การย่อยสลายทางชีวภาพของสารกำจัดวัชพืชอาทราซีนโดยแบคทีเรียสายพันธุ์ ไทยแบบกลุ่มแบคทีเรีย แบบแบคทีเรียผสมและแบคทีเรียเดี่ยวในดินปนเปื้อน สารกำจัดวัชพืช

DSpace/Manakin Repository

การย่อยสลายทางชีวภาพของสารกำจัดวัชพืชอาทราซีนโดยแบคทีเรียสายพันธุ์ ไทยแบบกลุ่มแบคทีเรีย แบบแบคทีเรียผสมและแบคทีเรียเดี่ยวในดินปนเปื้อน สารกำจัดวัชพืช

Show full item record

Title: การย่อยสลายทางชีวภาพของสารกำจัดวัชพืชอาทราซีนโดยแบคทีเรียสายพันธุ์ ไทยแบบกลุ่มแบคทีเรีย แบบแบคทีเรียผสมและแบคทีเรียเดี่ยวในดินปนเปื้อน สารกำจัดวัชพืช
Author: สว่างจิตร, อาจารย์ ดร.โสพิศ
Abstract: ในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้คัดแยกแบคทีเรียสายพันธุ์ไทยที่มีความสามารถในการย่อยสลายสารอาทราซีนจากดินปนเปื้อนอาทราซีนในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออก โดยคัดเลือกมา 3 สายพันธุ์คือ ARB1, ACB1 และ ACS1 จากจังหวัดราชบุรี, ชลบุรีและฉะเชิงเทรา ตามลำดับ แบคทีเรียทั้งสามสายพันธุ์จะถูกสกัดเพื่อนำมาเป็นต้นแบบในการสังเคราะห์ชิ้นส่วนของยีน 16S rRNA โดยเทคนิค PCR และใช้ไพร์เมอร์27F/1492R พบว่าสามารถสังเคราะห์ DNA ได้ขนาดประมาณ 1,465 bp. เมื่อนำชิ้นส่วน 16S rDNA ที่สังเคราะห์ได้ไปหาลำดับนิวคลิโอไทด์และนำมาเปรียบเทียบกับแบคทีเรียชนิดอื่นๆที่มีรายงานในฐานข้อมูล GenBankโดยการทำ BLAST ผ่านเว็บไซต์ the National Centre for Biotechnology Information (NCBI) Internet site พบว่าลำดับนิวคลีโอไทด์ของแบคทีเรียสายพันธุ์ ARB1 มีเปอร์เซ็นต์ความคล้ายคลึงกับ Pseudoxanthom-onas spadix strain IMMIB AFH-5 ที่ 87.3% แบคทีเรียสายพันธุ์ ACB1 มีเปอร์เซ็นต์ความคล้ายคลึงกับ CaulobactercrescentusCB15 strain CB15 สูงถึง 99.8% และแบคทีเรียสายพันธุ์ ACS1 มีเปอร์เซ็นต์ความเหมือนกับ Acinetobacterjunii strain ATCC 17908 สูงถึง 100% และจากผลการศึกษาความสัมพันธ์โดยวิเคราะห์ Phylogenetic tree พบว่าแบคทีเรียสายพันธุ์ ACB1 และ ACS1 มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดที่สุดกับ Caulobacter และ Acinetobacterตามลำดับ ในขณะที่ ARB1 ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มที่ใกล้เคียงกับ Pseudoxanthomonas, Stenotrophomonasและ Xanthomonas นอกจากนี้ยังพบว่าไม่สามารถตรวจพบยีน atzB และ atzC ในแบคทีเรียทั้งสามสายพันธุ์ เมื่อนำมาศึกษาประสิทธิภาพในการย่อยสลายสารอาทราซีนทางชีวภาพในอาหารเหลวและในดินโดยใช้แบคทีเรียในรูปแบบเชื้อเดี่ยว แบบผสมและแบบกลุ่ม โดยวิธี High-performance liquid chromatography (HPLC) ผลที่ได้พบว่าที่ระยะเวลา 7 วันการใช้เชื้อแบคทีเรียแบบเดี่ยว คือเชื้อ ARB1 มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายดีที่สุดคือ 71.7% ในขณะที่การใช้เชื้อแบคทีเรียแบบเดี่ยว คือเชื้อ ACB1 มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายน้อยสุดที่ 11.2% และเมื่อนำไปทดสอบการย่อยสลายในดินพบว่าการใช้เชื้อแบคทีเรียแบบเดี่ยวสายพันธุ์ ARB1 ยังคงมีประสิทธิภาพในการย่อยสลายดีที่สุดคือร้อยละ 42.11 ในขณะที่สายพันธุ์ ACS1 มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายน้อยที่สุดคือร้อยละ 9.84
Description: งานวิจัยงบประมาณแผ่นดิน ปีงบประมาณ2560 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
URI: http://hdl.handle.net/123456789/551
Date: 2018-09-20


Files in this item

Files Size Format View Description
ปกนอกรายงานวิจัย 58.doc 309.5Kb Microsoft Word View/Open ปก
ปกใน 58.doc 35.5Kb Microsoft Word View/Open ปกใน
กิตติกรรมประกาศ 58.doc 67Kb Microsoft Word View/Open กิตกรรมประกาศ
Report Draft 58.doc 620Kb Microsoft Word View/Open รายงานฉับสมบูรณ์

This item appears in the following Collection(s)

Show full item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account