การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนโดยการจัดการระบบห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต

DSpace/Manakin Repository

การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนโดยการจัดการระบบห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต

Show full item record

Title: การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนโดยการจัดการระบบห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต
Author: หาสุนทรี, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นัทนิชา; แสงฉาย, สัคพัศ
Abstract: การวิจัยเรื่อง การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนโดยการจัดการระบบห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยว ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มาเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างปัจจัยทางด้านต้นน้า ปัจจัยทางด้านกลางน้า และปัจจัยทางด้านปลายน้า ที่ส่งผลต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนโดยการจัดการระบบห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยว ในจังหวัดภูเก็ต และ3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างตัวแปร ที่ได้จากการทดสอบความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์ และวิเคราะห์อิทธิพลเชิงสาเหตุโดยใช้โมเดลสมการเชิงโครงสร้าง SEM เป็นการวิจัยแบบบูรณาการเชิงปริมาณ ( Quantitative Research ) ประชากรคือกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มาในจังหวัดภูเก็ต จานวน 13,203,284 คน โดยใช้กลุ่มตัวอย่างใช้สูตร Taro Yamane ในการคานวณหาขนาดกลุ่มตัวอย่าง จากการคานวณได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเป้าหมายในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ จานวน 400 ราย ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลสาหรับวิเคราะห์แบบสอบถาม เพื่อสารวจความคิดเห็น เชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ประชากรกลุ่มตัวอย่าง การสัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth Interview) ด้านผู้ให้บริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการบริการการท่องเที่ยวภายในจังหวัดภูเก็ต การสัมภาษณ์เจาะลึก รวมทั้งสิ้น 10 ราย ผลการวิจัยพบว่า ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนมากเป็นเพศชาย มีอายุ 31-40 ปี มีอาชีพรับจ้างทั่วไป มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี มีรายได้ และ30,000 บาท มีสัญชาติจีน พฤติกรรมการ พฤติกรรมการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนของจังหวัดภูเก็ต ส่วนมากไม่เคยมาท่องเที่ยวแห่งนี้ มาเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ มาด้วยบริษัทนาเที่ยว ส่วนมากเดินทางมา 2-3 คนเดินทางมากับครอบครัว และมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางจานวน 20,001 – 30,000 นักท่องเที่ยวมีความรู้อยู่ในระดับ 93.13 ข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารจัดการของผู้ให้บริการ (ปัจจัยด้านต้นน้า) ด้านแห่งทรัพยากรมีการฟื้นฟู/บารุงรักษาทรัพยากรอย่างต่อเนื่องคุณลักษณะขององค์กร องค์กรมีความสามัคคีและมีความร่วมมือ การไหลของข้อมูล มีการให้ข้อมูลอย่างรวดเร็ว ด้านวัฒนธรรมองค์การ เปิดโอกาสให้ได้เรียนรู้วิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรม ด้วยความยินดี การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมของชุมชน และด้านประสบการณ์ในการทางานบุคลากรได้รับมอบหมายงานที่เหมาะสม (ปัจจัยด้านกลางน้า) ที่พักมี ความสะอาดของผนัง ผ้าปูที่นอน ปบอกหมอน ผ้าห่ม การคมนาคมมีความสะดวกสบายในการใช้บริการ มีความปลอดภัยในการใช้บริการ สถานที่ท่องเที่ยวมีความสวยงามตามธรรมชาติ มี อาหารรสชาติของอาหารอยู่ในระดับดี มีความสะอาดของอาหาร ด้านสินค้าท้องถิ่น ราคาของผลิตภัณฑ์มีความเหมาะสม และด้านวิถีชีวิตชุมชน มีการใชชีวิตอยางเรียบงาย พอเพียง อยูกับธรรมชาติมีความสุข สบายใจ ปัจจัยปลายน้า (ด้านผู้ใช้บริการ) ด้านระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าขั้นตอนการให้บริการมีความคล่องตัวและไม่ยุ่งยาก มีการติดป้ายประกาศหรือแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับ ขั้นตอนและระยะเวลาการให้บริการ ให้บริการด้วยความสุภาพ และเป็นกันเอง มีความรู้ ความสามารถในการให้บริการ เช่น ตอบข้อสงสัยได้ตรงประเด็น ให้ ค คาแนะนาและช่วยแก้ปัญหาได้เหมาะสม ด้านการกลับมาอีกในอนาคต มีความประดทับใจการบริการด้านการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน สารวจทัศนคติ ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว การวิเคราะห์ค่าความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางด้านต้นน้า ปัจจัยทางด้านปลายน้า โดยใช้สถิติหาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน โดยภาพรวมพบว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับสูง (rxy =.565) และการวิเคราะห์ค่าความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางด้านกลางน้า และ ปัจจัยทางด้านปลายน้า โดยใช้สถิติหาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน โดยภาพรวมพบว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับสูง (rxy =..609 และผลการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ (Multiple regressions) พบว่า ปัจจัยทางด้านต้นน้า และ ปัจจัยทางด้าน ปลายน้ามีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสาคัญทาสถิติ และปัจจัยทางด้านกลางน้า และ ปัจจัยทางด้าน ปลายน้ามีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสาคัญทาสถิติ เมื่อพิจารณาอิทธิพลทางตรงที่ส่งผลต่อตัวแปรปัจจัยทางด้านกลางน้า (MED) พบว่า ตัวแปรดังกล่าวได้รับอิทธิพลทางตรงเชิงบวกจากปัจจัยทางด้านต้นน้า (UPS) โดยมีขนาดอิทธิพลทางตรงเท่ากับ 0.66 ซึ่งเป็นค่าอิทธิพลที่มีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ตัวแปรปัจจัยทางด้านปลายน้า (DOS) พบว่า ตัวแปรดังกล่าวได้รับอิทธิพลทางตรงเชิงบวกจากปัจจัยทางด้านกลางน้า (MED) โดยมีขนาดอิทธิพลทางตรงเท่ากับ 0.85 ซึ่งเป็นค่าอิทธิพลที่มีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 นอกจากนี้พบว่า ยังได้รับอิทธิผลทางอ้อมจากปัจจัยทางด้านต้นน้า (UPS) โดยผ่านปัจจัยทางด้านกลางน้า (MED) มีขนาดอิทธิพลทางอ้อมเท่ากับ 0.56 ซึ่งเป็นค่าอิทธิพลที่มีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
Description: งานวิจัยงบประมาณแผ่นดิน ปีงบประมาณ2561 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
URI: http://hdl.handle.net/123456789/1398
Date: 2019-01-24


Files in this item

Files Size Format View Description
ปก บทคัดย่อ สารบัญ.pdf 457.0Kb PDF View/Open ปก บทคัดย่อ สารบัญ
บรรณานุกรม.pdf 169.8Kb PDF View/Open บรรณานุกรม
ประวัติผู้วิจัย.pdf 155.1Kb PDF View/Open ประวัตินักวิจัย
ภาคผนวก.pdf 1.823Mb PDF View/Open ภาคผนวก
บทที่ 1.pdf 166.9Kb PDF View/Open บทที่1
บทที่ 2.pdf 761.8Kb PDF View/Open บทที่2
บทที่ 3.pdf 261.0Kb PDF View/Open บทที่3
บทที่ 4.pdf 887.2Kb PDF View/Open บทที่4
บทที่ 5.pdf 149.8Kb PDF View/Open

This item appears in the following Collection(s)

Show full item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account