Information Retrieval Systems of Research Institute at Saun Sunandha Rajabhat University >
งานวิจัยปีงบประมาณ 2553 >
งานวิจัยภาษาไทย >
แหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2553 >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://hdl.handle.net/123456789/98
|
Title: | ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในรายวิชา สิ่งแวดล้อมกับการพัฒนาที่ยั่งยืนที่มีต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมใน มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทาสาหรับนักศึกษาชั้นปีที่3 สาขา วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม |
Authors: | เกษมสวัสดิ์, ศรีสุวรรณ |
Keywords: | สิ่งแวดล้อม การพัฒนาที่ยั่งยืน นักศึกษาชั้นปีที่3 |
Issue Date: | 18-Jun-2015 |
Publisher: | สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
Series/Report no.: | งานวิจัยปี 2553; |
Abstract: | งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองซึ่งมี วัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลของจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในรายวิชาสิ่งแวดล้อมกับการพัฒนาที่ยั่งยืน 2) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาของนักศึกษาชั้นปีที่1- 3 สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก่อนกับหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1-3 สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจานวน 83 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้แบบการมีส่วนร่วม
รวม 5 แผนการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 30 ข้อ และแบบวัดพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 30 ข้อ แบบสังเกตพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การเก็บตัวอย่างโดยใช้ แผนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน แบบวัดพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แบบการสังเกตพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การวิเคราะห์ข้อมูลในการหาแผนการเรียนรู้โดยหาค่าIOC และหาผลสัมฤทธิ์ของแบบทดสอบโดยหาความเที่ยงตรงของเนื้อหา ค่า IOC ความยากง่ายของแบบทดสอบ อานาจจาแนกของแบบทดสอบ ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ ส่วนแบบการวัดพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และแบบมาตราส่วนประมาณค่า การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ หาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test ,F-test เปรียบเทียบพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมที่มีเพศ อายุ การศึกษา ต่างกันใช้ t – test (Independent Samples) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวที่นัยสาคัญทางสถิติ 0.05
ผลการศึกษาพบว่า
1. พบว่า นักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบการมีส่วนร่วมเรื่อง
พฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น อย่างมีนัยสาคัญที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐาน
2. นักศึกษามีพฤติกรรมหลังเรียนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสูงกว่าก่อนเรียนโดยภาพรวมและแบ่งเป็นรายด้าน 3 ด้านได้แก่ด้านการอนุรักษ์น้า ด้านการดูแลพื้นที่สีเขียว และด้านการอนุรักษ์พลังงาน อยู่ในระดับสูงส่วนด้านการจัดการขยะ และการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมอยู่ในระดับปานกลาง นักศึกษาที่มีเพศ และระดับการศึกษาต่างกัน มีพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทุกด้านไม่แตกต่างกัน นักศึกษาที่มีอายุต่างกันมีพฤติกรรมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแตกต่างกันโดยสรุปนักศึกษามีพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง โดยนักศึกษาที่เพศ และการศึกษาต่างกัน มีพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไม่แตกต่างกัน และมีนักศึกษาที่มีอายุต่างกันมีพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแตกต่างกัน ซึ่งข้อสนเทศที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์ในการปลูกจิตสานึกให้นักศึกษาอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมต่อไป ดังนั้นพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักศึกษาชั้นปีที่ 1-3 สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมในภาพรวมมีความแตกต่างกันโดยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และทั้ง 4 ด้าน มีความแตกต่างกันที่ระดับนัยสาคัญ0.05 ได้แก่ ด้านการอนุรักษ์น้า การดูแลพื้นที่สีเขียว การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม และการจัดการขยะตามลาดับ ส่วนด้านการอนุรักษ์พลังงานไม่แตกต่างกัน ผลจากการวิจัยสามารถนาไปใช้เป็นแนวทางสาหรับผู้บริหารและบุคคลที่เกี่ยวข้อง ในการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนเกี่ยวกับพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ตลอดจนการปลูกฝังทัศนคติในการอนุรักษ์ ป้องกัน และแก้ปัญหาเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอันนาไปสู่พฤติกรรมหรือผลในการปฏิบัติอย่างแท้จริง
คาสาคัญ: การจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
พฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม |
Description: | งานวิจัยงบประมาณรายได้มหาวิทยาลัย ปีงบประมาณ 2553 มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา |
URI: | http://hdl.handle.net/123456789/98 |
ISSN: | มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
Appears in Collections: | แหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2553
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|