Abstract:
|
งานวิจัยการนาทางด้วยโทรศัพท์เคลื่อนที่ครอบคลุมพื้นที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแอพพลิเคชั่นการนาทางด้วยโทรศัพท์เคลื่อนที่ครอบคลุมพื้นที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวน สุนันทา และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้แอพพลิเคชั่นการนาทางด้วยโทรศัพท์เคลื่อนที่ครอบคลุมพื้นที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ซึ่งเป็นแอพพลิเคชั่นที่ช่วยอานวยความสะดวกให้แก่ผู้ที่ต้องการติดต่อหน่วยงานสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา รวมทั้ง นักศึกษา และ บุคลากร สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ที่ไม่ทราบตาแหน่งของหน่วยงานที่ต้องการติดต่อ นอกจากนั้นโครงการวิจัยนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เพื่อสร้างความพึงพอใจและความประทับใจที่มีต่อมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ให้แก่บุคคลที่ต้องการติดต่อหน่วยงานสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
การนาทางด้วยโทรศัพท์เคลื่อนที่ครอบคลุมพื้นที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทานี้ เป็นการประยุกต์องค์ความรู้เกี่ยวกับ Mobile Navigation, Location Based Service (LBS) และ Fake GPS เพื่อนาทางภายในพื้นที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ในรูปแบบเสมือนหนึ่งว่ามีผู้นาทางส่วนตัวที่มีความชานาญทุกพื้นที่ในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา นอกจากนั้นงานวิจัยนี้ยังวิเคราะห์ความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่าง เกี่ยวกับความพึงพอใจ 5 ด้าน ประกอบด้วย Functional Requirement, Functional Capability, Usability, Security และ Integrity โดยรวบรวมความคิดเห็นจากแบบสอบถาม แล้ววิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ยเลขคณิตและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า
1. พัฒนาแอพพลิเคชั่นการนาทางด้วยโทรศัพท์เคลื่อนที่ครอบคลุมพื้นที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวน สุนันทาสาเร็จตรงตามความต้องการของผู้ใช้
2. ความคิดเห็นเกี่ยวกับความพึงพอใจ 5 ด้าน ที่มีต่อแอพพลิเคชั่นการนาทางด้วยโทรศัพท์เคลื่อนที่ครอบคลุมพื้นที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
- ด้าน Functional Requirement ความตรงตามความต้องการของผู้ใช้ อยู่ในเกณฑ์มาก
- ด้าน Functional Capability ความสามารถในการทางานได้ตามฟังก์ชันของแอพลิเคชั่น อยู่ในเกณฑ์มากที่สุด
- ด้าน Usability ความง่ายต่อการใช้งาน อยู่ในเกณฑ์มาก
- ด้าน Security การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล อยู่ในเกณฑ์มาก
- ด้าน Integrity Test ความสมบูรณ์ของแอพลิเคชั่น อยู่ในเกณฑ์มาก |