Title:
|
การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการออกแบบผลิตภัณฑ์ของตกแต่งบ้าน กรณีศึกษา การตัดกระดาษรังผึ้ง ตาบลท่าทอง อาเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก |
Author:
|
อินเกื้อ, เอกพงศ์
|
Abstract:
|
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการผลิต และลักษณะทางกายภาพของภูมิปัญญา ท้องถิ่นการตัดกระดาษรังผึ้ง 2) วิเคราะห์เอกลักษณ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นการตัดกระดาษรังผึ้งเพื่อประยุกต์ใช้ในการสร้างแนวทางการออกแบบผลิตภัณฑ์ของตกแต่งบ้าน 3) ออกแบบผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมจากภูมิปัญญาท้องถิ่นการตัดกระดาษรังผึ้ง 4) หาความพึงพอใจของรูปแบบของตกแต่งบ้านจากภูมิปัญญาท้องถิ่นการตัดกระดาษรังผึ้ง มีทั้งหมด 4 ขั้นตอน ได้แก่ขั้นตอนที่ 1 ศึกษากระบวนการผลิต และลักษณะทางกายภาพของภูมิปัญญาท้องถิ่นการตัดกระดาษรังผึ้ง ขั้นตอนที่ 2 วิเคราะห์เอกลักษณ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นการตัดกระดาษรังผึ้ง ขั้นตอนที่ 3 ออกแบบผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมจากภูมิปัญญาท้องถิ่นการตัดกระดาษรังผึ้งและขั้นตอนที่ 4 หาความพึงพอใจของรูปแบบของตกแต่งบ้าน
ผลการวิจัยพบว่า
1. กระบวนการผลิตที่สาคัญได้แก่การมีจุดเชื่อมและการขยายตัวเพิ่มพื้นที่เป็นรูปทรงของรูปทรงสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด
2. เอกลักษณ์ของงานตัดกระดาษรังผึ้งได้แก่ คลี่ ขยาย แขวน เคลื่อนย้ายสะดวก โดยใช้วิธีการมีจุดร่วมกันของแบบแผนที่แน่นอนของสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด
3. จากความคิดเห็นของผู้เชียวชาญมีความพึงพอใจผลิตภัณฑ์แจกันแบบที่ 1 มากที่สุด (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.45) และความพึงพอใจผลิตภัณฑ์โคมไฟแบบที่ 1 มากที่สุด (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.15)
ข้อเสนอแนะ
การใช้เลเซอร์คัตเป็นเทคนิคหลักในการผลิต ข้อดีคือสามารถควบคุมคุณภาพ ขนาด สีสัน ของผลิตภัณฑ์ได้รับหนึ่ง แต่ข้อเสียที่สาคัญคือชาวบ้านในท้องถิ่นไม่มีความรู้ความสามารถในงานเลเซอร์คัทเลย จึงจาเป็นต้องอาศัยช่างจากต่างถิ่นในการผลิต จึงน่าจะเน้นไปในวัสดุอื่นที่ชาวบ้านสามารถทาเองได้ง่าย เช่น pvc หรือพลาสติก เป็นต้น |
Description:
|
งานวิจัยงบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัย ปีงบประมาณ2561 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
URI:
|
http://hdl.handle.net/123456789/1233
|
Date:
|
2018-12-14 |