Information Retrieval Systems of Research Institute at Saun Sunandha Rajabhat University >
งานวิจัยปีงบประมาณ 2561 >
งานวิจัยภาษาไทย >
แหล่งทุนภายนอก ปีงบประมาณ 2561 >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://hdl.handle.net/123456789/1341
|
Title: | ทุนทางสังคมและทุนทางวัฒนธรรมจังหวัดระนอง |
Authors: | กำภูมิประเสริฐ, อาจารย์อภิชาต ตรีสุกล, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภากิตติ์ |
Keywords: | ทุนทางสังคม ทุนทางวัฒนธรรม จังหวัดระนอง |
Issue Date: | 23-Jan-2019 |
Series/Report no.: | งานวิจัยปี 2561; |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเชิงสำรวจ ค้นหา และวิเคราะห์หาอัตลักษณ์ทุนทางสังคมและและทุนทางวัฒนธรรมของจังหวัดระนองซึ่งมีศักยภาพในการส่งเสริมการท่องเที่ยวได้ รวมทั้งเพื่อกระตุ้นเตือนประชาชนและชุมชนให้เข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของทุนทางสังคมและทุนทางวัฒนธรรมในการส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างประชาชน ผู้ประกอบการธุรกิจ และปราชญ์ชาวบ้านในจังหวัดระนอง จำนวน 436 คน
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีช่วงอายุระหว่าง 31 – 35 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี นับถือศาสนาพุทธ และมีอาชีพหลักคือรับราชการหรือเป็นเจ้าหน้าที่
ของรัฐ
ทุนทางสังคมของจังหวัดระนองพบว่า ชาวระนองส่วนใหญ่ให้ความช่วยเหลือเพื่อนบ้านเป็นอย่างดี อีกทั้งมีโอกาสแสดงความคิดเห็นเพื่อแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาชุมชน มีความซื่อสัตย์ของคนในชุมชนและมีการเคารพกฎหมายและกฎเกณฑ์ของคนในชุมชนอยู่ในระดับสูง ในทางตรงกันข้ามเรื่องความขัดแย้งนั้นอยู่ในระดับต่ำในทุกด้านทั้งด้านอาชีพ ศาสนา การเมือง และพฤติกรรมของคนในชุมชน อันสะท้อนให้เห็นว่าจังหวัดระนองเป็นจังหวัดที่มีสังคมสงบสุข
ด้านทุนทางวัฒนธรรมของจังหวัดระนองพบว่า มีประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่นที่หลากหลาย มีการใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านทั้งในการประกอบอาชีพ การรักษาโรค และการประกอบอาหารอย่างมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง อีกทั้งคนระนองส่วนใหญ่มีความเชื่อถือหรือไว้วางใจในระดับสูงทั้งในกลุ่มผู้อาวุโสในชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นายอำเภอ นายก อบต. ครู หมอและพยาบาล ทหาร และผู้นำศาสนา
อัตลักษณ์ของทุนทางสังคมและทุนทางวัฒนธรรมของจังหวัดระนองซึ่งมีศักยภาพในการส่งเสริมการท่องเที่ยวได้นั้นพบว่า คนในชุมชนจังหวัดระนองมีความเป็นญาติพี่น้องรักใคร่ปรองดองกัน มีชุมชนน่าอยู่ มีอาหารพื้นบ้านอันอร่อย มีความสงบ และมีการช่วยเหลือเกื้อกูลกันเป็นอย่างดี รวมทั้งมีทรัพยากรทางธรรมชาติมากมายทั้งน้ำตก น้ำพุร้อน ภูเขา ทะเล อ่างเก็บน้ำ และแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์
อย่างไรก็ตาม จากผลการวิจัยสามารถสรุปการกระตุ้นเติอนประชาชนและชุมชนให้เข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของทุนทางสังคมและทุนทางวัฒนธรรมในการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดระนอง ได้ว่า ชาวบ้านในชุมชนควรเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชนอย่างสม่ำเสมอเพื่อความสามัคคีซึ่งจะส่งผลต่อภาพลักษณ์อันดีในสายตานักท่องเที่ยว รวมทั้งในแต่ละชุมชนควรรวมตัวกัน
เพื่อร่วมกันส่งเสริมการท่องเที่ยวให้มากยิ่งขึ้น และควรช่วยกันจัดการขยะมูลฝอยให้เป็นระเบียบยิ่งขึ้นด้วย
ทั้งนี้ การอภิปรายผลการวิจัยพบประเด็นที่น่าสนใจคือ ระนอง...เป็นมากกว่าจังหวัดเล็ก ๆ ทางภาคใต้ หากแต่เปี่ยมด้วย “ทุนทางสังคมที่หลากหลายและหนักแน่น” พร้อมทั้ง “ทุนทางวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์และมีอัตลักษณ์ที่ชัดเจน” |
Description: | งานวิจัยงบประมาณแผ่นดิน ปีงบประมาณ2561 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
URI: | http://hdl.handle.net/123456789/1341 |
Appears in Collections: | แหล่งทุนภายนอก ปีงบประมาณ 2561
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|