DSpace About DSpace Software
 

Information Retrieval Systems of Research Institute at Saun Sunandha Rajabhat University >
งานวิจัยปีงบประมาณ 2554 >
งานวิจัยภาษาไทย >
แหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2554 >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/182

Title: อัตลักษณ์ลวดลายเบญจรงค์ไทย
Authors: นิยมรัตน์, ฤดี
Keywords: อัตลักษณ์
เบญจรงค์ไทย
ลวดลาย
Issue Date: 20-Jun-2015
Publisher: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
Series/Report no.: งานวิจัยปี 2554;
Abstract: การศึกษาเรื่องอัตลักษณ์ลวดลายเบญจรงค์ไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาความเป็นมาและวิวัฒนาการของลวดลายเบญจรงค์ ค้นหาอัตลักษณ์ลวดลายเบญจรงค์ไทย และจัดทาภาพต้นแบบลวดลายเบญจรงค์ไทย ในการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้การวิเคราะห์จากลวดลายบนเครื่องเบญจรงค์จริง และภาพถ่ายจากหนังสือ พิพิธภัณฑ์ สถานประกอบการ ร้านจาหน่าย และจากการสัมภาษณ์ นาสู่การค้นหาอัตลักษณ์ของลวดลายเบญจรงค์ หลังจากนั้นจัดทาภาพต้นแบบลายเบญจรงค์ไทย โดยการเขียนลาย และเขียนสีลงบนแผ่นกระเบื้องสีขาวโดยช่างฝีมือ เผาสี ตามกระบวนการของการผลิตเครื่องเบญจ-รงค์ไทย ผลการศึกษาพบว่า 1. เครื่องเบญจรงค์เป็นศิลปะไทย-จีนที่มีเอกลักษณ์ความเป็นไทยมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยในสมัยแรกนี้ลวดลายของเครื่องเบญจรงค์ได้รับอิทธิพลตามแบบศิลปะของจีน มีการประยุกต์ลวดลายแบบจีนร่วมกับแบบของไทย ซึ่งลวดลายที่มีความนิยมมากในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้แก่ลายเทพ-นม และลายนรสิงห์ มีลายประกอบคือลายช่อเปลวที่มีลักษณะเหมือนลายเปลวไฟของจีน พื้นลายนิยมลงสีดา เขียนลายลูกคั่นที่ขอบปากเป็นแถบสีแดง ลายดอกไม้สลับใบไม้ และที่สาคัญคือนิยมเขียนลายลูกคั่นที่ขอบปากด้านในของชาม และยังคงลักษณะเช่นนี้จนถึงสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แต่มีการประดิษฐ์ลวดลายใหม่ประกอบลายเทพนม ได้แก่ ลายครุฑ ลายราชสีห์ ลายหน้าสิงห์ รวมทั้งมีลายหลักที่มีการผูกลายขึ้นใหม่ได้แก่ ลายกินรี ลายหนุมาน ลายกลีบบัว ส่วนภาพประกอบลายที่นิยมคือลายก้านขดสีเขียวอมฟ้า และไม่เขียนลายลูกคั่นที่ปากชามด้านใน สมัยรัชกาลที่ 2–3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เริ่มมีความนิยมเครื่องลายน้าทอง จึงมีลวดลายใหม่สาหรับการเขียนเครื่องลายน้าทอง ซึ่งเป็นลายที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะของจีน เช่น ลายดอกกุหลาบ ประกอบลายผีเสื้อ นก และดอกไม้ ใบไม้ ที่มีลักษณะเลียนแบบธรรมชาติเพิ่มมากขึ้น ในสมัยรัชกาลที่ 4 เครื่องเบญจรงค์ลดความนิยมลง และในสมัยรัชกาลที่ 5 ถือเป็นยุคสุดท้ายของเครื่องเบญจ-รงค์ แต่ก็มีการผลิตเครื่องเบญจรงค์ได้ในประเทศไทย ซึ่งลวดลายในสมัยนี้เป็นลายน้าทองประเภทลายเครือเถา ลายดอกพุดตาน และลายเกล็ดกระดองเต่า รวมทั้งลวดลายที่เป็นเรื่องราวตามแบบตะวันตก แต่มีเอกลักษณ์ความเป็นไทยคือเป็นลายไทยจากเรื่องราวของวรรณคดีไทย 2. ลวดลายเบญจรงค์เป็นลายไทยที่แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ 1) ลวดลายเบญจรงค์ในกลุ่มเทพ-นมประกอบลายต่าง ๆ และลายไทยรูปสัตว์ 2) ลวดลายเบญจรงค์ในกลุ่มลายพรรณพฤกษา และ 3) ลวดลายเบญจรงค์ในกลุ่มลายผ้ายก ซึ่งแม้ว่าลายที่ใช้เขียนจะเป็นลายเดียวกัน ช่างเขียนแต่ละคนก็สามารถผูกลายได้แตกต่างกัน แต่ทั้งนี้ลวดลายที่ใช้เขียนเครื่องเบญจรงค์ก็มีเอกลักษณ์ที่แสดงออกถึง ความเป็นไทยทั้งด้านความเชื่อ วัฒนธรรม ความเป็นอยู่ แม้ว่าจะไม่ใช่ลายของไทยก็ตาม ส่วนการลงสี นั้นส่วนมากมีลักษณะเป็นสีทึบไม่มีมิติ ใช้สีตัดกัน แต่สามารถใช้สีขาวเพื่อไล่สีอ่อน-แก่ และนิยมการตัดเส้นไม่ว่าจะตัดเส้นด้วยสีเข้ม หรือสีทอง ข้อเสนอแนะ 1. การผูกลายสาหรับการเขียนเครื่องเบญจรงค์ สามารถเลือกลายหลัก ลายประกอบ และลายลูกคั่นได้อย่างหลากหลายแต่ทั้งนี้ลวดลายที่ใช้ควรแสดงเอกลักษณ์ความเป็นไทยและสามารถอธิบายที่มาของลวดลายได้ 2. ควรศึกษาทดลองการทาสีทองหรือวัตถุดิบทดแทนเพื่อลดต้นทุนการผลิต แต่ยังทรงคุณค่าของเครื่องเบญจรงค์ รวมทั้งศึกษาแนวทางการพัฒนาลวดลายเครื่องเบญจรงค์เพื่อใช้งานให้เหมาะสมในวัสดุชนิดอื่น ๆ เช่น ลายผ้า กระดาษห่อของขวัญ ตราสัญลักษณ์ เป็นต้น เพื่อเป็นการส่งเสริมเอกลักษณ์ความเป็นไทย
Description: งานวิจัยงบประมาณรายได้มหาวิทยาลัย ปีงบประมาณ 2554 มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
URI: http://hdl.handle.net/123456789/182
Appears in Collections:แหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2554

Files in This Item:

File Description SizeFormat
ird_082-54.pdfปก120.65 kBAdobe PDFView/Open
ird_082-54 (1).pdfบทคัดย่อ305.9 kBAdobe PDFView/Open
ird_082-54 (2).pdfabstract274.07 kBAdobe PDFView/Open
ird_082-54 (3).pdfกิตติกรรมประกาศ359.29 kBAdobe PDFView/Open
ird_082-54 (4).pdfบทที่ 1325.35 kBAdobe PDFView/Open
ird_082-54 (5).pdfบทที่ 2555.35 kBAdobe PDFView/Open
ird_082-54 (6).pdfบทที่ 3292.55 kBAdobe PDFView/Open
ird_082-54 (7).pdfบทที่ 49.25 MBAdobe PDFView/Open
ird_082-54 (8).pdfบทที่ 5312.78 kBAdobe PDFView/Open
ird_082-54 (9).pdfบรรณานุกรม363.24 kBAdobe PDFView/Open
ird_082-54 (10).pdfภาคผนวก1.12 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

Valid XHTML 1.0! DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback