dc.contributor.author |
ภูคำชะโนด, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภูสิทธ์ |
|
dc.date.accessioned |
2019-01-24T06:59:49Z |
|
dc.date.available |
2019-01-24T06:59:49Z |
|
dc.date.issued |
2019-01-24 |
|
dc.identifier.other |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
|
dc.identifier.uri |
http://hdl.handle.net/123456789/1403 |
|
dc.description |
งานวิจัยงบประมาณแผ่นดิน ปีงบประมาณ2561 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
th_TH |
dc.description.abstract |
การวิจัยในครั้งนี้กำหนดวัตถุประสงค์เพื่อระดับกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการ
การบริหารการพัฒนาชุมชน การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการบริหาร
การพัฒนาชุมชนเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม และการสังเคราะห์รูปแบบกระบวนการมีส่วน
ร่วมในการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการบริหารการพัฒนาชุมชนสู่การ
สร้างสังคมแห่งความสุข โดยทำการเก็บข้อมูล 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน แพร่ น่าน
ด้วยแบบสอบถามจาก 1,200 กลุ่มตัวอย่าง และทำการสัมภาษณ์ผู้นำชุมชนและประชาชน
จำนวน 30 คน พบผลการวิจัยว่า การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมภายในหมู่บ้านหรือชุมชน
ทั้ง 3 จังหวัดภาคเหนือโดยภาพรวมอยู่ในระดับการมีส่วนร่วมบ่อยครั้งในกิจกรรมทางสังคม อาทิ
กิจกรรมงานประเพณีปีใหม่เมือง กิจกรรมวันสงกรานต์ และกิจกรรมพัฒนาหมู่บ้านชุมชน และยังคง
รักษาวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม อาทิ การทำบุญทางพิธีกรรมศาสนา ความเชื่อของตนเองอยู่มาก
ยังยึดมั่นในหลักศาสนาพุทธ กิจกรรมประเพณีกิ๋นสลาก ถวายสลากภัต หรือตานกวยสลาก กิจกรรม
พิธีบูชาเทียน หรือปูจาเตียน และกิจกรรมพิธีสืบชะตา ในประเด็นการมีส่วนร่วมในการบริหารการ
พัฒนาชุมชนเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมทั้งการได้รับประโยชน์โดยทางตรงกับการจัดกิจกรรม
โครงการพัฒนาหมู่บ้านของหน่วยงานรัฐ รวมถึงการมีความภูมิใจที่หมู่บ้าน ครอบครัว เพื่อนบ้านและ
ประชาชนมีกิจกรรมและมีส่วนร่วมมาก รวมถึงการปฏิบัติตามกิจกรรมความพอเพียงในระดับบุคคล
และครัวเรือนทั้งภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมีการปฏิบัติมากทั้งการใช้การอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และด้านการดำรงชีวิตทั่วไป มีการประยุกต์ใช้ในด้านจิตใจ การมี
ความ“พอ” รู้จักการพัฒนาตนเอง ไม่เบียดเบียนและพึงพอใจในชีวิตแบบพอเพียง นอกจากนี้
ปัจจัยพื้นฐานบุคคลที่ส่งผลต่อการบริหารการพัฒนาชุมชนเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมในพื้นที่ 3
จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ อายุ การศึกษา ระยะเวลาที่อยู่อาศัยในพื้นที่หรือชุมชน รายได้ต่อเดือน
รายจ่ายต่อเดือน จำนวนสมาชิกในครอบครัวไม่เกิน 4 คน และเปIนสมาชิกกลุ่มทางสังคม จนสามารถ
(2)
นำมาสังเคราะห์เป็นภาพสังคมแห่งที่มีส่วนร่วมอย่างแท้จริงภายใต้ชื่อว่า กระบวนการมีส่วนร่วมสร้าง
สังคมแห่งความสุขภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง “รูปแบบคันนาผืนผ้าแห่งความ
พอเพียียง” |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.relation.ispartofseries |
งานวิจัยปี 2561; |
|
dc.title |
กระบวนการมีส่วนร่วมในการบริหารการพัฒนาชุมชนเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมของ ประชาชน 3 จังหวัดยากจนโซนภาคเหนือภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง |
th_TH |
dc.type |
Article |
th_TH |