Information Retrieval Systems of Research Institute at Saun Sunandha Rajabhat University >
งานวิจัยปีงบประมาณ 2561 >
งานวิจัยภาษาไทย >
แหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2561 >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://hdl.handle.net/123456789/1743
|
Title: | การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนา การจัดการขยะชุมชนและสิ่งแวดล้อม ศึกษากรณีเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร |
Authors: | วุฒิวรดิษฐ์, ดร. สืบสวัสดิ์ จักรภัทรวงศ์, ดร. สัณหณัฐ กัลยาณมิตร, ดร.กีรติวรรณ ชยนนท์, พลตารวจโท ดร. สัณฐาน ศรีสอน, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วิจิตรา ประกายสาธก, พันตารวจเอก ดร. สุริยะ |
Keywords: | การมีส่วนร่วม, ชุมชน, การจัดการขยะ, สิ่งแวดล้อม |
Issue Date: | 28-Feb-2019 |
Series/Report no.: | งานวิจัยปี 2561; |
Abstract: | การศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนา การจัดการขยะชุมชนและสิ่งแวดล้อม ศึกษากรณีเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นกรอบในการศึกษาตามประเด็นวัตถุประสงค์หลักในการศึกษา 3 ประเด็นคือ 1).เพื่อศึกษาแนวทางในการบริหารจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมของชุมชนเพื่อการท่องเที่ยว 2).เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมของชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวที่ยังยืน ศึกษากรณี เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร และ3).เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมของชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ผลการศึกษาพบว่า
แนวทางในการบริหารจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมของชุมชน พบว่าแนวทางและมาตรการในการกาจัดมูลฝอยของประชาชนในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ส่วนราชการสังกัดกรุงเทพมหานครได้มีการส่งเสริมให้ประชาชนจัดการขยะมูลฝอยในชุมชนของตนเอง โดยใช้หลักการจัดการขยะมูลฝอยโดยชุมชน (Community Based Solid Waste Management :CBM) ด้วยการส่งเสริมให้คนในชุมชนคัดแยกขยะรีไซเคิลขาย เศษอาหารทาปุ๋ยไว้ใช้เองหรือแจกจ่ายเพื่อนบ้าน บริหารจัดการถังขยะในบ้าน โดยทิ้งตามวันเวลากาหนด โดยนัดวันเวลาเก็บขยะกับสานักงานเขต ลดขยะที่ต้องนาไปกาจัด ผลของมาตรการในการจัดการมูลฝอยของประชน โดยนากระบวนการจัดการขยะมูลฝอยโดยชุมชนมาใช้ แสดงให้เห็นถึงการให้ความสาคัญกับคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาขยะ อันก่อให้เกิดโครงการ “โครงการจัดการขยะและน้าเสียโดยชุมชน โครงการรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อชุมชนยิ้มสดใส” เป็นต้น
การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมของชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ศึกษากรณี ชุมชนถนนข้าวสาร ในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร พบว่า 1).กระบวนการการตัดสินใจพบว่า ชุมชนควรเสนอปัญหาและ ความต้องการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนร่วมกับกันร่วมวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการ ของประชาชนในชุมชนเพื่อจัดทาโครงการ/กิจกรรมการจัดการขยะมูลฝอยและให้ข้อมูลเกี่ยวกับ ชุมชนของตนเองแก่เจ้าหน้าที่เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของชุมชน ร่วมในการ วางแผนงาน/โครงการเพื่อแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในชุมชน 2).การดาเนินโครงการพบว่า ประชาชนมีส่วนร่วมปฏิบัติ
(2)
กิจกรรมในชุมชนเกี่ยวกับการรณรงค์และร่วมเก็บขยะมูลฝอยในชุมชน และหน่วยงานภาครัฐให้การสนับสนุนงบประมาณแก่ชุมชนในการรักษาความสะอาดภายในบริเวณชุมชนเป็นประจาทุกปี และ ขอความร่วมมือให้ประชาชนในชุมชนคัดแยกประเภทขยะ 3).การรับผลประโยชน์ พบว่า ในปัจจุบัน มีสื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ รณรงค์ให้มีการลดภาวะโลกร้อนประชาชนในชุมชนจึง ตระหนักถึงการทาให้เกิดขยะน้อยที่สุด และ4).การประเมินผลโครงการพบว่าประชาชนมีความคิดเห็นว่าการบริหาร จัดการขยะมูลฝอยในชุมชน เป็นภารกิจงานประจาของสานักเขตจะต้องดาเนินการให้บริเวณชุมชน มีความสะอาด ประชาชนจึงไม่ได้ให้ความสนใจในการประเมินผล การเก็บ ขนส่ง ลาเลียงและการกาจัดขยะมูลฝอยของรถเก็บขยะของสานักงานเขต
ปัญหาและอุปสรรคของการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมของชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน พบว่า ชุมชนมีปัญหาการมีส่วนร่วมในการคิดวิธีกาจัดขยะในชุมชนของชุมชนเอง ซึ่งชุมชนยังไม่ตระหนักถึงความสาคัญหรือปริมาณขยะที่เพิ่มมากขึ้น |
Description: | งานวิจัยงบประมาณรายได้มหาวิทยาลัย ปีงบประมาณ2561 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
URI: | http://hdl.handle.net/123456789/1743 |
Appears in Collections: | แหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2561
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|