Information Retrieval Systems of Research Institute at Saun Sunandha Rajabhat University >
ประชุมวิชาการระดับชาติ >
การประชุมวิชาการระดับชาติ "การเรียนรู้ด้านมนุษยศาสตร์และด้านสังคมศาสตร์" ครั้งที่ 3 >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://hdl.handle.net/123456789/1804
|
Title: | มาตรการทางกฎหมายในการป้องกันและคุ้มครองผู้ป่วยภาวะซึมเศร้า : ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายต่างประเทศ |
Authors: | ณ ศรีสุข, ปัทมา มีบัว, สุรศักดิ์ |
Keywords: | ผู้ป่วยภาวะซึมเศร้า โรคซึมเศร้า พระราชบัญญัติสุขภาพจิต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 |
Issue Date: | 12-Dec-2019 |
Series/Report no.: | -;NACHSL-2019_O_46 |
Abstract: | เนื่องจากปัจจุบันสังคมมีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยไม่ว่าจะเป็นทางเศรษฐกิจ สังคมและเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาและขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้การดำรงชีวิตและสภาพความเป็นอยู่ที่ต้องต่อสู้ดิ้นรน มีการแข่งขันทางด้านการศึกษาและการทำงาน เพื่อให้ชีวิตมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สิ่งเหล่านี้นำไปสู่ความเครียด ความวิตกกังวล และการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์อย่างรวดเร็วก่อให้เกิดปัญหาทางด้านสุขภาพจิตตามมา ได้แก่ การเกิดภาวะซึมเศร้า การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อแนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับการป้องกันและคุ้มครองผู้ป่วยภาวะซึมเศร้าของประเทศไทยเปรียบเทียบต่างประเทศและ 2. เพื่อสังเคราะห์มาตรการทางกฎหมายในการป้องกันและคุ้มครองผู้ป่วยภาวะซึมเศร้าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)
ผลการศึกษาพบว่า แม้พระราชบัญญัติสุขภาพจิต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 มาตรา 10(1)(2) กำหนดให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ในการป้องกันและคุ้มครองสิทธิของบุคคลที่มีความผิดปกติทางจิต ซึ่งภาวะซึมเศร้าเป็นความผิดปกติของจิตใจที่อยู่ในขอบเขตการป้องกันและคุ้มครองสิทธิตามพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตาม แม้ได้บัญญัติไว้ในส่วนของการป้องกันและคุ้มครองไว้ แต่ยังไม่ชัดเจนเนื่องจากไม่มีการขยายความของการป้องกันและคุ้มครองว่าควรเป็นไปในทิศทางใด ผู้เขียนเห็นว่าควรมีการเพิ่มเติมมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันและคุ้มครองผู้ป่วยภาวะซึมเศร้า โดยการขยายหน้าที่ของกรรมการฯ ในการป้องกันและการคุ้มครองภาวะซึมเศร้าให้ชัดเจนและครอบคลุมมากขึ้น ส่วนมาตรการทางสังคมควรโดยนำหลักการของการเข้าถึงโรงเรียนและสถาบันการศึกษา เพื่อให้นักศึกษาได้เข้ารับการดูแลเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะซึมเศร้า หรือเมื่อได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี รวมถึงกำหนดให้หน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่เข้าถึงผู้หญิงที่มีการตั้งครรภ์ โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดูแลหญิงตั้งครรภ์ทั้งในส่วนของสภาวะจิตใจ ร่างกาย และความเป็นอยู่ในครอบครัว เพื่อลดภาวะความเสี่ยงหรือผลกระทบที่จะมาตาม |
Description: | - |
URI: | http://hdl.handle.net/123456789/1804 |
ISSN: | - |
Appears in Collections: | การประชุมวิชาการระดับชาติ "การเรียนรู้ด้านมนุษยศาสตร์และด้านสังคมศาสตร์" ครั้งที่ 3
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|