Information Retrieval Systems of Research Institute at Saun Sunandha Rajabhat University >
งานวิจัยปีงบประมาณ 2553 >
งานวิจัยภาษาไทย >
แหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2553 >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://hdl.handle.net/123456789/42
|
Title: | การสังเคราะห์และออกแบบวงจรกาเนิดสัญญาณซายน์แบบควอเดรเจอร์โหมดกระแสโดยใช้ CCCDTA และการประยุกต์ใช้งานกับการศึกษาด้านการออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ |
Authors: | ใจกล้า, วินัย |
Keywords: | วงจรกำเนิดสัญญาณซายน์ CCCDTA วงจรอิเล็กทรอนิกส์ |
Issue Date: | 6-Jun-2015 |
Publisher: | สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
Series/Report no.: | งานวิจัยปี 2553; |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สังเคราะห์และออกแบบวงจรกำเนิดสัญญาณซายน์
แบบควอเดรเจอร์โหมดกระแสที่สามารถปรับความถี่ได้ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (2) วิเคราะห์
และเปรียบเทียบสมรรถนะของวงจรกำเนิดสัญญาณซายน์ที่ได้ออกแบบไว้ในทางทฤษฏีกับการ
จำลองด้วยโปรแกรม PSpice และการทดลองจริง (3) สร้างและหาประสิทธิภาพชุดการสอน เรื่อง
การออกแบบวงจรกำเนิดสัญญาณซายน์แบบควอเดรเจอร์โหมดกระแสโดยใช้ CCCDTA
วงจรกำเนิดสัญญาณแบบควอเดรเจอร์โหมดกระแสที่นำเสนอใช้ CCCDTA เป็นอุปกรณ์
แอกทีฟ จุดเด่นของวงจรที่นำเสนอคือ สามารถปรับความถี่และเงื่อนไขในการกำเนิดสัญญาณได้
ด้วยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ โครงสร้างของวงจรไม่ซับซ้อนประกอบไปด้วย CCCDTA จำนวน 1 ตัว
และตัวเก็บประจุที่ต่อลงกราวนด์อีก 2 ตัว โดยไม่ต้องใช้ตัวต้านทานภายนอกและใช้เพียงอุปกรณ์
ที่ต่อลงกราวนด์ วงจรที่นำเสนอจึงเหมาะที่จะนำไปพัฒนาเป็นวงจรรวม อีกทั้งความต้านทานที่
เอาต์พุตของวงจรมีค่าสูง จึงสามารถนำไปต่อคาสเคดในโหมดกระแสได้โดยง่ายโดยไม่ต้องใช้วงจร
กันชนกระแส
ผลการจำลองด้วยโปรแกรม PSpice พบว่าที่ความถี่ในการกำเนิดสัญญาณเท่ากับ
590.59kHz มีค่าผิดเพี้ยนทางฮาร์มอนิกส์ (THD) เท่ากับ 2.94% วงจรมีอัตราดึงกำลังงานไฟฟ้า
เฉลี่ย 4.36mW ที่แหล่งจ่ายแรงดัน ±2.5V นอกจากนี้ยังพบว่าผลการจำลองและการทดลองจริง
สอดคล้องตามที่คาดการณ์ไว้ในทางทฤษฎี
เพื่อเป็นการนำองค์ความรู้ที่ได้จากการสังเคราะห์และออกแบบวงจรสมัยใหม่จึงนำชุดการ
สอนที่สร้างขึ้นไปถ่ายทอดให้กับกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 2 และ 3
สาขาวิชาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
จำนวน 25 คน ด้วยการเลือกแบบเจาะจง ก่อนเรียนในแต่ละเรื่องจะให้กลุ่มตัวอย่างทำ
แบบทดสอบก่อนเรียน เมื่อกลุ่มตัวอย่างเรียนจบในแต่ละเรื่องแล้วจึงทำแบบทดสอบหลังเรียนและเมื่อจบทุกเรื่องแล้วให้กลุ่มตัวอย่างทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ หลังจากนั้นนำคะแนนที่
ได้มาคำนวณหาค่าประสิทธิภาพชุดการสอน E1/E2
ผลการวิจัยพบว่า ชุดการสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.143/80.8 ซึ่งสูง
กว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ นอกจากนี้แล้วผลการประเมินเพื่อหาคุณภาพของชุดการสอนจาก
ผู้เชี่ยวชาญ พบว่าชุดการสอนที่สร้างขึ้นมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.531)
ส่วนความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุดการสอนอยู่ในระดับเห็น
ด้วยมาก (ค่าเฉลี่ย 4.199) |
Description: | งานวิจัยทุนงบประมาณภายใน ปีงบประมาณ 2553 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
URI: | http://hdl.handle.net/123456789/42 |
Appears in Collections: | แหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2553
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|