Information Retrieval Systems of Research Institute at Saun Sunandha Rajabhat University >
งานวิจัยปีงบประมาณ 2560 >
งานวิจัยภาษาไทย >
แหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2560 >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://hdl.handle.net/123456789/1006
|
Title: | การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ของชุมชนบ้านเชียงแหล่งมรดกโลก จังหวัดอุดรธานี |
Authors: | ติยะพิพัฒน์, อิสรีย์ สีทามา, อกชัย พูลเพิ่ม, ขวัญข้าว กุลชาติธีรธรรม, กันต์กนิษฐ์ ต้นทับทิมทอง, นชวัล |
Issue Date: | 23-Nov-2018 |
Series/Report no.: | งานวิจัยปี 2560; |
Abstract: | งานวิจัยเรื่อง การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ชุมชนบ้านเชียงแหล่งมรดกโลก
จังหวัดอุดรธานี มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา คือ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่
เดินทางท่องเที่ยวแหล่งมรดกโลกบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของ
นักท่องเที่ยวไทยที่มาท่องเที่ยวแหล่งมรดกโลกบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี และ 3) เพื่อเสนอแนะการ
พัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ชุมชนบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ
นักท่องเที่ยวชาวไทยอายุ 20 ปีขึ้นไป เดินทางมาท่องเที่ยวยังพื้นที่แหล่งมรดกโลกบ้านเชียง ทำการ
เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวก (Purposive Sampling) จำนวน 400 คน และผู้ให้ข้อมูลหลักที่ใช้
ได้แก่ ผู้ให้ข้อมูลหลักซึ่งเป็นตัวแทนจากชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 8 คน โดยใช้วิธีการ
เลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือ การวิจัยเชิงปริมาณ คือ แบบสอบถาม และ
การวิจัยเชิงคุณภาพ คือ การประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) และการใช้บัตรคำ (Card
Techniques) เพื่อเรียงลำดับความสำคัญหรือความเร่งด่วนในการพัฒนา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้
สถิติพรรณนาร่วมกับ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การสังเคราะห์ ข้อมูลเนื้อหา
หรือสาระที่มีความเกี่ยวข้องกันและจัดหมวดหมู่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน แล้วนำเสนอในรูปความเรียง
ผลการวิจัยพบว่า นักท่องเที่ยวส่วนมากเป็นเพศชายและเพศหญิงใกล้เคียงกัน จบ
การศึกษาระดับปริญญาตรี สอดคล้องกับอายุของนักท่องเที่ยวช่วง 31 – 40 ปี มากที่สุด มีรายได้
ตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป ทำ อาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน และข้าราชการหรือพนักงาน
รัฐวิสาหกิจมากที่สุด โดยนักท่องเที่ยวเป็นคนจังหวัดอุดรธานีเดินทางท่องเที่ยวจังหวัดของตนเอง ร้อย
ละ 79.00 และมาจากกรุงเทพมหานคร ขอนแก่น หนองคาย สกลนคร และจังหวัดอื่น ๆ คิดเป็นร้อย
ละ 21.00 ด้านพฤติกรรมนักท่องเที่ยวที่เดินทางท่องเที่ยวแหล่งมรดกโลกบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี
พบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เคยเดินทางท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวแล้ว ร้อยละ 75.25 มี
วัตถุประสงค์ในการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อนหย่อนใจมากที่สุด ร้อยละ 53.00 เดินทางท่องเที่ยว
เป็นกลุ่ม 2-5 คน ร้อยละ 75.75 ซึ่งเป็นกลุ่มสมาชิกครอบครัว ร้อยละ 52.50 โดยใช้รถยนต์ส่วนตัว
เดินทางท่องเที่ยว ร้อยละ 80.50 ใช้งบประมาณในการท่องเที่ยวไม่เกิน 2,000 บาทต่อคน ร้อยละ
73.75 ทราบข้อมูลท่องเที่ยวจากอินเทอร์เน็ตมากที่สุด ร้อยละ 33.50 โดยนักท่องเที่ยวนิยมเดินทาง
มาท่องเที่ยวแหล่งมรดกโลกบ้านเชียงแบบไม่ค้างคืน ร้อยละ 91.00 โดยกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวตั้งใจ
มาทำที่แหล่งมรดกโลกบ้านเชียงเป็นอันดับแรกเมื่อมาถึงคือ การเที่ยวชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
บ้านเชียง และหลุมขุดค้น จังหวัดอุดรธานี 48.25 รองลงมาคือ เดินซื้อสินค้าที่ระลึก เช่น ผ้าย้อมคราม ร้อยละ 22.75 ทำกิจกรรมปั้นหม้อเขียนลายไห ร้อยละ 3.75 ศึกษาวิถีชีวิตชุมชนไทพวน ร้อย
ละ 1.75 ด้านความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางท่องเที่ยวแหล่งมรดกโลกบ้านเชียง
พบว่า นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ( = 4.37) เมื่อแยกตามองค์ประกอบของการ
ท่องเที่ยว (5A’s) พบว่า นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจด้านความดึงดูดใจในการท่องเที่ยว (Attraction)
มากที่สุด ( = 4.59) รองลงมาคือ ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว (Activity) ( = 4.50) ด้านการเข้าถึง
(Accessibility) ( = 4.28) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก (Amenity) ( = 4.27) และน้อยที่สุดคือ
ด้านที่พัก (Accommodation) ( = 4.21)
ผลการวิจัยการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ชุมชนบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี ได้แก่
การนำเสนอความวิถีชีวิตที่ของชุมชนในแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ควบคู่กับการทำกิจกรรม
การท่องเที่ยว เช่น การนำลายไหในอดีต มาเป็นแบบหรือลายเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ทดลองวาดไห
เป็นต้น การตกแต่งสถานที่ในเส้นทางการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวด้วยงานหัตถกรรมในท้องถิ่นมา
ตกแต่งตั้งแต่เส้นทางเข้าแหล่งท่องเที่ยว การจัดสิ่งอำนวยความสะดวก และที่พักให้ดูกลมกลืนกับ
แหล่งท่องเที่ยว ด้วยการนำลวดลายไห ตัวไห หรือผ้าทอมาตกแต่ง เช่น ป้ายแนะนำ ห้องน้ำ ถังขยะ
เป็นต้น นอกจากนี้ ด้านที่พัก นักท่องเที่ยว ได้ร่วมกันปรุงอาหารของชาวไทพวน ตลอดจนการจัด
กิจกรรมให้นักท่องเที่ยวใส่ชุดชาวไทพวนถ่ายภาพ และร่วมทำกิจกรรมการท่องเที่ยวและช่วงงาน
เทศกาลประเพณีของชุมชน โดยมีพี่เลี้ยงคือคนในชุมชนเองถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และประสบการณ์
ให้แก่นักท่องเที่ยว |
Description: | งานวิจัยงบประมาณรายได้มหาวืทยาลัย ปีงบประมาณ 2560 มหาลัยราชภัฎสวนสุนันทา |
URI: | http://hdl.handle.net/123456789/1006 |
Appears in Collections: | แหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2560
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|