dc.contributor.author |
พลายเล็ก, ธีราภรณ์ |
|
dc.creator |
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
TH |
dc.date.accessioned |
2015-06-20T05:29:36Z |
|
dc.date.available |
2015-06-20T05:29:36Z |
|
dc.date.issued |
2015-06-20 |
|
dc.identifier.other |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
|
dc.identifier.uri |
http://hdl.handle.net/123456789/188 |
|
dc.description |
งานวิจัยงบประมาณภายใน ปีงบประมาณ 2555 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
th_TH |
dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเสียงพยัญชนะท้ายคาภาษาอังกฤษที่เป็นปัญหา ในการออกเสียง เพื่อพัฒนาทักษะการออกเสียงพยัญชนะท้ายคาภาษาอังกฤษโดยใช้ชุดการเรียนรู้ และเพื่อเปรียบเทียบทักษะการออกเสียงพยัญชนะท้ายคาภาษาอังกฤษก่อนและหลังการใช้ ชุดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ทั้งนี้เพื่อให้นักเรียนสามารถออกเสียงพยัญชนะท้ายคาภาษาอังกฤษได้อย่างถูกต้อง อันจะเกิดผลดีต่อการพัฒนาทักษะทางการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จานวน 60 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้มาโดย การเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) จานวน 30 คน โดยคัดเลือกจากผู้ที่มีคะแนนจาก การทดสอบเพื่อศึกษาเสียงพยัญชนะท้ายคาภาษาอังกฤษที่เป็นปัญหา จานวน 30 คนสุดท้ายที่มีคะแนนต่าสุด
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบเพื่อศึกษาเสียงพยัญชนะท้ายคาภาษาอังกฤษที่เป็นปัญหาในการออกเสียงและชุดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการออกเสียงพยัญชนะท้ายคาภาษาอังกฤษ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า
1. เสียงพยัญชนะท้ายคาภาษาอังกฤษที่เป็นปัญหาในการออกเสียงมากที่สุด คือเสียงที่อยู่ในกลุ่มเสียงเสียดแทรก (Fricatives) ได้แก่ เสียง [-Ѳ], [-ð] และ[-z] คิดเป็นร้อยละ100.00, 100.00 และ 96.67 รองลงมาคือกลุ่มเสียงข้างลิ้น (Lateral) ได้แก่เสียง [- l] คิดเป็นร้อยละ 93.33 และกลุ่มเสียงกระดกลิ้น (Tap or Flap) ได้แก่เสียง [- r] คิดเป็นร้อยละ 86.67
2. นักเรียนสามารถออกเสียงพยัญชนะท้ายคาภาษาอังกฤษได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้นหลังจากใช้ชุดการเรียนรู้ โดยมีคะแนนเฉลี่ยโดยรวมหลังการใช้ชุดการเรียนรู้คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 44.77 (S.D. = 14.22)
3. จากการเปรียบเทียบทักษะการออกเสียงพยัญชนะท้ายคาภาษาอังกฤษ โดยเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังการใช้ชุดการเรียนรู้ พบว่า นักเรียนมีทักษะการออกเสียงพยัญชนะท้ายคาภาษาอังกฤษหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
th_TH |
dc.language |
TH |
TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
TH |
dc.relation.ispartofseries |
งานวิจัยปี 2555; |
|
dc.source |
งานวิจัยแหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2555 |
TH |
dc.subject |
ทักษะการออกเสียง |
th_TH |
dc.subject |
พยัญชนะท้ายคาภาษาอังกฤษ |
th_TH |
dc.subject |
นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 |
th_TH |
dc.title |
การพัฒนาทักษะการออกเสียงพยัญชนะท้ายคาภาษาอังกฤษของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
th_TH |
dc.type |
Article |
th_TH |