dc.contributor.author |
วศินารมณ์, มณิศา |
|
dc.creator |
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
TH |
dc.date.accessioned |
2015-06-17T09:33:32Z |
|
dc.date.available |
2015-06-17T09:33:32Z |
|
dc.date.issued |
2015-06-17 |
|
dc.identifier.issn |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
|
dc.identifier.uri |
http://hdl.handle.net/123456789/90 |
|
dc.description |
งานวิจัยงบประมาณรายได้มหาวิทยาลัย ปีงบประมาณ 2553 มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา |
th_TH |
dc.description.abstract |
การศึกษาเรื่องการพัฒนาทักษะนาฏศิลป์สู่ความศิลปินของนักศึกษาระดับปริญญาตรี
ชั้นปีที่ 4 สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์ไทย) คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ
สวนสุนันทา โดยใช้การจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแผนการจัดการเรียนรู้
แบบหลากหลาย วิชาศิลปนิพนธ์ เรื่อง การทดสอบมาตรฐานนาฏศิลปิน และตรวจสอบทักษะด้าน
นาฏศิลป์สู่ความเป็นศิลปินแบบหลวง ตามมาตรฐานหลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขา
ศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์ไทย) คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ตลอดจนสำรวจความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการพัฒนาทักษะด้านนาฏศิลป์สู่ความเป็นศิลปิน
แบบหลวง โดยพิจารณาพัฒนาการทักษะนาฏศิลป์ของนักศึกษา และการประเมินผลการทดสอบ
มาตรฐานนาฏศิลปินแบบหลวงของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักศึกษาที่จะนำเสนอผลงานการแสดง
มาตรฐานนาฏศิลปินในเดือนกันยายน 2553 ในความรับผิดชอบของผู้วิจัย 5 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม
ได้แก่ กลุ่มพัฒนาสู่ขั้นสูง พัฒนาตามคำแนะนำ และมีปัญหาในการนำเสนอ ซึ่งเก็บข้อมูลจากการ
สังเกตพฤติกรรมเชิงพัฒนาทักษะนาฏศิลป์ แบบบันทึกพัฒนาทักษะนาฏศิลป์เป็นรายบุคคล และ
แบบบันทึกสัมภาษณ์ก่อน-หลังพัฒนาทักษะนาฏศิลป์รายบุคคล โดยเกณฑ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์
ข้อมูล คือ พัฒนาการของนักศึกษาก่อน-หลังเรียน ประกอบผลการประเมินจากคณะกรรมการ
ผู้ทรงคุณวุฒิทางนาฏศิลป์ไทยภายนอกสาขาวิชาฯ
ผลการศึกษาพบว่า
1. การสร้างแผนจัดการเรียนรู้แบบหลากหลาย วิชาศิลปนิพนธ์ เรื่อง การทดสอบ
มาตรฐานศิลปินแบบหลวง สร้างขึ้นจากการวิเคราะห์หลักสูตร แบ่งเนื้อหาเป็น 4 ส่วน ได้แก่
การออกแบบสร้างสรรค์ทางนาฏศิลป์ไทย การทดสอบมาตรฐานนาฏศิลปินแบบหลวง การบริหาร
จัดการแสดง และการจัดทำรูปเล่มวิจัย โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบหลากหลาย และ เน้นผู้เรียน
www.ssru.ac.th
(2)
เป็นสำคัญ เพื่อตอบสนองความถนัด ความสนใจ ศักยภาพของนักศึกษารายบุคคล และ
ความต้องการของสังคม
2. ความแตกต่างของทักษะนาฏศิลป์ เนื้อหาของการเรียน และระยะเวลา
ในการฝึกหัดที่จำกัด ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะกับการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาเป็น
รายบุคคล การจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายโดยการผสมผสานวิธีการจัดการเรียนรู้
ตามความถนัด และความสนใจของผู้เรียน เป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถพัฒนาศักยภาพรายบุคคล
กลุ่ม เน้นเนื้อหา และลดระยะเวลาการศึกษา ปัจจัยที่สำคัญ คือ การบูรณาการทักษะนาฏศิลป์
ด้านต่างๆจนเกิดเอกภาพซึ่งนำไปสู่ความเป็นศิลปิน
3. ผลการสำรวจความคิดเห็นของนักศึกษา พบว่า นักศึกษาเกิดความภูมิใจ และ
ประทับใจที่ตนประสบความสำเร็จในการพัฒนาทักษะนาฏศิลป์ตามศักยภาพของตนเอง
เกิดความเข้าใจ เชื่อมั่น กล้าแสดงออกทั้งทางความคิด และผลงานการแสดง
ข้อเสนอแนะ
การพัฒนาทักษะนาฏศิลป์สู่ความเป็นศิลปินแบบหลวงของนักศึกษา โดยใช้
การจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย เพื่อบูรณาการความรู้และประสบการณ์ผู้เรียน ผู้สอนควรสำรวจ
พื้นฐานความรู้ ความสนใจ และความต้องการของผู้เรียน นอกจากนี้ควรมีจิตวิทยาการสอน โดย
นำไปใช้กับผู้เรียนได้ทุกวัย ซึ่งจะส่งผลต่อการเลือกวิธีการเรียนการสอนแบบผสมผสานและ
หลากหลายให้เหมาะกับผู้เรียน |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา |
th_TH |
dc.language |
TH |
TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
TH |
dc.relation.ispartofseries |
งานวิจัยปี 2553; |
|
dc.source |
งานวิจัยแหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2553 |
TH |
dc.subject |
การพัฒนาทักษะนาฏศิลป์ |
th_TH |
dc.subject |
นักศึกษา |
th_TH |
dc.subject |
สาขาศิลปะการแสดง |
th_TH |
dc.title |
การพัฒนาทักษะนาฏศิลป์สู่ความเป็นศิลปินของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์ไทย) คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยใช้การจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย |
th_TH |
dc.type |
Article |
th_TH |