Information Retrieval Systems of Research Institute at Saun Sunandha Rajabhat University >
ประชุมวิชาการระดับชาติ >
การประชุมวิชาการระดับชาติ "การเรียนรู้ด้านมนุษยศาสตร์และด้านสังคมศาสตร์" ครั้งที่ 3 >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://hdl.handle.net/123456789/1899
|
Title: | พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากยาเสพติดของ ของนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
Authors: | สายทองสุก, ดนิตา สว่างวงศ์, บุญวัฒน์ สุรขันธ์, ธัญชนก |
Keywords: | ความรู้ความเข้าใจเรื่องยาเสพติด พฤติกรรมป้องกันตนเองจากยาเสพติด |
Issue Date: | 13-Dec-2019 |
Series/Report no.: | -;NACHSL-2019_O_228 |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ความเข้าใจเรื่องยาเสพติดและพฤติกรรมป้องกันยาเสพติดของนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ลงทะเบียนในปีการศึกษา 2561 ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ภาคปกติมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กลุ่มตัวอย่างในครั้งนี้มีจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การแจกแจงความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบค่าที (T-test) ทดสอบความแปรปวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และถ้าพบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรายู่จะทดสอบด้วยวิธีของ LSD (Least Significant Difference)
ผลวิจัยพบว่า
1. ผลการวิจัยเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจเรื่องยาเสพติด พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนมากได้รับความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด โดยได้รับความรู้จากสื่อ 3 ลำดับ คือ สื่ออินเตอร์เน็ต บุคคลใกล้ชิด เพื่อน/อาจารย์/ผู้ปกครอง และ วิทยุ/โทรทัศน์ และรู้จักยาเสพติดมากที่สุด 3 ลำดับ คือ ยาบ้า กัญชาและกระท่อม ซึ่งกลุ่มตัวอย่างส่วนมากไม่เคยถูกชักชวนให้ลองยาเสพติดและไม่ทราบว่าเพื่อนของตนเองนั้นเสพยาเสพติด โดยมีกลุ่มตัวอย่างจำนวนหนึ่งที่รู้ว่าเพื่อนบางคนเสพยาเสพติดและทราบว่าวิธีการกินเป็นวิธีการเสพยาเสพติดที่เพื่อนใช้กันมากที่สุด และสาเหตุที่ทำให้กลุ่มตัวอย่างจำนวนหนึ่งติดยาเสพติดมากที่สุดคือ การอยากลอง โดยมีความคิดเห็นว่ายาเสพติดมีผลกระทบต่อตนเองมากที่สุด
2. ผลการวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมป้องกันตนเองจากยาเสพติดพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนมากมีระดับพฤติกรรมที่มีต่อการป้องกันยาเสพติดในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า นักศึกษามีความรู้เรื่องพิษภัยของยาเสพติดจึงทำให้นักศึกษาไม่เข้าไปเกี่ยวข้อง มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ นักศึกษาจะปฏิเสธทันทีเมื่อเพื่อนชักชวนให้ไปเสพยาเสพติด นักศึกษามีการป้องกันตนเองด้วยการปฏิเสธจากยาเสพติด นักศึกษามีความระมัดระวังเวลาเจอคนแปลกหน้า เมื่อนักศึกษาเครียดจะใช้วิธีอื่นแทนการเสพยา นักศึกษาจะเลือกคบเพื่อนที่ไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด และค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ นักศึกษาหลีกเลี่ยงต่อการใช้ยาเสพติด เช่น เที่ยวกลางคืน |
Description: | - |
URI: | http://hdl.handle.net/123456789/1899 |
ISSN: | - |
Appears in Collections: | การประชุมวิชาการระดับชาติ "การเรียนรู้ด้านมนุษยศาสตร์และด้านสังคมศาสตร์" ครั้งที่ 3
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|