dc.contributor.author |
ศศิธรเสาวภา, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิพนธ์ |
|
dc.date.accessioned |
2018-09-13T04:28:36Z |
|
dc.date.available |
2018-09-13T04:28:36Z |
|
dc.date.issued |
2018-09-13 |
|
dc.identifier.issn |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
|
dc.identifier.uri |
http://hdl.handle.net/123456789/381 |
|
dc.description |
งบประมาณแผ่นดิน ปีงบประมาณ2560 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
th_TH |
dc.description.abstract |
ในสภาวการณ์ที่เศรษฐกิจโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง และตลอดเวลาทาให้มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และความเป็นอยู่ของประชาชนในสังคมไทยที่ต้องเผชิญกับการดาเนินชีวิตประจาวัน ค่าครองชีพที่สูงขึ้น และปัจจัยต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการจับจ่ายใช้สอยอย่างประหยัด และจากข้อมูล (สานักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ, 2549) “ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิต และหลักประกันความมั่นคงของคนในชาติต้องดาเนินไปบนทิศทางที่สมดุล คือ ต้องมีความพอเพียงไม่แสวงหาความมั่งมีอย่างไร้ขีดกาจัด” และสอดคล้องกับคากล่าวของประธานอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงที่ว่า ประเทศไทยยังขาดภูมิคุ้มกันในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และสังคมที่จะต้องเผชิญกับการไหลเข้ามาของกระแสโลกาภิวัฒน์ และความไม่พร้อมที่จะรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านสิ่งแวดล้อมอย่างดีพอ ดังนั้นในภาวะที่เกิดการเปลี่ยนแปลงข้างต้นนี้ 3 สิ่งที่จะช่วยยึดเหนี่ยวจิตใจ และทาให้ดารงอยู่ได้อย่างยั่งยืนคือ เศรษฐกิจพอพียง(Sufficiency Economy) ซึ่งเป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดารัสชี้แนะแนวทางการดาเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดเวลายาวนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และภายหลังได้ทรงเน้นย้า 3 แนวทางการแก้ไข เพื่อให้รอดพ้นและสามารถดารงอยู่ได้อย่างมั่นคง และยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ , 2548) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (2545 – 2549) ได้อัญเชิญหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นปรัชญาในการพัฒนาและบริหารประเทศ โดยนาหลักทางสายกลางเพื่อให้ประเทศรอดพ้นจากวิกฤติ สามารถดารงอยู่ได้อย่างมั่นคง และนาไปสู่การพัฒนาที่สมดุล มีคุณภาพ และยั่งยืน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (2550 –2554) ได้ให้ความสาคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม (Collaborative Effort) ภายใต้หลักการที่สาคัญ คือ การร่วมคิดร่วมทา และร่วมผลักดัน
2
ตามบทบาทและความรับผิดชอบของแต่ละภาคส่วนมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันอย่างบูรณาการ สาหรับทิศทางการพัฒนาในแผนนั้นวางยุทธศาสตร์ให้คนและสังคมไทยสามารถปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในมิติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างรู้เท่าทันภายใต้หลัก “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ที่สามารถพึ่งตนเองมีภูมิคุ้มกัน และสร้างสมดุลของการพัฒนาให้เกิดขึ้นในทุกมิติ โดยอาศัยทุนทางเศรษฐกิจทุนทางสังคม และทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาให้เกิดประโยชน์ และเสริมสร้างให้เข้มแข็ง (วัชรี พุ่มทอง, 2548, หน้า 37) องค์การบริหารส่วนตาบลบ้านแพ้ว อาเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร นับเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีประชาชนทั้งสิ้น 9,142 ราย ดังนั้น จึงต้องมีการเตรียมพร้อมเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงให้ทันกับเหตุการณ์ในยุคโลกาภิวัฒน์
ทางมหาวิทยาลัยได้มีนโยบายให้บุคลากรได้น้อมนาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน เพื่อให้บุคลากรมีความพร้อมทั้งด้านการปฏิบัติงาน และด้านความเป็นอยู่ที่ดี จากเหตุผลดังกล่าว ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาเรื่องการนาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดาเนินชีวิตของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตาบลบางนางลี่ อาเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม เพื่อเป็นแนวทางในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในตนเอง มีเหตุผล มีความพอประมาณ ภายใต้เงื่อนไขความรู้ และเงื่อนไขคุณธรรมเพื่อให้บุคลากรดาเนินชีวิตอยู่ได้อย่างมีสติ มีจริยธรรมในการดาเนินชีวิตและการนาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.relation.ispartofseries |
งานวิจัยปี2560; |
|
dc.title |
การดาเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชน ในเขตองค์การบริหารส่วนตาบลบางนางลี่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสาคร |
th_TH |
dc.type |
Article |
th_TH |