Title:
|
รูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเองในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร เพื่อการท่องเที่ยว เชิงอนุรักษ์ในพื้นที่ตำบลท่าคา อำเภออัมพวาจังหวัดสมุทรสงคราม |
Author:
|
อติแพทย์, อัญชลี
|
Abstract:
|
การวิจัยเรื่อง “รูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเองในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ในพื้นที่ตาบลท่าคา อาเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม” มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สารวจสภาพปัญหาการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ในพื้นที่ตาบลท่าคา อาเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม (2) เพื่อสารวจความต้องการในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ในพื้นที่ตาบลท่าคา อาเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม (3) เพื่อศึกษายุทธศาสตร์และนโยบายการส่งเสริมการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ตาบลท่าคา อาเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม (4) เพื่อนาไปสร้างรูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเองในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ในพื้นที่ตาบลท่าคา อาเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed methods research) ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดย (1) การสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง(In-depth interview se-mi structure) (2) ใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) และ (3) ศึกษาวิจัยเอกสาร (Documentary research)
กลุ่มตัวอย่างที่เลือกสาหรับการวิจัยเชิงคุณภาพได้จากการใช้เทคนิคการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive sampling) จากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เป็นเจ้าของภาษา และที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง และผู้ให้บริการ จานวน 60 คน โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง (In-depth Interview Semi-Structure) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis) สาหรับการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้เทคนิคการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive sampling) จากผู้ให้บริการในชุมชน 8 กลุ่ม จานวน 252 คน โดยการสารวจด้วยแบบสอบถาม (Questionnaires)
ผลการวิจัยพบว่าผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพปัญหาหลักเกิดจากตัวบุคคล คือ ผู้ให้บริการและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติทั้งผู้ที่เป็นเจ้าของภาษาและผู้ที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองต่างไม่สามารถเข้าใจซึ่งกันและกันได้ถูกต้องตามสาระที่ต้องการสื่อสาร ปัญหาที่เกิดมากที่สุดคือผู้ให้บริการไม่สามารถสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษได้ ถึงแม้ว่าจะมีการให้ความช่วยเหลือในด้านการฝึกอบรม แต่ผู้ให้บริการไม่ได้นาความรู้ดังกล่าวมาใช้ สาเหตุของปัญหาของการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารเกิดจากผู้ให้บริการส่วนมากมีอายุสูง ไม่มีความรู้พื้นฐานด้านภาษาอังกฤษ ไม่สามารถจาได้ ขาดความต่อเนื่องในการใช้ ไม่ได้นาไปใช้ในทันที หรือเกิดจากความเหนื่อยจากการทางานจึงไม่สนใจที่จะฝึกฝนหรือเกิดจากความอายความไม่มั่นใจในตนเองที่จะสื่อสารใช้ภาษาไทยในการโต้ตอบบ้างซึ่งเป็นปัญหาต่อนักท่องเที่ยวที่ไม่เข้าใจภาษาไทย ผลกระทบของปัญหาที่มีต่อการท่องเที่ยว คือ ไม่สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยว บริการ ผลิตภัณฑ์ กับนักท่องเที่ยวได้ นักท่องเที่ยวเองก็ไม่ได้ข้อมูลที่ต้องการ ผู้ให้บริการจึงขาดโอกาสในการประชาสัมพันธ์สินค้าหรือบริการของตนเองได้อย่างละเอียด (2) ความต้องการในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ของผู้ให้บริการ คือ ต้องการการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งด้านงบประมาณและการจัดการ ในการให้ความรู้ที่เน้นทักษะการพูดและการฟัง โดยใช้สื่อที่เหมาะสมกับแต่ละกลุ่มอาชีพ นอกจากนี้การจัดทาป้ายที่เป็นภาษาอังกฤษบอกสถานที่สาคัญๆ ก็เป็นส่วนหนึ่งของการให้ความรู้ โดยมีข้อเสนอแนะในการนาแนวทางดังกล่าวไปใช้กับภาษาอื่น เช่น ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาเกาหลี เป็นต้น (3) ชุมชนท่าคามียุทธศาสตร์และนโยบายการส่งเสริมการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ (4) รูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเองในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ในพื้นที่ตาบลท่าคา อาเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม คือการใช้สื่อสมุดภาพประกอบด้วยคาศัพท์หรือคาอธิบายที่มีทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย แต่ละเล่มจัดทาเป็นชุดแยกตามกลุ่มอาชีพรวม 8 กลุ่ม นอกจากคาศัพท์แล้ว ควรจัดทาเอกสารภาษาอังกฤษฉบับย่อเพื่ออธิบายสรรพคุณของผลิตภัณฑ์ของชุมชน หรือประวัติย่อ ๆ ของสถานที่สาคัญ ๆ ในชุมชน โดยมีหน้าบันทึกกรณีที่ผู้ใช้พบคาศัพท์ใหม่ ๆ เมื่อจัดทาแล้ว องค์กรภาครัฐหรือภาคเอกชนควรสนับสนุนงบประมาณและผู้เชี่ยวชาญให้การอบรมการใช้เพื่อผู้ให้บริการในพื้นที่สามารถนาไปใช้ได้เอง |
Description:
|
งานวิจัยทุนงบประมาณภายใน ปีงบประมาณ 2553 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
URI:
|
http://hdl.handle.net/123456789/33
|
Date:
|
2015-06-06 |