการสอดแทรกคุณลักษณะมีจิตสาธารณะไว้ในโจทย์ปัญหามากที่สุด และที่น้อยที่สุดได้แก่คุณลักษณะรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ มีวินัย และรักความเป็นไทย ซึ่งคุณลักษณะทั้ง 7 ประเภทนั้นกระจายอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มากที่สุด และชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 น้อยที่สุด โดยสาระหลักที่มีการสอดแทรกคุณลักษณะไว้มากที่สุดได้แก่ สาระจานวนและการดาเนินการ ขณะที่สาระการวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็นไม่ปรากฏการสอดแทรก ส่วนหนังสือเรียนของสานักพิมพ์พัฒนาคุณภาพวิชาการ จากัด นั้น มีการสอดแทรกคุณลักษณะมีจิตสาธารณะ ไว้มากที่สุด และคุณลักษณะ รักความเป็นไทย น้อยที่สุด คุณลักษณะทั้งหลายกระจายอยู่ในโจทย์ปัญหาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มากที่สุด และน้อยที่สุดในชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และสาระหลักที่มีการสอดแทรกคุณลักษณะในโจทย์ปัญหามากที่สุดได้แก่ สาระจานวนและการดาเนินการ ในขณะที่สาระเรขาคณิตไม่ปรากฏการสอดแทรก
Description: งานวิจัยทุนงบประมาณภายใน ปีงบประมาณ 2553 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
URI: http://hdl.handle.net/123456789/49
Date: 2015-06-06


Files in this item

Files Size Format View Description
ird_076_53.pdf 78.95Kb PDF View/Open ปก
ird_076_53 (1).pdf 397.3Kb PDF View/Open บทคัดย่อ
ird_076_53 (2).pdf 504.5Kb PDF View/Open กิติกรรมประกาศ
ird_076_53 (3).pdf 143.4Kb PDF View/Open บทที่ 1
ird_076_53 (4).pdf 846.7Kb PDF View/Open บทที่ 2
ird_076_53 (5).pdf 406.5Kb PDF View/Open บทที่ 3
ird_076_53 (6).pdf 2.004Mb PDF View/Open บทที่ 4
ird_076_53 (7).pdf 401.5Kb PDF View/Open บทที่ 5
ird_076_53 (8).pdf 484.3Kb PDF View/Open บรรณานุกรม
ird_076_53 (10).pdf 301.0Kb PDF View/Open ประวัตินักวิจัย

This item appears in the following Collection(s)

Show full item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account