Information Retrieval Systems of Research Institute at Saun Sunandha Rajabhat University >
งานวิจัยปีงบประมาณ 2561 >
งานวิจัยภาษาไทย >
แหล่งทุนภายนอก ปีงบประมาณ 2561 >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://hdl.handle.net/123456789/1310
|
Title: | การเสริมสร้างความรู้ด้านการจัดการขยะพลาสติกในชุมชน ของอำเภออัมพวา และพัฒนาเป็นชุมชนต้นแบบที่ดี ของจังหวัดสมุทรสงคราม |
Authors: | ธาราสวัสดิ์พิพัฒน์, รองศาสตราจารย์ชัยศรี |
Keywords: | เสริมสร้างความรู้ การจัดการ ขยะพลาสติก อัมพวา |
Issue Date: | 10-Jan-2019 |
Series/Report no.: | งานวิจัยปี 2561; |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อหาวิธีเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ ด้านการจัดการขยะพลาสติก และส่งเสริมสร้างจิตสำนึกให้กับร้านค้า โรงเรียน หน่วยงานบริหารส่วนตำบลในชุมชนร่วมใจลดพลาสติกและพัฒนาเป็นชุมชนต้นแบบของจังหวัดสมุทรสงคราม ดำเนินการโดยรวบรวม คัดแยก หาสัดส่วนของปริมาณขยะในพื้นที่ตำบลบางแค และบางนางลี่ ของอำเภออัมพวา ผลิตเป็นขยะเชื้อเพลิงแบบแท่ง ในสัดส่วนผสมระหว่างพลาสติกทั่วไปกับเปลือกมะพร้าว กิ่งส้มโอ กระดาษ และเศษโฟมในสัดส่วน 1:0.5, 1:1, 1:1.5 และ 1:2 โดยน้ำหนัก ทดสอบคุณสมบัติพื้นฐานของแท่งเชื้อเพลิงตามมาตรฐาน ASTM ผลพบว่า ปริมาณขยะที่เกิดขึ้นในพื้นที่ 2 ตำบล มีขยะอินทรีย์ประเภทเศษอาหารและมูลสัตว์ร้อยละ 61-64 โดยน้ำหนัก พลาสติกทั่วไป ร้อยละ 3-4 โดยน้ำหนัก เปลือกมะพร้าว และกิ่งส้มโอประมาณร้อยละ 3-8 โดยน้ำหนัก สามารถผลิตเป็นแท่งเชื้อเพลิง RDF ประเภท 5 ได้ พบส่วนผสมของเศษพลาสติกกับกิ่งส้มโอมีความชื้นสูง 10.6-14.6 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก และส่วนผสมของถุงพลาสติกกับโฟมมีค่าความชื้นต่ำ 1.0-1.2 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก มีค่าความร้อนสูงถึง 25.8-32.5 กิโลจูลต่อกิโลกรัม ที่สัดส่วนผสมถุงพลาสติกกับเปลือกมะพร้าวในสัดส่วน 1.0 ต่อ 0.5 และพบปริมาณเถ้า 1.9-2.5 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก มีปริมาณคลอไรด์ในส่วนของขยะพลาสติกกับโฟม ปริมาณไนโตรเจนที่ส่วนผสมเปลือกมะพร้าวมีค่าสูงสุด ปริมาณคาร์บอน 18.9-49.5 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก สรุปผลการเสริมสร้างความรู้ ความสามารถของร้านค้าชุมชน โรงเรียน และหน่วยงานองค์การบริหารส่วนตำบล 2 รูปแบบ คือ ลดถุงพลาสติกจากต้นทาง และส่งเสริมให้ชุมชนนำขยะพลาสติกไปรวบรวมในพื้นที่เพื่อแปรรูปเป็นขยะเชื้อเพลิง RDF รอจำหน่าย สรุปได้ว่า ระดับความพึงพอใจของชุมชนไม่แตกต่างกัน แสดงให้เห็นว่า ชุมชนสามารถยอมรับรูปแบบของการจัดการขยะที่ทำการทดลองในพื้นที่ของตำบลที่ตนเอง |
Description: | งานวิจัยงบประมาณแผ่นดิน ปีงบประมาณ2561 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
URI: | http://hdl.handle.net/123456789/1310 |
Appears in Collections: | แหล่งทุนภายนอก ปีงบประมาณ 2561
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|