การออกแบบสภาพแวดล้อมทางกายภาพของโรงพยาบาล ที่สอดคล้องกับพฤติกรรมและประสิทธิภาพการรักษา

DSpace/Manakin Repository

การออกแบบสภาพแวดล้อมทางกายภาพของโรงพยาบาล ที่สอดคล้องกับพฤติกรรมและประสิทธิภาพการรักษา

Show simple item record

dc.contributor.author ครูเกษตร, ปรีชญา
dc.contributor.author อนุสรณ์ทรางกูร, ณัฐพนธ์
dc.date.accessioned 2018-09-24T08:46:07Z
dc.date.available 2018-09-24T08:46:07Z
dc.date.issued 2018-09-24
dc.identifier.other มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
dc.identifier.uri http://hdl.handle.net/123456789/628
dc.description งานวิจัยงบประมาณแผ่นดิน ปีงบประมาณ 2559 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา th_TH
dc.description.abstract การออกแบบสภาพแวดล้อมทางกายภาพของโรงพยาบาล ที่สอดคล้องกับพฤติกรรมและ ประสิทธิภาพการรักษา กรณีศึกษา พื้นที่พักคอยและห้องพักผู้ป่วย ในการวิจัยครั้งนี้มุ่งประเด็นไปที่ การศึกษาความต้องการที่แท้จริงของผู้ใช้พื้นที่ เพื่อช่วยให้ผู้ออกแบบดาเนินไปตามจุดประสงค์และ ประหยัดเวลาในการศึกษาพฤติกรรมและส่วนประกอบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ โดยมี วัตถุประสงค์ คือ ศึกษากิจกรรม พฤติกรรมที่เกิดขึ้นภายในสภาพแวดล้อมกายภาพของพื้นที่พักคอยและ ห้องพักผู้ป่วย ที่จาเป็นต่อการสนับสนุนกิจกรรมพฤติกรรมการใช้สอยสาหรับผู้รับบริการ ศึกษาการรับรู้ สภาพแวดล้อมกายภาพของกลุ่มผู้รับบริการ ของพื้นที่พักคอยและห้องพักผู้ป่วย และเปรียบเทียบทัศนคติ และความพึงพอใจต่อการรับรู้ของกลุ่มผู้ใช้บริการกับกลุ่มนักออกแบบ เพื่อหาข้อสรุปแนวคิดการ ออกแบบสภาพแวดล้อมทางกายภาพของโรงพยาบาล ที่สอดคล้องกับพฤติกรรมและประสิทธิภาพการ รักษา การวิจัยนี้มีเป้าหมายในการทดสอบเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินการวัดการรับรู้ของคน ต่อ สภาพแวดล้อม เพื่อใช้ในการออกแบบ โดยใช้พื้นที่พักคอยและห้องพักผู้ป่วยภายในโรงพยาบาลเป็น กรณีศึกษา โดยมีสมมติฐานที่ว่า“การประเมินการรับรู้สภาพแวดล้อมในอาคารของกลุ่มผู้รับบริการ เช่น ความผ่อนคลาย ความตื่นเต้น ความชื่นชมยินดี ความเป็นเอกลักษณ์ การปฏิสัมพันธ์ทางสังคม การเชิญ ชวน ที่มีความสอดคล้องกับลักษณะส่วนบุคคล จะสามารถตรวจสอบกับวัตถุประสงค์ของผู้ออกแบบได้” โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพในการอธิบายลักษณะความพึงพอใจ และการสร้างแบบจาลอง (Plan 3d และ Out-Patient Waiting Hall and Ward Simulation 3d) ในการทดสอบลักษณะบรรยากาศและการ ออกแบบที่ดี ด้วยการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก รวมถึงการวิจัยเชิงปริมาณในการวิเคราะห์ และสรุปผล โดยใช้นักออกแบบ ผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย และเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลเป็นกลุ่มตัวอย่าง และใช้ หลักการประเมินผลสภาพแวดล้อมหลังการเข้าใช้พื้นที่ (POE) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านความพึงพอใจต่อการ ออกแบบในแต่ละประเด็นคือ ความรื่นรม ตื่นเต้น ผ่อนคลายและเร้าใจ และประเด็นการออกแบบคือ รูปแบบ/ชนิด/สีของแสง สี/ความเข้มของสีที่ใช้ในการตกแต่ง รูปทรงขององค์ประกอบ/วัสดุ/ลวดลายที่ใช้ ในการตกแต่ง การจัดเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่ง สไตล์การตกแต่งแบบสมัยใหม่และดั้งเดิม สไตล์การ ตกแต่งแบบตะวันตกและตะวันออก ซึ่งแต่ละประเด็นทาให้แต่ละมิติมีความแตกต่างกัน และการรับรู้ แตกต่างกัน จึงใช้ แบบจาลอง (Plan 3d และ Out-Patient Waiting Hall and Ward Simulation 3d) ที่สร้างขึ้นเพื่อพิสูจน์การรับรู้และความพึงพอใจของคน เนื่องจาก POE มีกรอบงานที่จากัด ผลการศึกษาพบว่า คนส่วนใหญ่มีความต้องการด้านการออกแบบสภาพแวดล้อมในแต่ละประเด็น คือ การออกแบบสภาพแวดล้อมทางกายภาพภายใน ควรเน้นการสร้างบรรยากาศที่ให้ความรู้สึกผ่อน คลายและรื่นรม มากกว่าความรู้สึกตื่นเต้นและเร้าใจ โดยการใช้แสงธรรมชาติและแสงประดิษฐ์ในการ II ตกแต่งบริเวณโดยรอบ ลักษณะรูปแบบการใช้แสงควรเป็นแบบกระจายไปทั่วบริเวณ โดยให้มีน้าหนักของ แสงเท่าๆ กัน และใช้แสงสีขาวเพื่อการมองเห็นที่ชัดเจนและความสะดวกในการใช้พื้นที่ การใช้สีในการ ตกแต่งพื้นที่ควรเน้นสีโทนเย็น ที่มีการใช้สีขาวผสมในการตกแต่งผนัง เฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น เพื่อเป็นการลด ค่าของสีให้มีความนุ่มนวลมากขึ้น และกระตุ้นความรู้สึกของผู้ใช้พื้นที่ด้วยการออกแบบทางเข้าให้มี รูปแบบการเข้าถึงที่มีความซับซ้อนในพื้นที่พักคอย โดยใช้เฟอร์นิเจอร์หรือการแบ่งส่วนที่ซับซ้อน และใช้ ลวดลายในการตกแต่งเฟอร์นิเจอร์ที่ค่อนข้างมากหรือของตกแต่งอื่นๆ เช่น รูปภาพ น้าตกขนาดเล็ก ต้นไม้ แจกัน เป็นต้น แต่ในส่วนห้องพักผู้ป่วยควรมีลักษณะความซับซ้อนในการตกแต่งแบบเรียบง่ายจะให้ ความรู้สึกรื่นรม และผ่อนคลายมากกว่าการจัดความซับซ้อนในพื้นที่มาก อีกทั้งลวดลายควรมีการตกแต่งที่ น้อยเพื่อความผ่อนคลายของผู้ป่วย การออกแบบพื้นที่พักคอยและห้องพักผู้ป่วยในประเด็นการออกแบบ เฟอร์นิเจอร์ เน้นการเลือกใช้วัสดุธรรมชาติในการตกแต่ง ขนาดของพื้นที่ควรพอเหมาะกับจานวนผู้ใช้ ไม่ ควรใหญ่มากเกินไป ทั้งนี้แนวทางการเลือกสไตล์ในการตกแต่งพื้นที่พักคอยควรเน้นสไตล์ตะวันออกแบบ ดั้งเดิม โดยแนวทางดังที่ได้กล่าวมานี้มีความสอดคล้องกับกลุ่มผู้ใช้พื้นที่ทุกประเภท แต่ในส่วนพื้นที่ ห้องพักผู้ป่วยนั้น ควรเน้นสไตล์สมัยใหม่ th_TH
dc.description.sponsorship มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.relation.ispartofseries งานวิจัยปี2559;
dc.title การออกแบบสภาพแวดล้อมทางกายภาพของโรงพยาบาล ที่สอดคล้องกับพฤติกรรมและประสิทธิภาพการรักษา th_TH
dc.type Article th_TH


Files in this item

Files Size Format View Description
0.ปก.PDF 39.96Kb PDF View/Open ปก
1.บทคัดย่อ.PDF 87.22Kb PDF View/Open บทคัดย่อ
3.กิตติกรรมประกาศ.PDF 104.9Kb PDF View/Open กิติกรรมประกาศ
4.บทนำ.PDF 82.55Kb PDF View/Open บทนำ
5.บทที่2.PDF 448.4Kb PDF View/Open บทที่2
6.บทที่3.PDF 336.4Kb PDF View/Open บทที่3
7.บทที่4.PDF 1.716Mb PDF View/Open บทที่4
8.บทที่5.PDF 359.3Kb PDF View/Open บทที่5
9.บรรณานุกรม.PDF 83.56Kb PDF View/Open บรรณานุกรม

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account