DSpace About DSpace Software
 

Information Retrieval Systems of Research Institute at Saun Sunandha Rajabhat University >
งานวิจัยปีงบประมาณ 2561 >
งานวิจัยภาษาไทย >
แหล่งทุนภายนอก ปีงบประมาณ 2561 >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1207

Title: การพัฒนาสังคมแห่งความสุขตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงบนพื้นที่ผลกระทบนาข้าวและนาเกลือด้วยการมีส่วนรวมของประชาชน อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี
Authors: ภูคำชะโนด, ภูสิทธ์
Issue Date: 13-Dec-2018
Series/Report no.: งานวิจัยปี 2561;
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้กําหนดวัตถุประสงค์เพื่อสํารวจภูมิสังคม ปัญหาเดิมและปัญหาใหม่ในพื้นที่ ได้รับผลกระทบตลอดเส้นทางสายน้ํา 3 สาย ได้แก่ ลําห้วยหลวง ลําห้วยสงคราม ล้ําห้วยทวน และ 2 นา ได้แก่ นาข้าวและนาเกลือ วิเคราะห์การมีส่วนร่วมในการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาการรุกล้ํา ของน้ําเค็มจากการผลิตนาเกลือสินเธาว์ และการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการ ดํารงชีวิตของประชาชน รวมถึงเพื่อสร้างภาพในอนาคต รูปแบบและแนวทางการพัฒนาสังคมแห่ง การดํารงชีวิตอย่างมีความสุขของการอยู่ร่วมกันของประชาชนผู้ทํานาข้าวและนาเกลือ โดยทําการเก็บ ข้อมูลด้วยแบบสอบถามจาก 400 กลุ่มตัวอย่าง และทําการสัมภาษณ์นักพัฒนาชุมชน เกษตรอําเภอ บ้านดุง ผู้ประกอบการนาเกลือ ผู้นําชุมชน และประชาชน จํานวน 30 คน พบว่า พื้นที่ของอําเภอ บ้านดุงมีประวัติความเป็นมายาวนานกว่า 4,000 ปีเทียบเคียงกับอารยธรรมบ้านเชียง ซึ่งแต่เดิมเป็น ป่าไม้ใหญ่ที่อุดมสมบูรณ์ทั้งต้นดุงใหญ่และยางใหญ่รวมถึงสัตว์ป่าหลากหลายชนิด โดยบ้านดุงใหญ่ เป็นพื้นที่ตั้งบ้านเรือนแต่เริ่มต้น จนได้มีการยกฐานะจาก 3 ตําบล คือ ตําบลบ้านดุง ตําบลบ้านจันทน์ และตําบลดงเย็น เป็น "กิ่งอําเภอบ้านดุง" และเป็น "อําเภอบ้านดุง" เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 ทางราชการ ปัจจุบันในพื้นที่มีการทํานาเกลืออยู่ 4 ตําบล คือ ตําบลบ้านดุง ตําบลโพนสูง ตําบลศรีสุทโธ และตําบลบ้านชัยที่ส่งผลกระทบต่อตําบลนาคําอย่างมาก กําเนิดเป็นเมือง 3 น้ํา คือ น้ําเค็ม น้ํากร่อยและน้ําจืดบนที่ราบสูง ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธอย่างมั่นคง ประกอบ อาชีพเกษตรกรรม เป็นชาวนา ชาวไร่ อยู่ร่วมกันมาไม่น้อยกว่า 21 ขึ้นไป มีรายได้และรายจ่ายต่อ เดือนไม่เกิน 5,000 บาท และมากกว่าร้อยละ 80 เป็นเจ้าของที่ดินมีธุรกิจหรือการประกอบอาชีพใน ชุมชน และเป็นสมาชิกกองทุนชุมชนและชุมชนเมืองมากที่สุด พร้อมกันนั้นผู้คนมีเพื่อนบ้านที่สนิท สนมคุ้นเคยกันภายในชุมชนและพบปะพูดคุยกันตลอดเวลา ซึ่งกิจกรรมทางสังคมและศาสนาที่ ประชาชนเข้าร่วมประจํา คือ วันสงกรานต์ วันเข้าพรรษา วันมาฆบูชา วันออกพรรษา วันแม่วันพ่อ วันวิสาขบูชา พัฒนาชุมชน และงานประเพณีของทางวัดประจําชุมชน ทําให้ผู้คนมีความผูกพันต่อ (2) ชุมชนที่อาศัยอยู่ ณ ปัจจุบันมาก ทั้งเรื่องความผูกพันในสถานที่ มีความรู้สึกว่าเป็นบ้าน ชุมชนที่อาศัยอยู่ ณ ปัจจุบันมาก ทั้งเรื่องความผูกพันในสถานที่ มีความรู้สึกว่าเป็นบ้าน และ ความรู้สึกรักชุมชนซึ่งสามารถสร้างความกลมเกลียวเหนี่ยวแน่นของคนในชุมชนได้เป็นอย่างดี ครั้น เมื่อต้องการแก้ไขปัญหาการรุกล้ําของน้ําเค็มจากการผลิตนาเกลือสินเธาว์ ประชาชนให้ความร่วมมือดี มีส่วนร่วมมาก โดยเฉพาะด้านการร่วมรับรู้และเข้าใจ ด้านการร่วมคิดและแสดงความคิดเห็น แต่ขาด การลงมือทํา การร่วมดําเนินการอยู่เพียงในระดับปานกลางหย่อนลงมาในระดับน้อย ส่วนการปฏิบัติ ในกิจกรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เป็นระดับบุคคลและครัวเรือนอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะด้านการเอื้ออาทร เกื้อกูลต่อกัน ด้านการใช้และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม รวมถึงการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดํารงชีวิตอยู่ในระดับมาก เช่นกันโดยเฉพาะด้านจิตใจ และการตระหนักในคําว่า “พอ” พัฒนาตนเอง ไม่เบียดเบียนและพึง พอใจในชีวิตที่พอเพียง แต่ถึงอย่างไรปัญหาเชิงพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการทํานาเกลือยังคงอยู่ ดังนั้นประชาชนต้องปรับตัวตามสภาวะที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา พร้อมกับต้องปรับตัวที่จะต้องค้นหา นวัตกรรม หรือผลผลิต หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ สําหรับการนําเกลือมาสร้างมูลค่าเพิ่ม แต่ต้องเกิดขึ้น จากความต้องการของประชาชนทั้งที่เป็นผู้ประกอบการและผู้อยู่ในพื้นที่ผลกระทบ และแนวทางที่ สําคัญที่สุดแห่งการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขที่ยั่งยืน คือ การสร้างมูลค่าแก่แผ่นดินของทุกองคาพยพ ต้องมีส่วนร่วมกันให้เกิดการสร้างแผ่นดินนาเกลือให้เป็นพื้นที่บ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ที่ในการชี้แนะของ นักวิจัย คือ พื้นที่บ่งชี้ความสุขทางภูมิศาสตร์ นําไปสู่การสร้างสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์แบบมีส่วนร่วมให้ เกิดความยั่งยืนได้ และอาจผลักดันให้เกิด GI Bandung Model ต่อไปในอนาคต นอกจากนี้ต้อง ค้นหากลไกสําคัญในการขับเคลื่อนรูปแบบ 3 ประสาน 4 เสา 9 บูรณาการ 1 ฐานราก:เงื่อนไขภายใต้ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้เดินหน้าไปสู่การเป็นชุมชนประชารัฐที่มีความสุขอย่างยั่งยืน
Description: งานวิจัยงบประมาณรายได้แผนดิน ปีงบประมาณ 2560 มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
URI: http://hdl.handle.net/123456789/1207
Appears in Collections:แหล่งทุนภายนอก ปีงบประมาณ 2561

Files in This Item:

File Description SizeFormat
01 cover (60).pdfปกนอก19.65 kBAdobe PDFView/Open
02 cover in (60).pdfปกใน16.1 kBAdobe PDFView/Open
03 Thai apstract (60).pdfบทคัดย่อ63.14 kBAdobe PDFView/Open
04 Abstract.pdfAbstract24.38 kBAdobe PDFView/Open
05 Acknowledgments (60).pdfกิตติกรรมประกาศ28.42 kBAdobe PDFView/Open
06 content (60).pdfสารบัญ34.16 kBAdobe PDFView/Open
09 chapter 1 introduction (60).pdfบทที่1280.01 kBAdobe PDFView/Open
10 chapter 2 literature(60).pdfบทที่21.81 MBAdobe PDFView/Open
11 chapter 3 Research method (60).pdfบทที่3272.16 kBAdobe PDFView/Open
12 chapter 4 research result- Social Context (60).pdfบทที่4931.88 kBAdobe PDFView/Open
12 chapter 5 reseach result-participation (60).pdfบทที่5622.43 kBAdobe PDFView/Open
13 chapter 6 SE application (60).pdfบทที่6653.76 kBAdobe PDFView/Open
14 chapter 7 conclusion (60).pdfบทที่7268.06 kBAdobe PDFView/Open
15 bibliography (60).pdfบรรณานุกรม172.64 kBAdobe PDFView/Open
16 Appendix A (60).pdfภาคผนวก ก382.21 kBAdobe PDFView/Open
17 Appendix B (60).pdfภาคผนวก ข644.65 kBAdobe PDFView/Open
18 Researcher profile (60).pdfประวัติผู้วิจัย229.39 kBAdobe PDFView/Open
07 table content (60).pdfสารบัญตาราง77.53 kBAdobe PDFView/Open
08 pic content (60).pdfสารบัญภาพ62.69 kBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

Valid XHTML 1.0! DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback