Information Retrieval Systems of Research Institute at Saun Sunandha Rajabhat University >
งานวิจัยปีงบประมาณ 2560 >
งานวิจัยภาษาไทย >
แหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2560 >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://hdl.handle.net/123456789/934
|
Title: | พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ |
Authors: | ทองเมือง, พิมพร สุดเจริญ, ยุทธนา |
Keywords: | พฤติกรรมการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ / ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ / ผู้สูงอายุ |
Issue Date: | 14-Nov-2018 |
Series/Report no.: | งานวิจัยปี 2560; |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการดูแลพฤติกรรมการสุขภาพของผู้สูงอายุ ได้แก่ การมีโรคประจาตัวของผู้สูงอายุ การได้รับการตรวจสุขภาพประจาปี พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ และ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ จังหวัดสมุทรสงคราม จานวน 400 คน โดยวิธีการสัมภาษณ์ด้วยแบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ จานวน 8 ด้าน ได้แก่ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุด้านการดูแลตนเองทั่วไป พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ ด้านการปฏิบัติทางโภชนาการ ด้านการปฏิบัติในการขับถ่าย ด้านการออกกาลังกาย ด้านการนอนหลับพักผ่อน ด้านการขจัดความเครียด ด้านการควบคุมสิ่งแวดล้อม ด้านการใช้ระบบบริการสาธารณสุข และแบบทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา แจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยของตัวแปรด้วย t-test และหาความสัมพันธ์ระหว่างระดับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุกับระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัย พบว่า ผู้สูงอายุกลุ่มตัวอย่าง เป็นเพศชายร้อนละ 33.75 เพศหญิง ร้อยละ 66.25 ส่วนใหญ่ อยู่ในช่วงอายุมากกว่า 70 ปีขึ้นไป ร้อยละ 49.75 มีโรคประจาตัว ร้อยละ 64.25 ไม่มีโรคประจาตัว ร้อยละ 35.75 ใน 1 ปีที่ผ่านมา เข้ารับการตรวจสุขภาพ ร้อยละ 71.25 ไม่ตรวจสุขภาพ ร้อยละ 27.75 จากการวิเคราะห์ระดับของพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุทั้งในภาพรวมและแยกรายด้าน และระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ พบว่า ทั้งพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุทุกด้าน และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่ อยู่ในระดับ “ควรปรับปรุง”โดยผู้สูงอายุที่มีโรคประจาตัวและไม่มีโรคประจาตัว เข้ารับการตรวจสุขภาพประจาปีและไม่เข้ารับการตรวจสุขภาพประจาปี ล้วนมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพทั้งโดยรวมและรายด้าน และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ไม่แตกต่างกัน อีกทั้งเมื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมสุขภาพและความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุนั้นมีความสัมพันธ์ทางลบ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งหมายความว่า การที่ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุในระดับต่าหรือควรปรับปรุง ทาให้พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุทั้งโดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับที่ควรปรับปรุง ด้วยเช่นกัน
การศึกษานี้สะท้อนให้เห็นว่า ผู้สูงอายุที่ไม่มีโรคประจาตัวและผู้สูงอายุที่ได้รับการตรวจสุขภาพประจาปี ไม่ได้มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพและความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ ผู้สูงอายุที่มีโรคประจาตัวและผู้สูงอายุที่ไม่ได้รับการตรวจสุขภาพประจาปี เมื่อพิจารณาพฤติกรรมรายด้านยังพบว่า ผู้สูงอายุที่มีโรคประจาตัวและผู้สูงอายุที่ไม่ได้รับการตรวจสุขภาพประจาปี มีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมมากกว่า ผู้สูงอายุที่ไม่มีโรคประจาตัวและผู้สูงอายุที่ได้รับการตรวจสุขภาพประจาปี ทาให้ผู้วิจัยได้แนวทางในการส่งเสริมพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพแก่ผู้สูงอายุ ดังนี้ คือ ควรมีการวางแผนการให้สุขศึกษากับผู้สูงอายุแลผู้ดูแล มีการติดตามพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง โดยจัดกิจกรรมกระตุ้นให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอย่างเหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงและความรุนแรง ของโรคที่สามารถป้องกันได้ |
Description: | งานวิจัยงบประมาณรายได้มหาวิทยาลัย ปีงบประมาณ 2560 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
URI: | http://hdl.handle.net/123456789/934 |
Appears in Collections: | แหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2560
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|