Abstract:
|
การวิจัยเรื่องการพัฒนาดินแดงท้องถิ่นเพื่อการผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องโต๊ะอาหารมี
วัตถุประสงค์เพื่อสร้างและทดสอบอัตราส่วนผสมของเนื้อดินปั้นจากดินแดงท้องถิ่นบ้านสารภี
ตาบลจอมปลวก อาเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม ที่เหมาะสมกับการขึ้นรูปด้วยวิธีหล่อ
โดยการทดสอบสมบัติทางเคมีและสมบัติทางฟิสิกส์ของเนื้อดินปั้นจากดินแดงท้องถิ่น หลังจาก
นั้นเลือกระดับอุณหภูมิที่เหมาะสมสาหรับนาไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องโต๊ะอาหาร จากการ
ทดลองเผาที่ 5 ระดับอุณหภูมิคือ 1,000, 1,050, 1,100, 1,150 และ 1,200 องศาเซลเซียส
นาไปทดสอบกับอัตราส่วนผสมของเคลือบเพื่อค้นหาสูตรเคลือบที่เหมาะสมกับอัตราส่วนผสม
ของเนื้อดินปั้นจากดินแดงท้องถิ่นบ้านสารภี ตาบลจอมปลวก อาเภอบางคนที จังหวัด
สมุทรสงคราม ที่เหมาะสมกับการขึ้นรูปด้วยวิธีหล่อแบบ นาอัตราส่วนผสมของเคลือบและเนื้อ
ดินปั้นจากดินแดงท้องถิ่นมาทดสอบสมบัติที่เหมาะสมต่อการผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องโต๊ะอาหาร
ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม แล้วจึงออกแบบและสร้างบรรจุภัณฑ์น้าตาลมะพร้าวจาก
ดินแดงท้องถิ่นบ้านสารภี อาเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม
ผลการศึกษาพบว่า
1. ภายหลังการทดสอบสมบัติทางเคมีและสมบัติทางฟิสิกส์ของดินแดงท้องถิ่น เมื่อ
พิจารณาสมบัติทางฟิสิกส์ที่เป็นสมบัติหลังเผาได้แก่สมบัติด้านการดูดซึมน้าและความทนไฟ
พบว่าระดับอุณหภูมิในการเผาดินแดงท้องถิ่นบ้านสารภี อาเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงครามที่
เหมาะสมสาหรับนาไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องโต๊ะอาหารได้ และมีการดูดซึมน้าไม่เกินร้อย
ละ 8 คือที่อุณหภูมิการเผา 1,100 องศาเซลเซียส เนื้อดินปั้นจากดินแดงท้องถิ่นมีความทนไฟได้
มีการดูดซึมน้าหลังเผาร้อยละ 4.75 การหดตัวหลังเผาร้อยละ 5.26 และการหดตัวรวมร้อยละ
18.80
2. เมื่อพิจารณาสมบัติของเคลือบหลังเผาที่อุณหภูมิ 1,100 องศาเซลเซียส (โคน
หมายเลข 03) บรรยากาศการเผาไหม้แบบสมบูรณ์ด้วยเตาไฟฟ้าแล้ว ได้พิจารณาเลือกอัตรา
ส่วนผสมของเคลือบสูตรที่ประกอบด้วยหินฟันม้าชนิดโซเดียมร้อยละ 30 บอแรกซ์ร้อยละ 25
ควอตซ์ร้อยละ 22 ดินขาวร้อยละ 8 หินปูนร้อยละ 5 โซดาแอชร้อยละ 5 ซิงก์ออกไซด์ร้อยละ 3
และแบเรียมคาร์บอเนตร้อยละ 2 เป็นเคลือบที่เหมาะสมกับอัตราส่วนผสมของเนื้อดินปั้นจากดิน
แดงท้องถิ่นบ้านสารภี อาเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม ที่เหมาะสมกับการขึ้นรูปด้วยวิธี
หล่อแบบ โดยเคลือบหลังเผามีผิวเคลือบมันแวววาว เคลือบไม่ไหลตัว มีตาหนิเคลือบน้อย และ
เป็นเคลือบใสที่เห็นสีของเนื้อดินปั้น ไม่พบการรานตัวของผิวเคลือบ 3. ภายหลังการทดสอบคุณลักษณะที่ต้องการด้านปริมาณตะกั่วและแคดเมียม พบว่า
ปริมาณตะกั่วที่ละลายออกจากผลิตภัณฑ์เซรามิกที่ทาจากเนื้อดินปั้นจากดินแดงท้องถิ่นและ
เคลือบที่เหมาะสมมีน้อยกว่า 0.001 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตรซึ่งน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่
กาหนด (2 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร) ส่วนแคดเมียมพบว่าอยู่ระหว่าง 0.073–0.100
มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร ซึ่งต่ากว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กาหนด (0.5 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์
เดซิเมตร) ผลการทดสอบคุณลักษณะที่ต้องการตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พบว่า
ผลิตภัณฑ์เซรามิกที่ทาจากเนื้อดินปั้นจากดินแดงท้องถิ่นและเคลือบที่เหมาะสม สามารถทนต่อ
การเปลี่ยนอุณหภูมิโดยฉับพลันโดยไม่มีรอยแตกร้าวและผิวเคลือบไม่ราน มีการดูดซึมน้าร้อยละ
2.9565 และไม่มีรอยร้าวหรือรานที่ผิวเคลือบภายหลังการทดสอบความทนต่อการราน
4. จากผลการศึกษาความต้องการของกลุ่มผู้บริโภค รวมทั้งสภาพปัญหาและความ
ต้องการของผู้ผลิตน้าตาลมะพร้าวบ้านสารภี อาเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม นาสู่การ
สร้างแนวคิดในการออกแบบบรรจุภัณฑ์น้าตาลมะพร้าวที่มีเอกลักษณ์ชุมชน ได้รูปแบบของ
บรรจุภัณฑ์มะพร้าวเพื่อนาไปทาต้นแบบผลิตภัณฑ์ตามกระบวนการผลิตเซรามิกจานวน 3 แบบ
เมื่อนาผลิตภัณฑ์ตัวอย่างไปสอบถามความคิดเห็นของประชาชน นักท่องเที่ยว ผู้จาหน่ายน้าตาล
มะพร้าว และผู้ผลิตน้าตาลมะพร้าวในจังหวัดสมุทรสงครามที่มีต่อผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์
พบว่าผู้ตอบจัดลาดับให้บรรจุภัณฑ์น้าตาลมะพร้าวที่ได้แนวคิดจากโพงเคี่ยวน้าตาลเป็นลาดับที่
1 ที่เหมาะสมกับการใช้บรรจุน้าตาลมะพร้าวเพื่อการใช้งานและเป็นของฝาก
ข้อเสนอแนะ
1. การออกแบบรูปทรงผลิตภัณฑ์ที่จะใช้ดินแดงท้องถิ่นบ้านสารภี อาเภอบางคนที
จังหวัดสมุทรสงครามควรเลือกรูปแบบที่เรียบง่าย ลดหรือตัดทอนบางส่วน รวมทั้งการเผา
เคลือบที่อุณหภูมิสูงกว่าจุดสุกตัว 30–50 องศาเซลเซียส สาหรับผลิตภัณฑ์ที่มีฝาปิด
2. ออกแบบบรรจุภัณฑ์น้าตาลมะพร้าวที่มีเอกลักษณ์และตอบสนองความต้องการใน
ส่วนของการสื่อสารด้วยข้อความที่เป็นตัวอักษร ภาพ และ/หรือ ตราสัญลักษณ์ ประกอบกับการ
สื่อสารเอกลักษณ์โดยใช้รูปร่าง รูปทรงของผลิตภัณฑ์ที่มีความหมายที่ได้จากงานวิจัยครั้งนี้
3. ทดสอบข้อกาหนดอื่น ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 601–
2546 ภาชนะเซรามิกที่ใช้กับอาหาร : เออร์เทนแวร์ รวมทั้งมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน มผช.
46/2556 เครื่องปั้นดินเผาเออร์เทนแวร์ กรณีการผลิตในระบบอุตสาหกรรม |